จากกรณีที่เมื่อวาน (21 เม.ย.) มีการเผยแพร่เอกสารของกรมสรรพวุธทหารบก เกี่ยวกับการเดินหน้าโครงการจัดซื้อรถยานเกราะหุ้มเกราะล้อยาง สไตร์เกอร์ ติดอาวุธ 50 คัน ด้วยงบประมาณ 4.5 พันล้าน จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า คนจะอดตายอยู่แล้ว ทำไมกองทัพยังซื้ออาวุธ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ทวิตเตอร์เดือด! #ยานเกราะพ่องง ติดอันดับ 1 ทวิตเตอร์ หลังเปิดเผยเอกสารจัดซื้อกองทัพบก
- "รังสิมันต์ โรม" เผยเอกสารอ้าง "กองทัพ" เตรียมจัดซื้อยานเกราะล้อยาง 4.5 พันล้าน
ล่าสุด (22 เม.ย.) มีรายงานจากกองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ว่า โครงการนี้เป็นการจัดซื้อตามโครงการความช่วยเหลือทางการทหาร Foreign Military Sales -FMS จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งล่าสุด พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้ตัดงบประมาณปี 2563 ของกองทัพบกแล้วกว่า 30% ตามที่รัฐบาล สั่งให้นำเงินคืนคลัง เพื่อให้รัฐบาลนำงบประมาณ มาช่วยแก้ปัญหาจากโควิด-19 โดยมีการชะลอโครงการจัดหายุทโธปกรณ์ไปหลายโครงการ
โดยเฉพาะได้ชะลอการจัดซื้อรถยานเกราะสไตร์เกอร์ ที่เดิมทีเป็นโครงการในปีงบประมาณ 2563 ไปเป็นโครงการของปีงบประมาณปี 2564 และงบประมาณปี 2565 ส่วนกรณีประกาศที่กรมสรรพาวุธออกมาเผยแพร่ดังกล่าวนั้น เป็นเพียงแผนการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบของปี 2563 ไม่ใช่การใช้งบฯ ปี 2563
สำหรับเหตุผลที่ไม่สามารถยกเลิก โครงการจัดซื้อรถเกราะล้อยาง Stryker จำนวน 50 คันได้นั้น เพราะเป็นโครงการต่อเนื่อง และเป็นการจัดซื้อระบบ FMS เป็นไปตามความช่วยเหลือทางทหารกับสหรัฐอเมริกาที่เข้า
สภาคองเกรสของสหรัฐเรียบร้อยแล้ว และ จัดซื้อรถเกราะสไตร์เกอร์ 50 คัน แต่ทางสหรัฐฯให้เพิ่มอีก 30 คัน รวมทั้งโครงการกองทัพบกจะได้รถเกราะจำนวนกว่า 130 คัน เมื่อรวมกับที่สหรัฐฯให้ความข่วยเหลือเพิ่มเติมในฐานะที่ไทยกับสหรัฐมีความสัมพันธ์อันดีทางทหารมายาวนาน
จึงได้รับการช่วยเหลือทั้ง รถเกราะ รถติดปืน ค.120 มม. รถพยาบาล , รถผู้บังคับบัญชา และ รถโดยลาดตระเวนจึงต้องเดินหน้าโครงการต่อ รวมถึงโครงการนี้ผ่านการอนุมัติ จาก ครม.ไปแล้ว “ขอยืนยันว่าโครงการจัดซื้อรถเกราะเป็นไปอย่างโปร่งใส และดีที่สุด และเป็นไปเพราะความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพไทยกับสหรัฐฯ” แหล่งข่าวกองทัพบก ระบุ
Advertisement