Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ศาลอาญาคดีทุจริตฯจัดเสวนา"ความท้าทายสร้างดุลยภาพแห่งสิทธิของหน่วยงาน"

ศาลอาญาคดีทุจริตฯจัดเสวนา"ความท้าทายสร้างดุลยภาพแห่งสิทธิของหน่วยงาน"

22 ก.ค. 68
15:25 น.
แชร์

ศาลอาญาคดีทุจริตฯ เปิดวงเสวนา"ความท้าทายในการสร้างดุลยภาพแห่งสิทธิของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริต-ประพฤติมิชอบ"รองผบช.ก.ร่วมสนทนายันลุยคดีสงฆ์

วันนี้ (22 กรกฎาคม 2568) เวลา 10.00 น. ที่ ณ ห้องประชุมพระพรหม โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น ถ.วิภาวดี-รังสิต (กำแพงเพชร 6) กรุงเทพฯ ศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติผิดมิชอบกลางได้จัดโครงการส่งเสริมการประสานความร่วมมือด้านยุติธรรมของหน่วยงานในกระบวนการศึกษายุติธรรมประจำปีงบประมาณ 2558 ในหัวข้อความท้าทายในการสร้างดุลยภาพแห่งสิทธิของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยในช่วงการเสวนา มีนายอภิชา เหลืองเรือง รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติผิดมิชอบกลาง , นายโกวิท ศรีไพโรจน์ อธิบดีอัยการสำนักงานปราบปรามทุจริต , นายอำนาจ พวงชมภู ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ , นายพัฒนพงศ์ จันทร์เพ็ชรพูล ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ , พลตำรวจตรีจรูญเกียรติ ปานแก้ว รองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และนายศริพงษ์ ขวัญแก้ว เลขานุการศาลยุติธรรมภาค 1ฯ

โดยช่วงหนึ่งของการเสวนา นายอภิชา ได้กล่าวถึงกระบวนการทำงานของศาลอาญาคดีทุจริต และประพฤติผิดมิชอบกลาง และภารกิจของการตั้งศาลอาญาคดีทุจริตฯ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของส่วนรวมและคุ้มครองเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนไปด้วย โดยศาลอาญาคดีทุจริตใช้ระบบไต่สวน คือ ให้ศาลเป็นคนค้นหาข้อเท็จจริงเอง โดยศาลมีอำนาจการถามพยาน และมีอำนาจออกหมายเรียกบุคคล หรือหน่วยงานมาให้ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการพิจารณาของศาล

ส่วนขั้นตอนการดำเนินคดีอาญาต้องเป็นไปด้วยความรวดเร็วมีขั้นตอนกำหนดไว้ชัดเจน ในการดำเนินการทั้ง 3 ศาล (ศาลชัั้นต้น ศาลชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกา) นอกจากนี้ พยานหลักฐานอะไรที่ไม่จำเป็นศาลจะไม่เอาเข้าสืบ ส่วนเรื่องการสืบพยานคดีทุจริต คนที่ถูกกล่าวหา (จำเลย) ในคดีบางประเภท เช่น เจ้าหน้าที่รัฐถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ ในกรณีนี้ผู้ถูกกล่าวหาจะเป็นต้องนำสืบให้ศาลเห็นว่า ทรัพย์สินที่เพิ่มมานี้ได้มาโดยชอบ กรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ จำเลยถูกกล่าวหาในคดีทุจริตหลบหนี จะไม่นับระยะเวลาหลบหนีร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ หากหนีก็ต้องหนีตลอดชีวิต และการหลบหนีมีโทษทางอาญา จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 60,0000 บาท และศาลสามารถพิจารณาลับหลังจำเลยได้ ส่วนศาลอาญาคดีทุจริตมีอำนาจในการพิจารณา คดีทุจริต คือ การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต และอีกกรณีเป็นการที่เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน รวมทั้ง กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น การยื่นบัญชีทรัพย์สิน แล้วไม่ยื่น ก็จะถูกดำเนินคดีที่ศาลอาญาคดีทุจริตฯ

ส่วนเรื่องของการออกหมายค้น ศาลต้องคำนึงถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ

ในขณะที่พลตำรวจตรีจรูญเกียรติ กล่าวว่าในฐานะที่เคยเป็นผู้บังคับการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางควบคุมงานปราบปรามการทุจริต จะเห็นว่าพยายามรวบรวมหน่วยงานการทุจริตเข้ามาเป็นหนึ่งเดียวให้เป็นเอกภาพในการให้ความยุติธรรมประชาชน ทั้งป.ป.ช. ป.ป.ท. ปปง. สตง. สิ่งที่ทำตำรวจเป็นต้นน้ำของกระบวนการยุติธรรม ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปราบทุจริตเมื่อมารวมตัวกันคือผลประโยชน์ของประชาชน เป็นเสาค้ำยันของหน่วยงานแต่ละหน่วยงานในการทำงานซึ่งกันและกัน การมาร่วมงานกันเป็นภาพของการสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชนโดยยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง ใช้หลักรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ในการทำงาน กฎหมายไม่สามารถสร้างความสงบสุขหรือความเท่าเทียมเพราะหากบังคับใช้กฎหมายอย่างรุนแรงเกินไป

ยกตัวอย่างคดีการทุจริตยาของโรงพยาบาลทหารผ่านศึกมีประชาชนเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้จำนวนมาก เราทำงานยึดพยานหลักฐานและผู้กระทำความผิดที่แท้จริง ส่วนใครจะตกเป็นเหยื่อในการเข้ามายุ่งเกี่ยวจะต้องให้ความเป็นธรรม ไม่ใช่การไม่ดำเนินคดีแต่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องและความเป็นธรรม การทุจริตจะต้องมีเจตนาพิเศษคนที่ได้รับผลประโยชน์เป็นจุดที่เราต้องมุ่งเน้นเป็นพิเศษ ดุลยภาพของสิทธิของแต่ละหน่วยงานที่ได้รวมตัวหลายหน่วยงานจะช่วยให้การทำงานเกิดความยุติธรรมโดยแท้จริงโดยไม่มีการบิดเบี้ยวเอนเอียง ประชาชนจะได้รับความเป็นธรรมการการทุจริตจะลดน้อยลง สถานการณ์การทุจริตจะดีขึ้น

"ขอบคุณผู้พิพากษาทุกท่านที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน พวกผมเป็นหน่วยงานแรกที่ต้องมาเผชิญกับผู้มีอิทธิพล ไม่ว่าจะเป็นระบบของเมืองไทยที่เป็นระบบอุปถัมภ์ ทุกคนมีเส้นมีสาย มีอำนาจ ถ้าเราไม่ได้คุ้มครอง หรือไม่ได้รับการประสานงานจากปปช. อัยการ ผู้พิพากษา ปปท. ถ้าเราไม่เป็นเสาค้ำยันกัน การทำงานของเรามันเดินต่อไปยาก ยกตัวอย่างผมเป็นตำรวจ ผมมีหัวหน้าหน่วยงานของผมคนเดียวโทรมา ให้ผมเบาหรือหยุดเรื่องนี้ เท่านี้ก็เหนื่อยแย่แล้ว เพราะฉะนั้นผมเลยพูดว่าหัวหน้าของเราก็คือผู้มีอิทธิพลตัวจริง ไม่ใช่คนอื่น เพราะคนอื่นต้องสั่งหัวหน้าเรา เพราะฉะนั้นรากฐานของผู้มีอำนาจมันโยงใยเหมือนรากต้นไม้ที่เป็นต้นใหญ่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่พวกผมทำและเกิดผลมา ยืนยันว่าหน่วยงานบูรณาการด้านกฎหมายกำลังนำสังคมไปสู่การเปลี่ยนแปลง"

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงประเด็นเรื่องแวดวงสงฆ์ สงฆ์ก็มีแต่เมตตา และอภัย เพราะฉะนั้นไม่มีหน่วยงานที่มาคานอำนาจ เมื่อวันนี้เกิดเรื่องขึ้นมา เรามาทำงานบูรณาการ

อย่างกรณีล่าสุดเราไม่ใช่จะไปทำลายสถาบันพระพุทธศาสนา แต่เราปกป้องพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ศาสนาไม่ได้เสื่อม มันเสื่อมที่ผู้ปฏิบัติ คือ พระภิกษุสงฆ์บางรูปที่ประพฤติตัวมิชอบ

Advertisement

แชร์
ศาลอาญาคดีทุจริตฯจัดเสวนา"ความท้าทายสร้างดุลยภาพแห่งสิทธิของหน่วยงาน"