กรมรางผุด R-Map วางโครงข่าย รถไฟ สายใหม่ เชื่อมพื้นที่”อุตฯ-เกษตร-ท่องเที่ยว”พลิกโฉมระบบขนส่งลดต้นทุนโลจิสติกส์

19 ส.ค. 64

รถไฟ เป็นระบบคมนาคมที่คนไทยมีความคุ้นเคยและอยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนานถึง124ปีแล้วแม้ว่าบางคนอาจจะไม่เคยใช้บริการหรือไม่ได้ใช้เป็นประจำแต่เนื่องจากระบบรางเป็นระบบคมนาคมที่มีประสิทธิภาพสูงในการขนส่งคนและสินค้าจากต้นทางสู่ปลายทางขณะที่ปัจจุบันรถไฟมีเทคโนโลยีทีทันสมัยหลายรูปแบบและมีความสะดวกปลอดภัยตรงเวลาภายใต้ราคาค่าบริการที่สมเหตุสมผลและยังเป็นระบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรัฐบาลจึงให้ความสำคัญในการพัฒนาและลงทุนระบบรางอย่างมากในห้วงเวลาที่ผ่านมา


ตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ20ปี (พ.ศ.2561 – 2580)ที่มุ่งเน้นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์โดยการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้เป็นโครงข่ายหลักในการขนส่งของประเทศจึงนับเป็นก้าวสำคัญที่ระบบรางจะเป็นส่วนในการขับเคลื่อนการค้าการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งทางรางเพื่อช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนทั้งด้านการโดยสารและการขนส่งสินค้าอีกทั้งยังประหยัดการใช้พลังงานของประเทศในระยะยาวยกระดับเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

ซึ่งแผนการพัฒนารถไฟไทยนั้นจะมี3ส่วนหลักๆคือ
1.การก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วนจำนวน7เส้นทางระยะทาง993กม.โดยช่วงชุมทางฉะเชิงเทรา-ชุมทางคลองสิบเก้า-ชุมทางแก่งคอยระยะทาง106กม.
วงเงิน10,232.86ล้านบาทและช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่นระยะทาง187กม.
วงเงิน24,326ล้านบาท
ก่อสร้างเสร็จแล้วส่วนอีก5เส้นทางอยู่ระหว่างก่อสร้าง

ได้แก่สายเหนือช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ148กม. วงเงิน 18,699ล้านบาท
สายอีสานช่วงมาบกะเบา-
ชุมทางถนนจิระระยะทาง132กม.วงเงิน
29,968.62ล้านบาทสายใต้
ช่วงนครปฐม-หัวหินระยะทาง169กม.วงเงิน15,718ล้านบาทช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์84กม.วงเงิน5,807ล้านบาทและช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร167กม.วงเงิน12,457ล้านบาท

ทางคู่ระยะที่2จำนวน7เส้นทางระยะทาง1,483กม.ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการนำเสนอขออนุมัติโครงการได้แก่1.ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย2.ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ 3.ช่วงขอนแก่น-หนองคาย4.ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 5.ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี 6.ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา 7.ช่วงชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์

และรถไฟสายใหม่ที่ครม.อนุมัติโครงการแล้ว2เส้นทางระยะทางรวม678กม.วงเงินรวม128,379ล้านบาทคือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของและช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม

นอกจากนี้รฟท.ยังมีในการพัฒนาทางคู่ในระยะถัดไปซึ่งเป็นรถไฟสายใหม่เป็นเส้นทางแตกแขนงออกจากสายหลักเพื่อเชื่อมโยงไปยังจังหวัดสำคัญและส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวเมืองรองจำนวน12เส้นทางระยะทางรวม1,738กม.ประเมินวงเงินลงทุน355,758.50ล้านบาทจะเพิ่มเส้นทางเป็น6,463กม.จาก47จังหวัดที่มีรถไฟผ่านจะเพิ่มขึ้นเป็น61จังหวัด

2.การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง(high speed rail) ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและเป็นทางเลือกในการเดินทางโดยเป็นระบบรถไฟที่มีความเร็วสูงสุดประมาณ 250กม./ชม.ทางมีความกว้าง1.435เมตรจำนวน4เส้นทาง ระยะทางรวม 2,654กม.ประกอบด้วย

ระยะเร่งด่วน สายอีสานกรุงเทพฯ -นครราชสีมา
253กม.และนครราชสีมา-หนองคาย355กม. (ความร่วมมือไทย-จีน) , สายตะวันออก
ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา220กม. (บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบินจำกัดรับสัมปทาน)สายเหนือกรุงเทพ-พิษณุโลก380กม.

ระยะกลางสายใต้กรุงเทพ-หัวหิน211กม.สายตะวันออกระยอง-จันทบุรี-ตราด190กม.สายเหนือพิษณุโลก-เชียงใหม่288กม.
ระยะยาวสายใต้หัวหิน-สุราษฏร์ธานี424กม.และสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์335กม.

3.การจัดหาหัวรถจักรและล้อเลื่อนการพัฒนาระบบโทรคมนาคมและอาณัติสัญญาณ

ซึ่งแผนพัฒนารถไฟทางคู่ขนาดราง1เมตรนั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการไม่ต้องเสียเวลารอสับหลีกสามารถเพิ่มความเร็วเฉลี่ยของรถไฟโดยสารเป็น100กิโลเมตร/ชั่วโมงและรถไฟขนส่งสินค้าเป็น60กิโลเมตร/ชั่วโมงซึ่งจะทำให้การเดินทางโดยรถไฟสามารถแข่งขันกับระบบถนนได้

@กรมรางลุยศึกษาแผนพัฒนารถไฟฟีดเดอร์เชื่อมโครงข่ายหลัก

แม้จะมีแผนก่อสร้างรถไฟทางคู่เพิ่มถึง16เส้นทางระยะทางรวม3,154กม.แต่ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างทางเพิ่มอีก1ทางคู่ไปตามแนวรถไฟเดิมในขณะที่ปัจจุบันการพัฒนาพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งแหล่งอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและชุมชน

ดังนั้นเส้นทางรถไฟที่มีจึงอาจยังไม่ครอบคลุมพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมที่ระจายอยู่ทั่วประเทศแหล่งอุตสาหกรรมที่ต้องการให้มีระบบรางเข้าถึงช่วยการกระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดต้นทุนอย่างแท้จริง

ปัจจุบันกรมการขนส่งทางราง(ขร.)จึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษาวงเงิน25.74ล้านบาทเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ(R-Map) ใช้เวลาศึกษา12เดือน

โดยเป็นการพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายรถไฟไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างทางคู่และทางสายใหม่พร้อมทั้งพัฒนาระบบโทรคมนาคมและอาณัติสัญญาณรถจักรและล้อเลื่อนเพื่อให้ระบบขนส่งทางรางกลายเป็นระบบหลักในการเดินทางและการขนส่งสินค้าของประเทศ

รวมทั้งนำผลการศึกษาโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งรถไฟทางคู่และมอเตอร์เวย์มาพิจารณาและจะต้องสำรวจ/รวบรวมข้อมูล/ปัญหาอุปสรรคในการขนส่งและความต้องการในพื้นที่ทั้งจากประชาชนผู้ประกอบการทุกแขนง

มีการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานจำนวนประชากรปริมาณการขนส่งฐานการผลิตทางการเกษตรด้านอุตสาหกรรมโครงข่ายคมนาคมทุกรูปแบบที่มีในพื้นที่รวมไปถึงวิเคราะห์ความต้องการเดินทางเพื่อคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารและสินค้าในอนาคต

@ต่อเส้นทางรถไฟแขนงย่อยเชื่อมโยงเข้าพื้นที่เศรษฐกิจ

“พิเชฐคุณาธรรมรักษ์”รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.)กล่าวว่าการศึกษาR-Mapนี้เพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศให้มากยิ่งขึ้นซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งสินค้าจากพื้นที่เศรษฐกิจแหล่งท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมของจังหวัดต่างๆรวมถึงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือในการให้บริการรถไฟระหว่างประเทศพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและศูนย์บริการโลจิสติกส์ในรูปแบบต่างๆเพื่อรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าและเดินทาง

โดยจะเป็นการนำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟมาทบทวนและต่อยอดโครงข่ายเส้นทางเดิมให้ครอบคลุมทั่วประเทศรวมทั้งทบทวนและพัฒนาการสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษแหล่งท่องเที่ยวนิคมอุตสาหกรรมการพัฒนาพื้นที่ในระดับภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้านและสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์รูปแบบต่างๆ

เมื่อดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จจะมีการจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อเพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเหมาะสมกับสถานะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

โดยบูรณาการร่วมกับการคมนาคมขนส่งอื่นๆรวมทั้งเสนอแนะการลงทุนตามลำดับความสำคัญและความจำเป็นแต่ละเส้นทางในโครงการต่างๆในภาพรวมของประเทศและระดับภูมิภาคเพื่อเป็นส่วนช่วยในการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด- 19และรองรับการลงทุนหลังจากการเปิดประเทศต่อไป

ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมมีแผนแม่บทโครงข่ายMR-Mapที่มีแนวคิดในก่อสร้างมอเตอร์เวย์กับระบบรางควบคู่ไปในแนวเส้นทางเดียวกันจำนวน10เส้นทางซึ่งถือเป็นเส้นทางหลักส่วนR-Mapนี้จะมีลักษณะเป็นเส้นเลือดฝอยเป็นรถไฟสายสั้นๆ ใช้เงินลงทุนไม่มากโดยจะแยกออกจากสายหลักต่อเชื่อมไปยังจุดหรือพื้นที่ที่มีศักยภาพเช่นท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ,ท่าเรือมาบตาพุด,นิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

“เป็นการเติมโครงข่ายรถไฟให้เต็มโดยเชื่อมไปยังพื้นที่มีศักยภาพหรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป”

@พรบ.การขนส่งทางรางเครื่องมือหลักขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย

เบื้องต้นมองว่าแนวทางลงทุนเป็นได้ทั้งเปิดให้เอกชนเข้ามาดำเนนการแบบเบ็ดเสร็จทั้งก่อสร้างทางจัดหารถจักรล้อเลื่อนและให้บริการหรือภาครัฐอาจต้องเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและให้เอกชนลงทุนส่วนที่อยู่เหนือรางและบริหารการเดินรถโดยจ่ายค่าใช้ทางให้กับภาครัฐ

ซึ่งขณะนี้ร่างพ.ร.บ.การขนส่งทางรางได้รับความเห็นชอบจากครม.แล้วอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกฤษฎีกาหากมีผลบังคับใช้จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้สามารถเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุนก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายรองได้ในอนาคต

นอกจากนี้วางแผนก่อสร้างเส้นทางรถไฟเพิ่มแล้วจะต้องศึกษาด้านการตลาด ธุรกิจ เพื่อให้มีรถไฟมาวิ่งให้บริการอย่างคุ้มค่าด้วย ซึ่งการศึกษาจะครอบคลุมทั้งหมด

@เร่งทำแผนการตลาดทางคู่เฟส2ตอบคำถามสศช.

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่2ของการรถไฟฯจำนวน7เส้นทางปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเสนอสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)แต่สศช.ยังไม่สามารถพิจารณาได้เนื่องจากไม่มีแผนการเดินรถแผนการตลาดแผนธุรกิจในการสร้างรายได้เพื่อรองรับการลงทุนเพราะกังวลว่าสร้างทางเสร็จแล้วไม่มีรถวิ่งซึ่งกรมรางฯจะช่วยศึกษาในส่วนนี้ด้วยคาดว่าใช้เวลาประมาณ6เดือน

“สศช.ต้องการคำตอบเรื่องแผนธุรกิจแผนการตลาดจำนวนผู้โดยสารสินค้าการกำหนดค่าโดยสารค่าระวางรวมไปถึงรูปแบบแพคเกจท่องเที่ยวและระบบตั๋วใหม่ๆเพราะรถไฟทางคู่ใช้เงินลงทุนสูงขณะนี้ยังมีเวลาศึกษาวิเคราะห์ให้รอบด้าน...ไม่ถือว่าล่าช้าและเมื่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ยุติจะพร้อมนำเสนอเพื่อขออนุมัติ”

ประเทศไทยคาดหวังว่าโครงข่ายรถไฟทางคู่จะเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งผู้โดยสารได้เพิ้มขึ้น79.90ล้นคน/ปีขนส่งสินค้าเพิ่มเป็น46.89ล้านตัน/ปี สนับสนุนให้สินค้าเกิดการชิฟโหมดมาใช้รางจาก1.4%เพิ่มเป็น 18.2%และ29.7%ตามลำดับส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP)ลดลงจาก14.2%เหลือ11.9%ต้นทุนค่าขนส่งต่อGDPลดลงจาก7.4%เหลือ6.7%

คงถึงเวลาแล้ว...ที่จะต้องพิจารณาเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมใช้ทางรถไฟเข้ามาร่วมลงทุนให้บริการเดินรถทั้งการขนส่งผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าในเส้นทางที่มีศักยภาพโดยจ่ายค่าเช่าใช้ทางให้กับการรถไฟฯเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์รางให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนสูงสุด..และเป็นระบบขนส่งหลักของประเทศอย่างสมบูรณ์และยั่งยืน

advertisement

Powered by Positioning

คุณอาจสนใจ

ข่าวยอดนิยม

ไลฟ์สไตล์ ล่าสุด