อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมหนุนหมอลำภาคอีสานเป็นซอฟต์พาวเวอร์ หลังสร้างเม็ดเงินได้ปีละกว่า 6 พันล้านบาท และเตรียมผลักดันให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของยูเนสโก้
นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธียกอ้อยอครูหมอลำ งานมหกรรมหมอลำพื้นบ้านฮีตสิบสองตามฮอยอีสาน ซึ่งจัดขึ้นในงานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่ นและงานขอนแก่นซอฟพาวเวอร์ ประจำ ปี 2566 โดยสภาวัฒนธรรม จังหวัดขอนแก่นร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ภาคีเครือข่ายสภาวัฒนธรรม 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศิลปินแห่งชาติศิลปีนหมอลำภาคอีสาน และอีกหลายหน่วยงาน จัดขึ้นโดยมีบรมครูหมอลำอย่าง ดร.ฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงหมอลำนายฉลาด ส่งเสริมศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงหมอลำ ดร.ราตรีศรีวิไล บงสิทธิพร ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงหมอลำกลอนประยุกต์ และศิลปินหมอลำจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือกว่า 200 คน เข้าร่วมเพื่อยกระดับหมอลำพื้นบ้านอีสานภาคตะวันเฉียงเหนือ 20 จังหวัด และเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันส่งเสริมอนุรักษ์สืบสานและเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมในงานเทศไหมฯ ให้คงอยู่สืบไปและเปิดพื้นที่ให้เด็กเยาวชน ประชาชน และเครือข่ายวัฒนธรรมได้มีพื้นที่ในการแสดงออกทางด้านการแสดงศิลปะวัฒนธรรม รู้จักประเพณีฮีตสิบสองตามฮอยอีสาน ผ่านบทกลอนลำ โดยศิลปินหมอลำพื้นบ้านอีสานเป็นการเชื่อมโยงภาครัฐและภาคเอกชนให้ร่วมกันขับเคลื่อน Soft Power ระดับท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เกิดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจให้ได้อย่างแท้จริง
อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่าตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการส่งเสริมซอฟท์พาวเวอร์ของประเทศไทยได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า THACCAเพื่อที่จะนำเอาซอฟพาวเวอร์เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศกระทรวงวัฒนธรรมจึงได้ให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ศึกษาในเรื่องของศิลปะการแสดงพื้นบ้านรวมทั้งการเทศกาลประเพณีต่าง ๆ เพื่อยกระดับให้มีศักยภาพขีดความสามารถในการแข่งขัน แล้วสร้างเม็ดกเงินเข้าสู่ประเทศไทยอย่างไรก็ตามในส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดย เฉพาะจังหวัดขอนแก่นจากการที่ได้ลงพื้นที่มา 2-3 ครั้ง ได้ปรึกษากับผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นและประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น มีความเห็นร่วมกันว่าหมอลำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีศักยภาพอย่างยิ่งในการที่จะขับเคลื่อนเป็นซอฟพาวเวอร์ของประเทศไทยใน 3 มิติ คือ มิติทางด้านศิลปะวัฒนะธรรม ถือเป็นอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่นที่สำคัญ มิติทางด้านเศรษฐกิจจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทราบว่าก่อนสถานการณ์โควิดในแต่ละปีเม็ดเงินที่หมอลำได้กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคอีสานจำนวน 6,000 ล้านบาท แล้วก็มีบุคลากรประมาณ 30,000 คน แต่ในช่วงสถานการณ์โควิดทำให้สถานการณ์ต่าง ๆ ลดลงเมื่อสถานการณ์โควิดผ่านพ้นไปประเทศไทยมีศักยภาพในหลายหลายด้านทั้งแหล่งท่องเที่ยวทั้งในเชิงเศรษฐกิจทั้งในเชิงของภูมิภาคต่าง ๆ ดังนั้นกิจกรรมของหมอลำเป็นหน้าที่ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมกับหน่วยงานพื้นที่รวมทั้งจังหวัดขอนแก่นจะผลักดันให้หมอลำทางภาคอีสานกลับมาอีกครั้ง
Advertisement