ความยั่งยืน

SUSTAINABLE EVENT DESIGN จัดอีเว้นต์อย่างไรให้ยั่งยืน

5 ต.ค. 66
SUSTAINABLE EVENT DESIGN จัดอีเว้นต์อย่างไรให้ยั่งยืน
ไฮไลท์ Highlight
  • การจัดอีเวนต์แบบยั่งยืนเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการและผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วมในการนำพาวงการอีเวนต์สู่ความยั่งยืนได้ โดยการนำแนวทางเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้
  • แนวทางการจัดอีเวนต์แบบยั่งยืนมีหลากหลายวิธี เช่น การเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การออกแบบอีเวนต์ให้สามารถปรับเปลี่ยนได้เพื่อลดปริมาณขยะ การร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อจัดงานอีเวนต์แบบยั่งยืน การจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมพฤติกรรมที่ยั่งยืนในงานอีเวนต์ และการเผยแพร่ความรู้และแนวทางการจัดอีเวนต์แบบยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการและผู้บริโภค
  • มีหลายตัวอย่างการจัดอีเวนต์แบบยั่งยืน เช่น Thailand Coffee Fest, Greenery, และงานอีเวนต์ของ ธ.ไก่ชน จำกัด ซึ่งล้วนแต่เป็นงานอีเวนต์ที่ประสบความสำเร็จและเป็นที่สนใจของผู้คนจำนวนมาก
  • การจัดอีเวนต์แบบยั่งยืนเป็นแนวทางที่ควรได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างโลกที่น่าอยู่สำหรับคนรุ่นหลัง

SUSTAINABLE EVENT DESIGN จัดอีเว้นต์อย่างไรให้ยั่งยืน

 SUSTAINABLE EVENT DESIGN จัดอีเว้นต์อย่างไรให้ยั่งยืน

ที่งาน sx sustainability expo 2023 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีหัวข้อ เสวนาเรื่อง SUSTAINABLE EVENT DESIGN จัดอีเว้นต์อย่างไรให้ยั่งยืน

โดยได้วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 4 ท่าน ได้แก่

  • คุณเจรมัย พิทักษ์วงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจ media and event Amarin Group
  • คุณช้างน้อย-กุญชร ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท คลาวด์แอนด์กราวนด์ จำกัด
  • คุณธนบูรณ์ สมบูรณ์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรีนเนอรี่ เอสอี จำกัด
  • คุณธนพัฒน์ บุญสนาน สถาปนิก และผู้ก่อตั้ง บริษัท ธ.ไก่ชน จำกัด

ได้มาแชร์ไอเดียและมุมมองความรู้ใหม่ๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับ การจัดอีเว้นต์แบบ SUSTAINABLE EVENT DESIGN ให้ยั่งยืน โดยมีเนื้อหาสาระสําคัญดังนี้

4 แนวทาง sustainable habits สไตล์ media and event

SUSTAINABLE EVENT DESIGN จัดอีเว้นต์อย่างไรให้ยั่งยืน
คุณเจรมัย พิทักษ์วงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจ media and event Amarin Group ได้มาบอกเล่าถึงการจัดอีเวนต์ในสไตล์ sustainable habits ว่า “ คำว่า Sustainable habits คือ พฤติกรรมที่เราอยากจะช่วยให้โลกของเราคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน”

โดยพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การลดปริมาณขยะ การประหยัดพลังงานและน้ำ การบริโภคอาหารอย่างยั่งยืน

แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ทำกันง่ายๆ ไม่ใช่ทุกคนที่ตื่นมาแล้วอยากจะเปลี่ยนแปลงโลก โดยทำมันทุกอย่างที่จะช่วยให้โลกของเราคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน หรือหลายๆ คนที่มัวแต่คิดว่าจะทำแล้วก็ไม่ทำสักที

ดังนั้น เรื่องง่ายๆ เลยอยากจะทำอะไรทำเลย เช่น ลดการซื้อของที่ไม่จำเป็น หรือ พกถุงผ้าหรือขวดน้ำส่วนตัว เพียงแค่นี้ก็ถือว่าเป็นการทำให้เกิด sustainable habits แล้ว

สำหรับ sustainable habits มาใช้ในการจัดงานอีเวนต์ละ มันสามารถทำได้อย่างไรบ้าง โดยทางเราจะข้อนำเสนอ 4 habits หรือ 4 กิจวัตรที่คนทำ อีเวนต์ ควรรู้

1.Light-Footed build method

  • วิธีการคิด อีเวนต์ โดยคำนึงถึงเรื่องการ ก่อสร้างที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยเน้นการใช้วัสดุและทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า อาทิเช่น เลือกสถานที่จัดงานที่มีโครงสร้างครบครันมาตั้งแต่ต้นสามารถที่จะทำอะไรได้หลากหลาย โดยไม่จำเป็นต้องสร้างใหม่ทั้งหมด หรือใช้วัสดุและอุปกรณ์จากงานอีเวนต์ก่อนหน้า ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ตกแต่ง และอุปกรณ์อื่นๆ หรือเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น วัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุเหลือใช้ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น วิธีจะช่วยให้ประหยัดทั้งเงินและเวลา และยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

2.Sympathetic Design Language

  • ออกแบบโดยคำนึงถึงปัญหาของคนอื่นบ้าง อย่างคิดแต่ปัญหาของเราเป็นหลักเช่น อีเวนต์นี้มีงบให้เท่า หรือ ออกแบบอีเวนต์ที่เน้นความสวยงามและฟังก์ชันการใช้งานเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก โดยจะขอยกตัวอย่าง ชุมชนไม้ไผ่แม่แจ่ม ที่เปลี่ยนผ่านจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวสู่พืชเศรษฐกิจทดแทนอย่างไม้ไผ่หรือไม้บางชนิดที่โตไว 3-4 ปีก็สามารถนำไปใช้ได้แล้ว เพื่อที่จะให้กลุ่ม คนทำอีเวนต์ สามารถนำไปใช้ ชาวบ้านก็มีรายได้ คนทำอีเวนต์ ก็ได้ประโยชน์ เพราะสามารถใช้ไอเดียจาก ไม้ไผ่ มาสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับผู้เข้าร่วมงานและกลุ่มคนอื่นๆสามารถต่อยอดความคิดได้ นอกจากนี้หากลดสเปคจัดงานไม่จำเป็นต้องเลือกใช้ของที่ดีที่สุดแต่ใช้ไอเดียแทน เช่น เลือกใช้เศษผ้าหลายๆชื้นมาต่อๆกัน ก็อาจจะสวยกว่าผ้าผืนใหญ่ผืนเดียว ก็เป็นได้ นอกจากนี้หลังจบงานยังสามารถเอาผ้าที่เราไม่ได้ใช้แล้วไปบริจาคให้กับชุมชนก็ได้นี้ถือเป็นอีกวิธีแบบ sustainable habits อีกด้วย

3.Betterism collaboration

  • คือ การทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่ยั่งยืนและร่วมกันพัฒนาแนวทางการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น ออกแบบเก้าอี้สำหรับงาน อีเวนต์ ควรเลือกวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถรีไซเคิลได้ เช่น ไม้ พลาสติกรีไซเคิล หรือ เหล็กที่มีความทนทานสูง การออกแบบให้ใช้งานได้นานและทนทาน เพื่อลดปริมาณขยะ นอกจากนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซาก ดังนั้นการออกแบบเก้าอี้ต้องทนแต่ส่วนที่เรานั่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้สำหรับในแต่ละอีเวนต์ที่เราจัด หากทำได้แบบนี้นอกจากจะส่วนประหยัดแล้วยังสามารถนำมาปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องสร้างหรือซื้อใหม่ตลอดเวลาที่จัดงาน

4.Advocate for a Better Balance Society

  • พยายามเพิ่มความเป็น sustainable habits ไปในงานอีเวนต์ที่จัด เช่น อาจเพิ่ม บูธจำหน่ายสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ผลิตภัณฑ์จากวัสดุรีไซเคิล ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลังงานทดแทน ผลิตภัณฑ์ที่ประหยัดพลังงาน หรือ บูธกิจกรรมเวิร์กช็อปเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ยั่งยืน เช่น การลดใช้พลาสติก การกินอาหารจากพืชเป็นหลัก การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง นอกจากนี้ก็พยายามคอลแลปส์กับพาร์ทเนอร์อื่นๆ ที่ทำแนว sustainable habits เพื่อต่อยอดไอเดียและความรู้ต่อไปจากเหล่าพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆเป็นต้น นอกจากนี้การจัดอีเวนต์แบบ sustainable habits ยังช่วยชดเชยคาร์บอนเครดิตสำหรับการจัดงานอีเวนต์ เพราะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจากการจัดอีเวนต์ ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลงและยังสามารถช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้จัดงานและองค์กรแบบยั่งยืน

Sustainable Event ที่มาพร้อมความยั่งยืนเติบโตไปพร้อมความสำเร็จของงาน

 SUSTAINABLE EVENT DESIGN จัดอีเว้นต์อย่างไรให้ยั่งยืน

คุณช้างน้อย-กุญชร ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท คลาวด์แอนด์กราวนด์ จำกัด ได้มาบอกเล่าถึงการจัดอีเวนต์ในสไตล์ sustainable habits ของทาง คลาวด์แอนด์กราวนที่จัดอีเวนต์แบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลัก 3Rs ในการลด reuse และ recycle ยกตัวอย่างงาน Thailand Coffee Fest ภายในงานเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เลือกใช้แก้วน้ำกระดาษ เลือกใช้อุปกรณ์ตกแต่งอีเวนต์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล มีการควบคุมปริมาณขยะ เช่น กำหนดให้ผู้เข้าร่วมนำแก้วน้ำส่วนตัวมาใช้ งดแจกเอกสารที่เป็นกระดาษ นอกจากนี้ในงาน Thailand Coffee Fest ยังใส่ใจด้านความยั่งยืนเป็นสำคัญ โดยโซนต่างๆ ถูกตกแต่งด้วยตาข่ายตากกาแฟ โดยคำนึงถึงคุณสมบัติของวัสดุหลักที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุเริ่มต้น ซึ่งต้องหาง่ายราคาไม่แพง และมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้จำนวนมาก หลังจบงานสามารถนำไปใช้ต่อได้

นอกจากนี้ความยั่งยืนเป็นประเด็นสำคัญมาก โดยเฉพาะในวงการกาแฟทั่วโลกให้ความสำคัญ เนื่องจากการบริโภคกาแฟในปัจจุบันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมหลายประการ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่าเพื่อทำไร่กาแฟ เป็นต้น ดังนั้น เหล่าผู้ประกอบการและผู้บริโภคกาแฟจึงมีบทบาทสำคัญในการนำพาวงการกาแฟสู่ความยั่งยืน โดยสามารถดำเนินการได้หลายวิธี เช่น เลือกซื้อกาแฟที่มาจากแหล่งผลิตที่ยั่งยืน หรือสนับสนุนโครงการและกิจกรรมด้านความยั่งยืนในวงการกาแฟ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคกาแฟ เช่น ชงกาแฟเองที่บ้าน เพื่อลดการใช้แก้วพลาสติก

จากงาน Thailand Coffee Fest 2023 ที่ผ่านมา มีผู้สนใจเข้าร่วมงานเกือบ 90,000 คน เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับปีก่อน มีผู้ชมต่อแถวรอเข้างานตั้งแต่ก่อนเปิดเวลา 9.30 น. สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจอย่างล้นหลามตอกย้ำความยั่งยืนเติบโตไปพร้อมความสำเร็จของงาน

 


Greenery คอมมูนิตี้ อีเวนต์ เพื่อส่งเสริมอาหารปลอดภัยและการบริโภคอย่างยั่งยืน

 SUSTAINABLE EVENT DESIGN จัดอีเว้นต์อย่างไรให้ยั่งยืน

คุณธนบูรณ์ สมบูรณ์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรีนเนอรี่ เอสอี จำกัด ได้มาบอกเล่าถึงโครงการ Greenery คือ คอมมูนิตี้ เพื่อส่งเสริมอาหารปลอดภัยและการบริโภคอย่างยั่งยืน เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยองค์กรนวัตกรรมสังคม CreativeMOVE ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนต่างๆ หันมาบริโภคอาหารปลอดภัยและยั่งยืน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป การบริโภค และการจัดการขยะ มีการอบรมความรู้และทักษะ ให้กับชุมชนต่างๆ เกี่ยวกับการผลิต การแปรรูป การบริโภค และการจัดการขยะอาหาร สนับสนุนทุนและวัสดุอุปกรณ์ ให้กับชุมชนต่างๆ เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการ อย่างยั่งยืน

โครงการ Greenery ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้ชุมชนต่างๆ หันมาบริโภคอาหารปลอดภัยและยั่งยืน โดยปัจจุบันมีชุมชนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 100 แห่ง ชุมชนต่างๆได้เรียนรู้และนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากโครงการไปประยุกต์ใช้เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยและยั่งยืนด้วยตนเอง ส่งผลให้ชุมชนมีอาหารปลอดภัยบริโภคมากขึ้น ลดการสูญเสียอาหาร และลดปริมาณขยะอาหาร

 

ไม้ไผ่ คือสถาปัตยกรรมเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคม จะช่วยสร้างโลกให้ยั่งยืน

 SUSTAINABLE EVENT DESIGN จัดอีเว้นต์อย่างไรให้ยั่งยืน

คุณธนพัฒน์ บุญสนาน สถาปนิกและนักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรง ผู้ก่อตั้งบริษัท ธ.ไก่ชน จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและก่อสร้างด้วยไม้ไผ่ โดยคุณ ธนพัฒน์ เชื่อว่าไม้ไผ่เป็นวัสดุที่จะช่วยสร้างโลกที่ยั่งยืนและน่าอยู่ขึ้น ผลงานการออกแบบอีเวนต์ของคุณธนพัฒน์ส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลัก เนื่องจากไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติที่มีคุณสมบัติมากมายที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น

  • ความแข็งแรงและทนทาน ไม้ไผ่สามารถรับน้ำหนักได้เทียบเท่ากับเหล็ก แต่มีน้ำหนักเบากว่า จึงช่วยลดการใช้วัสดุอื่นๆ ในการเสริมโครงสร้าง
  • การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม้ไผ่สามารถเติบโตได้สูงถึง 3 เมตร ภายในเวลาเพียง 2 เดือน จึงช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่า
  • ความสามารถในการหมุนเวียน ไม้ไผ่สามารถปลูกทดแทนได้อย่างรวดเร็ว จึงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว

แนวคิด คุณธนพัฒน์ แสดงให้เห็นว่า ไม้ไผ่ สามารถจัดงานอีเวนต์ได้อย่างสวยงามและน่าประทับใจ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ คุณธนพัฒน์ยังให้ความสำคัญกับการใช้วัสดุอื่นๆ ที่ยั่งยืนในการออกแบบอีกด้วย เช่น วัสดุรีไซเคิล วัสดุจากธรรมชาติ และวัสดุที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนและอย่างยั่งยืน

 SUSTAINABLE EVENT DESIGN จัดอีเว้นต์อย่างไรให้ยั่งยืน

สำหรับการจัดอีเวนต์แบบยั่งยืนเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการและผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วมในการนำพาวงการอีเวนต์สู่ความยั่งยืนได้ โดยการนำแนวทางเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT