ข่าวเศรษฐกิจ

สำรวจจุดร้อนทางภูมิรัฐศาสตร์โลก เขย่าเศรษฐกิจปี 2024

24 ม.ค. 67
สำรวจจุดร้อนทางภูมิรัฐศาสตร์โลก เขย่าเศรษฐกิจปี 2024
ไฮไลท์ Highlight
ตัวอย่างเช่นผลพวงของสงครามอิสราเอล ฮามาส  ที่ได้บานปลายไปสู่ทะเลแดงทำให้การค้าและห่วงโซ่อุปทานโลกเผชิญความเสี่ยงใหม่จากการโจมตีเรือขนส่งสินค้าในบริเวณทะเลแดงและรวมถึงปัญหาน้ำแล้งในคลองปานามา ก่อให้เกิดความแออัดในการขนส่งทางเรือหรือต้องปรับเส้นทางเดินเรือ ทำให้ระยะเวลาการเดินทางและต้นทุนขนส่งสูงขึ้น เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาสงครามหรือการสู้รบ มักทำให้สินค้ามีแนวโน้มจะสูงขึ้น จากราคาพลังงานที่ต้นทุนพุ่งขึ้น หรือแม้แต่การขาดแคลนชั่วขณะเพราะติดปัญหาการสู้รบ  ข้อมูลจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ระบุว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงและยังต้องเผชิญความไม่แน่นอนรอบด้าน โดยในปีนี้จะมีการเลือกตั้งใหญ่กว่า 60 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจรวมสูงกว่า 60% ของโลก และหลายการเลือกตั้งมีนัยต่อเศรษฐกิจโลกและประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะการแบ่งขั้วของจีนและสหรัฐฯ

สัปดาห์นี้มีการประเมินการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ที่ผ่านมาขยายตัวได้ราว 1.8% น้อยกว่าปี 2565 ที่โต 2.6% นั้นจึงทำให้ปี 2567 นี้ถูกคาดหวังว่า เศรษฐกิจไทยจะต้องดีขึ้นกว่าในปีก่อน แต่หากดูปัจจับรายล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศก็พบว่า เป็นสิ่งที่ท้าทายและไม่ง่ายอยู่เหมือนกัน  

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยที่ประเทศไทยอย่างเราควบคุมไม้ได้ นั่นคือความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ขณะนี้เกิดขึ้นพร้อมเพรียงกันหลายจุด ท่ามกลาง 2 สงครามคือ สงครามรัสเซีย ยูเครน และ สงครามอิสราเอล ฮามาส ที่ลากยาวต่อในปีนี้แน่นอน ซึ่ีงจะคู่ขนานไปกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจ ที่พร้อมจะเขย่าเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยปี 2567 

SPOTLIGHT รวมจุดร้อนในการเมืองโลกทั้งหมด 12 จุด ดังนี้ 

1.สงครามรัสเซีย ยูเครน 
2.สงครามอิสราเอล - ฮามาส  
3.ความไม่สงบบริเวณทะเลแดง - กระทบการขนส่งสินค้าโลกมีปัญหา เสี่ยงราคาพุ่ง
4.วิกฤติช่องแคบไต้หวัน  - จับตา จีน- ไต้หวัน 
5.สงครามอินโด-แปซิฟิก ได้แก่ จีน VS สหรัฐ  +ญี่ปุ่น ,+เกาหลีใต้+ไต้หวัน 
6.สงครามคาบสมุทรเกาหลี
7.สงครามในทะเลจีนใต้ 
8.สงครามตะวันออกกลาง
9.สงครามในแอฟริกา
10.สงครามชายแดนจีน-อินเดีย

ทั้ง 10 จุดไม่ว่าจะเกิดขึ้นในจุดใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่ส่งผลสะเทือนเศรษฐกิจทั้งสิ้นเพียงแต่จะมากน้อยต่างกันเท่านั้น และจากสถานการณ์ในปัจจุบันก็ประเมินได้ยากว่า จุดไหนกำลังจะปะทุรุนแรงขึ้นหรือไม่ 

ตัวอย่างเช่นผลพวงของสงครามอิสราเอล ฮามาส  ที่ได้บานปลายไปสู่ทะเลแดงทำให้การค้าและห่วงโซ่อุปทานโลกเผชิญความเสี่ยงใหม่จากการโจมตีเรือขนส่งสินค้าในบริเวณทะเลแดงและรวมถึงปัญหาน้ำแล้งในคลองปานามา ก่อให้เกิดความแออัดในการขนส่งทางเรือหรือต้องปรับเส้นทางเดินเรือ ทำให้ระยะเวลาการเดินทางและต้นทุนขนส่งสูงขึ้น เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาสงครามหรือการสู้รบ มักทำให้สินค้ามีแนวโน้มจะสูงขึ้น จากราคาพลังงานที่ต้นทุนพุ่งขึ้น หรือแม้แต่การขาดแคลนชั่วขณะเพราะติดปัญหาการสู้รบ 

การสู้รบในทะเลแดง

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ระบุว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงและยังต้องเผชิญความไม่แน่นอนรอบด้าน โดยในปีนี้จะมีการเลือกตั้งใหญ่กว่า 60 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจรวมสูงกว่า 60% ของโลก และหลายการเลือกตั้งมีนัยต่อเศรษฐกิจโลกและประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะการแบ่งขั้วของจีนและสหรัฐฯ

จับตาการเลือกตั้งปธน.สหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์จะได้กลับมาหรือไม่? 

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯจะเกิดขึ้นในเดือนพ.ย.2567 คาดว่าจะเป็นการแข่งขันระหว่าง Joe Biden และ Donald Trump หาก  Trump ชนะการเลือกตั้งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญได้แก่ 

  • นโยบายการค้าที่เข้มงวดมากขึ้น เช่น การเพิ่มภาษีนำเข้า
  • เปลี่ยนแปลงจุดยืนทางภูมิรัฐศาสตร์เ เช่น ยกเลิก/ลดความช่วยเหลือยูเครน, ถอนตัวออกจาก WTO และ NATO 
  • ขาดดุลงบประมาณมากขึ้น จากการขยายระยะเวลามาตรการลดภาษีเงินได้

การเลือกตั้งปธน.สหรัฐ รอบนี้จึงน่าจับตามองเป็นอย่างมาก โดยเศรษฐกิจสหรัฐใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก คืดเป็นสัดส่วน 25.8% ของจีดีพีโลก   ขณะเดียวกันยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง ดังนี้ 

จับตาการเลือกตั้งปธน.สหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์จะได้กลับมาหรือไม่?

สหภาพยุโรป (เศรษฐกิจคิดเป็น 17.6%ของจีดีพีโลก) 

การเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภายุโรป คาดว่าในเดือนมิถุนายน จะมีผลต่อการกำหนดนโยบายสำคัญของ EU โดยเฉพาะการปรับข้อกำหนดทางการคลัง การเคลื่อนย้ายแรงงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ยังมีการเลือกตั้งทั่วไปในหลายประเทศ เช่ โปรตุเกส และ ออสเตรีย 

แอฟริกาใต้ (เศรษฐกิจคิดเป็น 0.4 %ของจีดีพีโลก) 

การเลือกตั้งปธน. จะเกิดขึ้นระหว่างเดือน พ.ค.-ส.ค.2567 หนึ่่งในพรรคขนาดใหญ่ที่อาจได้ร่วมรัฐบาลซึ่งสนับสนุนนโยบายประชานิยมสุดโต่งในภาวะที่เศรษฐกิจแอฟริกาเผชิญปัญหาเศรษฐกิจและสังคมรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา 

สหราชอาณาจักร (เศรษฐกิจคิดเป็น 3.2%ของจีดีพีโลก) 

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี ช่วงครึ่งหลังของปี มีความเสี่ยงสูงที่จะไม่มีผู้ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงสูงมากพอที่จะทำให้การบริหารประเทศราบรื่น( ตั้งแต่ปี 2019 คนสหราชอาณาจักรเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีบ่อยถึง  4 ครั้ง )

อินเดีย (เศรษฐกิจคิดเป็น 3.6%ของจีดีพีโลก)  

การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี ช่วงระหว่างเดือน เมษายน - พฤษภาคม นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี มีฐานเสียงสนับสนุนสูง จึงคาดว่านโยบายสนับสนุนภาคการผลิต อุตสาหกรรม เทคโนโลยี และการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคจะยังคงดำเนินต่อไปได้โดยต้องจับตาความสัมพันธ์อินเดียกับสหรัฐฯและการวางตัวทางภูมิรัฐศาสตร์ 

อินโดนีเซีย (เศรษฐกิจคิดเป็น 1.4%ของจีดีพีโลก)  

การเลือกตั้งประธานาธิบดี ช่วงกุมภาพันธ์ จะมีนัยสำคัญต่อนโยบายเศรษฐกิจเช่น การย้ายเมืองหลวงจากจาร์การ์ต้า เป็น นูซันตารา ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนสูง รวมถึงมาตรการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ การพัฒนาอุตสาหกรรมปลายน้ำและนโยบายห้ามส่งออกแร่ที่ยังไม่แปรรูปบางชนิด 

ไต้หวัน (เศรษฐกิจคิดเป็น 0.7%ของจีดีพีโลก) 

การเลือกตั้งประธานาธิบดี 13 ม.ค.ที่ผ่านมา พรรค DPP ชนะการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกันและมีแนวโน้มคงความสัมพันธ์กับจีนตามนโยบายเดิม จึงคาดว่า ความตึงเครียดระหว่างไต้หวันและจีนยันคงอยู่ อย่างไรก็ดี  DPP อาจออกนโยบายของตัวเองได้ยากขึ้น เพราะเสียเก้าอี้ส่วนใหญ่ในสภานิติบัญญัติไป ขณะที่พรรค KMT (นโยบายเป็นมิตรกับจีนมากกว่า) ได้เก้าอี้มากสุด 

จุดร้อนการเมืองโลก

ภูมิรัฐศาสตร์โลกความเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทย 

สำหรับเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี 2567 แรงส่งหลักมาจากการบริโภคภาคเอกชนตามความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับดีขึ้น มาตรการลดค่าครองชีพและโครงการ Easy e-receipt กระตุ้นการใช้จ่ายทั้งนี้ผลบวกของโครงการนี้อาจไม่มากเท่าในอดีต เนื่องจากเงื่อนไขจำกัดเฉพาะร้านที่ออก e-Tax Invoice ได้ นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยยังมีแรงหนุนจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นต่อเนื่องและการส่งออกที่กลับมาขยายตัวได้สอดคล้องกับการผลิตบางอุตสาหกรรมที่เริ่มฟื้น เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ปัจจัยกดดันเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปมาจากการประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณฯ ปี 2567 ล่าช้ากดดันการลงทุนภาครัฐในช่วงครึ่งปีแรก 

สำหรับเงินเฟ้อไทย แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะติดลบต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีก่อน แต่ส่วนใหญ่เป็นผลจากมาตรการช่วยค่าครองชีพประชาชน โดย SCB EIC ประเมินว่า ประเทศไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด เงินเฟ้อติดลบยังไม่กระจายตัวรายสินค้าเป็นวงกว้าง และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังเป็นบวกมองไปข้างหน้าเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจากแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปทานเป็นหลัก กดดันปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยที่ยังอยู่ในระดับสูงและรายได้กลุ่มเปราะบางฟื้นช้า

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่าในปี 67 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเร่งตัวขึ้นไปที่ 2.8% (ช่วงคาดการณ์ 2.3-3.3%) จากทุกเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออกสินค้าและบริการกลับมาขยายตัวสูงที่ 4.2%  ส่วนภาคท่องเที่ยวคาดนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเดินทางเข้ามา33.5 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.5% โดยเฉพาะจีนและมาเลเซีย รายได้จากการท่องเที่ยวของต่างชาติ 1.48 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.6%

กระทรวงการคลัง แนะนำว่า ปัจจัยที่ควรติดตามเพราะจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด คือ 1.ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกที่อาจรุนแรงขึ้น อาจเป็นข้อจำกัดและส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยระยะถัดไป 2.สถานการณ์การเลือกตั้งผู้นำของประเทศคู่ค้าสำคัญอาจส่งผลต่อนโยบายระหว่างประเทศ 3. ความผันผวนของตลาดการเงินโลก จากนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหลัก และปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐและยุโรป และ 4. สถานการณ์เศรษฐกิจจีนอาจกระทบต่อการส่งออกและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวของไทย 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT