ความยั่งยืน

เปิดวิธีดูแลสุขภาพการเงินยุคดอกเบี้ยสูง ให้มั่งคั่ง ยั่งยืน มีเงินเกษียณให้ลูกหลาน

7 ต.ค. 66
เปิดวิธีดูแลสุขภาพการเงินยุคดอกเบี้ยสูง  ให้มั่งคั่ง ยั่งยืน มีเงินเกษียณให้ลูกหลาน

หนึ่งในเรื่องหนักใจของหลายๆ คนในชีวิตประจำวันคงหนีไม่พ้นการจัดการการเงินของตัวเอง เพื่อให้ตนเองมีสุขภาพการเงินที่ดี มีเงินพอใช้ พอจ่าย และเหลือเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายและทำได้ยากมาในทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ยุคเงินเฟ้อ ค่าครองชีพและดอกเบี้ยค้างสูง ขณะที่รายได้ยังปรับไม่ทันการเติบโต ทำให้หลายๆ คนประสบปัญหาหนี้ ชักหน้าไม่ถึงหลัง

ในบทความนี้ ทีม SPOTLIGHT จึงอยากชวนทุกคนมาดูศึกษาแนวทางในการจัดการบริหารเงินในยุคปัจจุบันกันว่าต้องทำอย่างไร เราจึงจะสามารถมีสุขภาพการเงินที่ดีคือ มีเงินใช้จ่าย และมีเงินออมไว้ใช้ยามฉุกเฉินและยามเกษียณได้ จากการเสวนา “Financial Wellness Solutions การวางแผนแบบองค์รวม” ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิในวงการการเงินถึง 3 ท่านมาร่วมแชร์ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลก และวิธีบริหารการเงินส่วนบุคคลแบบมืออาชีพ

758380

ยุคดอกเบี้ยสูงนาน ภาระมากขึ้น มูลค่าสินทรัพย์ลด

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษา กลุ่มธุรกิจการเงินธนาคารเกียรตินาคินภัทร กล่าวว่า ในปัจจุบันความท้าทายใหญ่ในการบริหารจัดการการเงินคือ การขึ้นดอกเบี้ยระยะยาวของธนาคารกลางทั่วโลก ที่ทำให้การบริหารสภาพคล่องยากลำบาก ผู้ที่เป็นหนี้ต้องรับภาระมากขึ้น ขณะที่มูลค่าและผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่างๆ ลดลง ทำให้ทั้งบุคคลและธุรกิจต้องบริหารสภาพคล่องดีๆ เพื่อรับมือกับภาวะดังกล่าว

ใน 10-15 ปีที่ผ่านมา จนถึงช่วงก่อนมีการระบาดของโควิด ทั้งประชาชนและธุรกิจเคยชินกับการที่ดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำ ทำให้การลงทุนหรือใช้จ่ายต่างๆ ทำได้ง่าย ในระบบมีเงินสะพัดและมีสภาพคล่องสูง

อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการอัดฉีดสภาพคล่องกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงโควิด สงครามรัสเซียยูเครน สภาพอากาศที่ทำให้ผลผลิตอาหารลดลง และปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ ธนาคารกลางทั่วโลกต่างต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพื่อลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ‘ไทย’ เองก็ได้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างมหาศาล เพื่อดึงเงินเฟ้อซึ่งอยู่ที่ 5% ในช่วงต้นปี ลงมาอยู่ที่ 0.3% ในปัจจุบัน

แต่แม้การปรับดอกเบี้ยนโยบายจะไม่ใช้ของแปลกใหม่ และเป็นมาตรการมาตรฐานที่ธนาคารกลางใช้เพื่อคุมเงินเฟ้อมาตลอด สิ่งที่ทำให้การปรับดอกเบี้ยในครั้งนี้น่ากังวลคือการที่ธนาคารกลางไม่ได้ปรับแค่ดอกเบี้ยระยะสั้น แต่ปรับดอกเบี้ยระยะยาวด้วย ทำให้ผลกระทบจากภาวะดอกเบี้ยสูงนี้น่าจะลากยาวไปอีกนาน และอาจจะอยู่ถาวร

sfsfsefsef

โดยจากการวิเคราะห์ของ ดร. ศุภวุฒิ ปัจจัยที่ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกน่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายในประเทศให้อยู่ในระดับสูงไปอีกระยะหนึ่ง มี 4  ปัจจัยด้วยกัน คือ

  1. ตลาดแรงงานของสหรัฐฯ ที่มีความเข้มแข็งมาก ดูได้จากทั้งจำนวนตำแหน่งงานในภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะภาคส่วนการเกษตรที่เพิ่มขึ้นถึง 336,000 ตำแหน่งในเดือนกันยายนที่ผ่านมา เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดไว้ที่เพียง 170,000 ตำแหน่ง และการนัดหยุดงานของแรงงานในประเทศตะวันตกต่างๆ เช่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี ที่สะท้อนว่าแรงงานมีอำนาจในการต่อรองเพื่อขึ้นค่าตอบแทนสูง ทำให้เงินเฟ้อมีแนวโน้มจะอยู่ในระดับที่สูงตามไปด้วยจากกำลังซื้อที่มากขึ้น
  2. การที่ในปี 2023 รัฐบาลสหรัฐฯ จะขาดดุลทางการคลังมากถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 7.4% ของ GDP ทำให้ในอนาคตสหรัฐฯ ต้องกู้เงินเพิ่มจำนวนมากเพื่อมาใช้ในการจัดการเศรษฐกิจ ดันให้ดอกเบี้ยระยะยาวของสหรัฐฯ สูงตามไปด้วย 
  3. การที่ธนาคารกลางสหรัฐหยุดการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ปล่อยให้พันธบัตรหมดอายุ แล้วดึงเงินกลับ ซึ่งจะดันดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไปอีก
  4. เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลง และความขัดแย้งระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่ทำให้จีนอาจไม่เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐ 

ดังนั้น ทั้งบุคคลและธุรกิจต่างๆ ในไทยจึงต้องวางแผนการบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพ รับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับภาวะดอกเบี้ยสูงให้ได้ โดย ดร. ศุภวุฒิกล่าวว่าปัจจัยที่ต้องนำมาคิดคือการ refinance ในอนาคตที่จะมีต้นทุนสูงขึ้น cost of funds ที่จะสูงขึ้นและกดดันสภาพคล่อง และการเพิ่ม pricing power สำหรับธุรกิจ เพราะถ้าหากต้นทุนในการทำธุรกิจสูงขึ้น ธุรกิจก็จะต้องหาทางขึ้นราคาสินค้าให้ได้ด้วย มิเช่นนั้นจะต้องเจอปัญหา margin squeeze

บริหารเงินยุคใหม่เน้นมั่นคง อย่ามองผลตอบแทนฉาบฉวย

คุณวศิน วัฒนวรกิจกุล นายกสมาคมนักวางแผนการเงิน กล่าวว่า ในยุคดอกเบี้ยและค่าครองชีพสูง หลักสำคัญในการบริหารการเงินและการลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งคือ ความมั่นคงระยะยาว และการเตรียม safety net ในกรณีที่เกิดปัญหา เพราะว่าในปัจจุบันที่สภาพคล่องลดลง และต้นทุนในการทำลงทุนหรือทำธุรกิจสูงขึ้น การหวังค่าตอบแทนระดับสูงนั้นเป็นสิ่งที่เสี่ยงและไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไปแล้ว

หลักเรื่องความมั่นคงนี้เกิดจากแนวคิดของคุณวศินที่ได้นิยามความหมายของ ‘สุขภาพทางการเงิน’ หรือ Financial Wellness ไว้ว่า คือการที่เรามีเงินใช้ มีการลงทุนในสินทรัพย์ที่สามารถให้ผลตอบแทนแก่เราได้ และมีเงินสำรองเวลาฉุกเฉิน หรือไว้ใช้ในยามเกษียณ ทำให้มีความสบายใจ และมั่นคงในการใช้ชีวิตจนไม่ต้องกังวลเรื่องเงิน ซึ่งแตกต่างจากการมีรายได้สูงเพียงอย่างเดียว เพราะผู้ที่มีรายได้สูงก็อาจไม่มีความมั่นคงทางการเงินได้หากมีการใช้จ่ายมากเกินกำลัง ไม่มีการลงทุนในสินทรัพข์ หรือเก็บออมเงินอย่างเป็นระบบ

ดังนั้น ในช่วงที่ดอกเบี้ยกำลังสูง คุณวศินจึงมองว่าสินทรัพย์ที่ให้เงินตอบแทนอย่างต่อเนื่อง เช่น fixed income หรือ dividend stock ของอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากเงินเฟ้อ เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค จึงเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจ หรือถ้าหากสนใจลงทุนในตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ นักลงทุนควรศึกษาความน่าเชื่อถือและปัจจัยพื้นฐานของบริษัทควบคู่ไปด้วย ไม่มองแต่ผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว เพราะหากหุ้นกู้ของบริษัทไม่สามารถรับแรงกดดันด้านเศรษฐกิจได้ ลงทุนไปก็อาจจะเสียหาย

นอกจากนี้ สำหรับการเก็บออมนั้น คุณวศินยังมองด้วยว่าการเก็บเงินไว้เผื่อใช้เพียง 6-12 เดือนนั้นอาจไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว แต่ต้องเก็บไว้เผื่อถึง 24-36 เดือน เพราะโลกในปัจจุบันผันผวน และมีปัจจัยที่จะมาเป็น disruptor ในการทำงานมากมาย รวมไปถึง เทคโนโลยี ที่อาจเข้ามาทำให้เราเสียงานไปได้ทุกเมื่อ ทำให้การมีเงินสำรองจำนวนมากไว้ใช้ชีวิตยามไม่มีรายได้จึงเป็นเรื่องสำคัญของคนทำงานในยุคปัจจุบัน

 111443

แนะบริษัทสนใจการเงินพนักงาน เพิ่มผลิตผลและรายได้

นอกจากการบริหารการเงินสำหรับคนทั่วไปแล้ว ในการเสวนานี้คุณวศิน ยังได้ให้คำแนะนำกับบริษัทในการบริหารจัดการการเงินในยุคใหม่อีกด้วยว่า บริษัทต่างๆ ควรเน้นความมั่นคงและความยั่งยืน คือ protection และ sustainability มากกว่าจะมุ่งแต่สร้างการเติบโตและผลกำไร โดยการสร้างความมั่นคงนั้นอาจทำได้หลายทาง ทั้ง

  1. การวางแผน exit strategy และการวางโครงสร้างบริษัทให้ชัดเจน เพื่อให้การสืบทอดบริษัทเป็นไปได้อย่างราบรื่น
  2. การดูแลสุขภาพทางการเงินของพนักงาน เพราะคุณวศินมองว่าสุขภาพการเงินของพนักงานจะเชื่อมโยงโดยตรงกับสุขภาพการเงินของกิจการ เพราะพนักงานที่มีความมั่นคงทางการเงินจะมี productivity สูง และทำงานได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องพะวงเรื่องเงิน โดยบริษัทอาจสร้างเสริมสุขภาพทางการเงินให้พนักงานได้โดยการปรับค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ หรือการให้ความรู้ในการจัดการเงินแก่พนักงาน

 

คนไทยยังไม่พร้อมเกษียณ ควรเร่งลงทุน ออมเงิน

ส่วนทางด้าน ผศ.ดร.รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่าจากการศึกษาเพื่อจัดทำดัชนีชี้วัดความพร้อมในการเกษียณของคนไทยหรือ National Retirement Readiness Index พบว่า คนไทยส่วนมากยังมีความพร้อมด้านการเงินในการเกษียณต่ำ ในขณะทีมีความพร้อมด้านสุขภาพค่อนข้างดี คนไทยจึงควรเร่งหา safety net ด้านการเงินเพื่อรองรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณที่มีแนวโน้มจะยาวนานมากขึ้น

จากข้อมูลของ ผศ.ดร.รุ่งเกียรติ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความพร้อมในการเกษียณด้านสุขภาพและการเงินของคนไทย ผ่าน 4 ตัวชี้วัดคือ ความเพียงพอ (Adequacy) ความพร้อม (Preparedness) การมีส่วนช่วยของภาครัฐในการให้การศึกษา (Educational Enabler) และ ความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) 

sdffsdfs

โดยจากการศึกษา พบว่า มีข้อสังเกตสำคัญคือ ประชาชนกลุ่มที่มีความพร้อมในการเกษียณต่ำมากที่สุดนั้นคือพนักงานบริษัท หรือพนักงานอิสระ ที่เมื่อเกษียณอายุงานออกมาแล้วจะขาดแหล่งรายได้ เพราะไม่มีสวัสดิการและระบบบำเหน็จบำนาญรองรับ และปัจจัยที่ทำให้คนไทยไม่พร้อมสำหรับการเกษียณมากที่สุดคือการขาดความรู้ทางการเงิน 

ดังนั้น ผศ.ดร.รุ่งเกียรติ จึงมองว่าสิ่งสำคัญที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำคือการเพิ่มความรู้ทางการเงินให้กับประชาชน ให้มีความรู้ในการออมเงิน หรือลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทน ทำให้ประชาชนมีเงินทุนสำรองในการใช้ชีวิตหลังเกษียณ รวมไปถึงเป็นมรดกส่งต่อให้ลูกหลานในอนาคต 

ทั้งนี้ ตัวประชาชนเองก็ต้องหมั่นหาความรู้ด้านการเงินและบริหารจัดการเงินในช่วงที่ยังมีรายได้ให้ดี ซึ่งอาจทำได้โดยการเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็นการออมเงินและสร้างผลตอบแทนได้ เช่น การซื้อคอนโดที่ทำเลดีเดินทางสะดวกแทนการซื้อบ้านเดี่ยวและรถ เพราะทำให้คนทำงานไม่ต้องซื้อรถ ซึ่งประหยัดเงินได้ และสามารถขายต่อได้ราคาไม่ต่ำมากนักเพราะอยู่ในทำเลที่ดีแตกต่างจากบ้านเดี่ยวที่มักอยู่ชานเมือง หรือการลงทุนตามช่วงอายุ เพราะประชาชนในช่วงอายุน้อยยังไม่มีภาระครอบครัวจะสามารถรับความเสี่ยงได้มากกว่า

นอกจากนี้ ประชาชนยังควรระมัดระวังการใช้เงินไม่ให้เกินตัว และทำสิ่งที่เรียกว่า smooth consumption หรือการควบคุมไลฟ์สไตล์และการบริโภคสินค้าและบริการของตัวเองไม่ให้ขึ้นลงตามปริมาณรายได้ เพราะถ้าหากเกิดปัญหาจนรายได้ลดลง หรือขาดรายได้ไป ก็อาจจะไม่สามารถ afford ไลฟ์สไตล์แบบเดิมได้ 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT