การเงิน

อัปเดต อัตราดอกเบี้ยแบงก์ เงินกู้ และ เงินฝาก ล่าสุด

5 พ.ย. 66
อัปเดต อัตราดอกเบี้ยแบงก์ เงินกู้ และ เงินฝาก ล่าสุด

วันนี้ Spotlight ได้รวบรวมข้อมูลอัปเดตอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ และ เงินฝาก ล่าสุด ในเดือน พฤศจิกายน 2566 จากหลากหลายธนาคาร ไม่ว่าจะเป็น ธนาคาร กสิกรไทย ธนาคาร กรุงไทย ธนาคาร ไทยพาณิชย์ ธนาคาร กรุงเทพ ธนาคาร ออมสิน ธนาคาร ทหารไทย ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

อัปเดต อัตราดอกเบี้ยแบงก์ เงินกู้ และ เงินฝาก เดือน พฤศจิกายน 2566

 อัตราดอกเบี้ยแบงก์ เงินกู้ และ เงินฝาก เดือน พฤศจิกายน

อัตราดอกเบี้ย เงินฝาก เดือนพฤศจิกายน 2566 : อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ไทยในเดือนพฤศจิกายน 2566 ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับเดิมหรือปรับขึ้น-ลงเพียงเล็กน้อย ยกเว้นบางธนาคารที่ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำขึ้นเล็กน้อย เพื่อดึงดูดลูกค้าที่ต้องการฝากเงินระยะยาว

แม้จะปรับขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำก็ยังคงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างผลตอบแทนในระยะยาว เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำและไม่มีความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด และจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำของธนาคารไทย 11 อันดับที่น่าสนใจในเดือนพฤศจิกายน 2566 มีดังนี้

ดอกเบี้ยเงินฝากเดือนพฤศจิกายน 2566
 อัตราดอกเบี้ยแบงก์ เงินกู้ และ เงินฝาก เดือน พฤศจิกายน

 

----------------------------------------------------

 

อัตราดอกเบี้ย เงินกู้ เดือนพฤศจิกายน 2566 

ก่อนการเลือกธนาคารเพื่อกู้ ผู้อ่านควรเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้จากธนาคารหลายแห่ง เพื่อหาอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมที่สุด นอกจากนี้ก่อนการตัดสินใจที่จะขอกู้เงินสินเชื่อตัวไหน และธนาคารใด ปัจจัยที่ควรพิจารณาเป็นอันดับต้นๆ คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งได้แก่ อัตราของ MLR, MOR, MRR, และ เงื่อนไขการกู้เงิน ดังนั้น เพื่อเป็นตัวช่วยให้ท่านผู้อ่าน สามารถเลือกสินเชื่อที่เหมาะสมกับตนเองได้ Spotlight จึงขอนำเสนอข้อมูล "อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ (MLR, MOR และ MRR)" ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ใช้อ้างอิงในการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินกู้จากลูกค้า โดยเป็นดอกเบี้ยลอยตัวที่เปลี่ยนแปลงตามภาวะเศรษฐกิจ และมีการเผยแพร่โดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีรายละเอียดดังนี้

อัตราดอกเบี้ยแบงก์ เงินกู้ และ เงินฝาก เดือน พฤศจิกายน

 

วิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้

ธนาคารส่วนใหญ่จะคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ ตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นแบบ ดอกเบี้ยคงที่ โดยคำนวณจาก เงินต้นคงเหลือ คูณด้วย อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (%) คูณด้วย จำนวนวันในงวดนั้น แล้วหารด้วย จำนวนวันในหนึ่งปี

 

ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ (ดอกเบี้ยบ้านแบบดอกเบี้ยคงที่)

สมมติเงินต้นทั้งหมด 1,000,000 บาท ผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือน เดือนละ 20,000 บาท

 

การคำนวณอัตราดอกเบี้ย 5.00% ต่อปี

งวดที่ 1 (ชำระเดือนมกราคม)

ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่องวด = (เงินต้นคงเหลือ x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันในงวดนั้น) ÷ จำนวนวันใน 1 ปี

= (1,000,000 x 5.00% x 31) ÷ 365 = 16,438.35 บาท

ยอดเงินรวมเมื่อจบงวด = เงินต้นคงเหลือ + ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายต่องวด

= 1,000,000 + 16,438.35 = 1,016,438.35 บาท

จากนั้นนำไปหักค่างวดที่ต้องจ่ายเดือนแรกออก 20,000 บาท เมื่อสิ้นงวดแรกจะเหลือเงินต้นเท่ากับ 1,016,438.35 – 20,000 = 996,438.35 บาท

 

การคำนวณดอกเบี้ย MRR

สำหรับสินเชื่อบ้านเบื้องต้น โดยสมมติว่าวงเงินกู้ 1,000,000 บาท กำหนดว่า MRR เท่ากับ 7.00% และอัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 คงที่อยู่ที่ 5.00% ต่อปี ปีที่ 2 อยู่ที่ MRR-1.25%

  • การคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสำหรับปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 = 5.00% ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสำหรับปีที่ 1 = 1,000,000 x 5.00% = 50,000 บาท
  • การคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสำหรับปีที่ 2 อัตราดอกเบี้ยปีที่ 2 = MRR-1.25% = 7.00% - 1.25% = 5.75% ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสำหรับปีที่ 2 = 1,000,000 x 5.75% = 57,500 บาท

 อัตราดอกเบี้ยแบงก์ เงินกู้ และ เงินฝาก เดือน พฤศจิกายน

สรุปวิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้

ธนาคารส่วนใหญ่จะคำนวณดอกเบี้ยบ้านแบบดอกเบี้ยคงที่ โดยคำนวณจากเงินต้นคงเหลือ คูณด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (%) คูณด้วยจำนวนวันในงวดนั้น แล้วหารด้วยจำนวนวันในหนึ่งปี

สำหรับสินเชื่อบ้านเบื้องต้น โดยสมมติว่าวงเงินกู้ 1,000,000 บาท กำหนดว่า MRR เท่ากับ 7.00% และอัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 คงที่อยู่ที่ 5.00% ต่อปี ปีที่ 2 อยู่ที่ MRR-1.25%

  • ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสำหรับปีที่ 1 = 1,000,000 x 5.00% = 50,000 บาท
  • ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายสำหรับปีที่ 2 = 1,000,000 x 5.75% = 57,500 บาท

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อมูล ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT