ข่าวเศรษฐกิจ

ลูกจ้างลุ้น!ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ รอบ2 จะถึง 400 บาท? รอเคาะ 26 มี.ค.นี้

22 มี.ค. 67
ลูกจ้างลุ้น!ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ รอบ2 จะถึง 400 บาท? รอเคาะ 26 มี.ค.นี้
ไฮไลท์ Highlight
การปรับรอบที่ 2 ซึ่งรอสรุปในวันที่ 26 มีนาคมนี้ มีแนวทางว่า จะเพิ่มขึ้นอีก 1.5% จากการปรับขึ้นค่าแรงเมื่อ 1 ม.ค.67 ซึ่งหากลองคำนวณการใช้สูตรนี้ ตัวอย่าง ภูเก็ต จะขึ้นอีก ราว 5-6 บาท จาก 370 บาท จะเป็น 375 บาท หรือ กรณี จังหวัดที่ได้น้อยที่สุด อย่าง 330 บาท ขึ้นอีก 1.5% ก็คือประมาณ  335 บาท เป็นต้น ดังนั้น สูตรนี้ค่าแรงจะไม่ถึง 400 บาทต่อวัน 

วันอังคารที่ 26 มีนาคมนี้ คณะกรรมการค่าจ้าง หรือ ไตรภาคี จะสรุปอัตราการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบที่ 2 เพื่อให้มีผลทันในเดือน เมษายน 2567 นี้ ซึ่งต้องจับตาดูว่า เป้าหมายของรัฐบาลที่จะทำให้ค่าแรงขั้นต่ำถึง 400 บาทต่อวัน จะทำสำเร็จหรือไม่?  

ย้อนกลับไปค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยในปัจจุบัน เพิ่งจะมีการปรับขึ้น 2-16 บาท มีผลไปเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2567  แต่การปรับขึ้นที่ผ่านมายังไม่สามารถทำให้ค่าแรงขั้นต่ำไปที่ 400 บาทต่อวันได้ ดังนั้นแนวทางจึงจะต้องมีการขึ้นค่าแรงมากกว่า 1 รอบ และเป็นที่ถกเถียงกันว่า สูตรการขึ้นค่าแรงแบบไหนจึงจะเหมาะสม กับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่ทั้งลูกจ้างและนายจ้างต่างก็มีภาระปัญหาหนักแตกต่างกันไป  

โดยอัตราค่าแรงขั้นต่ำปัจจุบันแบ่งเป็น 18 อัตรา มากที่สุดคือ จังหวัดภูเก็ต 370 บาท จังหวัดเดียว รองลงมา คือ  363 บาท ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการและสมุทรสาคร  ส่วนอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่น้อยที่สุดคือ 330 บาทได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา

การปรับรอบที่ 2 ซึ่งรอสรุปในวันที่ 26 มีนาคมนี้ มีแนวทางว่า จะเพิ่มขึ้นอีก 1.5% จากการปรับขึ้นค่าแรงเมื่อ 1 ม.ค.67 ซึ่งหากลองคำนวณการใช้สูตรนี้ ตัวอย่าง ภูเก็ต จะขึ้นอีก ราว 5-6 บาท จาก 370 บาท จะเป็น 375 บาท หรือ กรณี จังหวัดที่ได้น้อยที่สุด อย่าง 330 บาท ขึ้นอีก 1.5% ก็คือประมาณ  335 บาท เป็นต้น ดังนั้น สูตรนี้ค่าแรงจะไม่ถึง 400 บาทต่อวัน 

ส่วนอีกสูตรคือ ขึ้นไปถึง 400 บาท แต่แค่บางพื้นที่ บางเขตหรือบางประเภทกิจการ โดยมีการพิจารณาจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันรวมถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยจังหวัดที่มีโอกาสถึง 400 บาทมี 10 จังหวัดท่องเที่ยว ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี กระบี่สงขลา พังงา ประจวบคีรีขันธ์ และระยอง  ซึ่งสูตรนี้ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่  ดังนั้น 26 มีนาคมนี้ จึงต้องจับตาดูว่า ค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยจะไปอยู่ที่เท่าไหร่

สำคัญที่สุดคือ การขึ้นค่าแรง ที่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของทั้งฝั่งลูกจ้างที่ปัจจุบันกำลังซื้อหดหาย หนี้สินล้นพ้นตัว แต่ขณะที่เจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะ SME ก็ต้องแบกต้นทุนค่าจ้างที่สูงขึ้น และต้องแข่งขันได้ลำบากกับสินค้าจีนที่ถูกกว่า จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดหรือไม่ เป็นแนวทางที่คณะกรรมการค่าจ้างคงต้องนำมาพิจารณาหาข้อสรุปในวันจันทร์นี้ 

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 12) มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่  1 ม.ค.2567 ประกอบด้วย

370  บาท จังหวัดภูเก็ต

363 บาท กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการและสมุทรสาคร

361 ชลบุรี และระยอง

352 นครราชสีมา

351 สมุทรสงคราม

350 ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยาและสระบุรี

349 ลพบุรี

348 นครนายก สุพรรณบุรี และหนองคาย

347 กระบี่ และตราด

345 กาญจนบุรี จันทบุรี เชียงราย ตาก นครพนม บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พังงา พิษณุโลก มุกดาหาร สกลนคร สงขลา สระแก้ว สุราษฎร์ธานี และอุบลราชธานี

344 ชุมพร เพชรบุรี และสุรินทร์

343 นครสวรรค์ ยโสธร และลำพูน

342 กาฬสินธุ์ นครศรีธรรมราช บึงกาฬ เพชรบูรณ์ และร้อยเอ็ด

341 ชัยนาท ชัยภูมิ พัทลุง สิงห์บุรี และอ่างทอง

340 กำแพงเพชร พิจิตร มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง เลย ศรีสะเกษ สตูล สุโขทัย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

338 ตรัง น่าน พะเยา และแพร่

330 นราธิวาส ปัตตานี และยะลา

อัตราค่าแรงขั้นต่ำ 2567

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT