ข่าวเศรษฐกิจ

ชาวนาไทย 10 ปี จนเพิ่ม หนี้่ท่วม รัฐบาลใหม่เร่งแก้ปัญหาให้ตรงจุด 

27 ก.ค. 66
ชาวนาไทย 10 ปี จนเพิ่ม หนี้่ท่วม รัฐบาลใหม่เร่งแก้ปัญหาให้ตรงจุด 
ไฮไลท์ Highlight
“ชาวนาขาดทุนสะสมจากการทำนาต้องขายที่นา และเช่าที่นาตัวเองเพื่อทำการเกษตรต่อ นโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาไม่สามารถปลดหนี้ให้กับชาวนาได้ แหล่งน้ำไม่พร้อม และปัญหาโลกร้อน เงินวิจัยน้อย ไทยใส่เงิน 200 ล้านบาทในการวิจัย แต่เวียดนามใส่เงิน 3 พันล้านบาท นโยบายการแทรกแซงตลาด ทำลายศักยภาพการแข่งข้น ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาข้าวอย่างแท้จริง ข้าวไทยไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคสมัยใหม่ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหันไปรักสุขภาพมากขึ้น และข้าวหอม และนุ่ม โดยเอกลักษณ์ข้าวไทยลดน้อยถอยลง มีการปลอมปน และเร่งการผลิตบนที่ดินที่ขาดคุณภาพ”

บทวิเคราะห์ 10 ปี ชาวนาไทย : จนเพิ่ม หนี้ท่วม ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า 10 ปี หรือ 1 ทศวรรษที่่ผ่านมา ชาวนาไทยยังเผชิญกับสภาพความยากจน หนี้สินล้นพ้นตัว ผลผลิตต่อไร่สู้ประเทศอื่นในอาเซียนด้วยกันไม่ได้ ขณะที่นโยบายเกษตรที่ผ่านมาไม่ตอบโจทย์ชาวนาไทย เรียกร้องรัฐบาลใหม่แก้ปัญหาให้ตรงจุด

รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ออกมาเปิดเผยถึงบทวิเคราะห์ 10 ปี ชาวนาไทย : จนเพิ่ม หนี้ท่วม ว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ชาวนาไทยต้องเผชิญกับหลากหลายปัญหาและอุปสรรคทำให้ยังตกอยู่ในสภาพความยากจน โดยชาวนาไทยมีรายได้และเงินคงเหลือลดลง แต่ต้นทุนการผลิตกลับเพิ่มสูงขึ้น

10 ปีที่ผ่านมา รายได้ชาวนาไทยลดลง โดยปี 2555 อยู่ที่ 4,678 บาทต่อไร่ แต่ปี 2565 ชาวนาไทยมีรายได้ลดลง 777 บาท เหลือรายได้ 3,900 บาทต่อไร่  ขณะที่ฝั่งต้นทุน เช่น ค่าแรง ค่าปลูก ค่าดูแลรักษา ค่าพันธุ์ข้าว ค่าปุ๋ย ค่าเช่าที่ดิน ต่างๆอีกมากมาย ในปี 2555 ชาวนาไทยมีต้นทุน  3,839 บาทต่อไร่  ปี 2565 ต้นทุนพุ่งขึ้นอีก 2,058.8 บาท/ไร่ เพิ่มเป็น 5,898.5 บาท/ไร่ เท่ากับว่า ชาวนามีเงินขาดทุน 1,998.2 บาท/ไร่ ซึ่งจากบทวิเคราะห์พบว่า ชาวนาไทยจนที่สุดในอาเซียน 

ทั้งนี้หากเทียบกับประเทศส่งออกข้าวเบอร์ 1 ของโลกอย่างอินเดีย ปี 2555 มีรายได้จาก 9,298 บาท เพิ่มขึ้น 1,817 บาทต่อไร่ในปี 2565  มาอยู่ที่ 11,116 บาทต่อไร่ ส่วนต้นทุน  จาก 4,412 บาท เพิ่มขึ้น  2,581 บาทต่อไร่ 6,994 บาท, เมียนมา จาก 3,154 บาท เพิ่ม 1,420 บาทต่อไร่เป็น  4,574 บาท และเวียดนามต้นทุนเพิ่มต่ำสุด 1,027 บาทต่อไร่   จาก 4,070 บาท มาอยู่ที่ 5,098 บาทต่อไร่ 

นอกจากนี้ผลผลิตข้าวไทยต่อไร่ของชาวนาไทยลดต่ำลง ต่ำกว่าเวียดนามถึง 3 เท่า โดยผลิผลิตต่อไรชาวนาไทยเฉลี่ย 450 กก.ต่อไร่ อินเดีย  1,107 กก.ต่อไร่ เวียดนาม 978 กก.ต่อไร่ และเมียนมา 664 กก.ต่อไร่ 

10 ปี ชาวนาไทย : จนเพิ่ม หนี้ท่วม

สรุป 10 ปี ข้าวไทย 10 ปี จุดอับ : บทเรียนที่สิ้นหวัง

1.ผลผลิตข้าวต่อไร่ของไทยต่ำ ไทยต่ำกว่าเวียดนาม 3 เท่า (ไทยเฉลี่ย 450 กก.ต่อไร่ เวียดนามมากกว่า 1,000 กก. หรือมากกว่า 1 ตันต่อไร่)

2.ชาวนาไทยมีอาชีพทำนา แต่ส่วนใหญ่ไม่ใช่ชาวนามืออาชีพ ขณะที่เวียดนามคือชาวนาอาชีพ จากชาวนาไทยส่วนใหญ่คิดแค่ 2 เรื่องคือ ราคากับผลผลิต ไม่ค่อยคิดเรื่องการปรับลดต้นทุน แต่ชาวนาเวียดนามคิดในเรื่อง “3 ลด 3 เพิ่ม”

3.ปลดหนี้โดยขายที่นา ชาวนาขาดทุนสะสมจากการทำนาต้องขายที่นา และเช่าที่นาตัวเองเพื่อทำการเกษตรต่อ นโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาไม่สามารถปลดหนี้ให้กับชาวนาได้

4.แหล่งน้ำไม่พร้อม และปัญหาโลกร้อน เวียดนามทำนาได้ 3 ครั้งต่อปี ไทยทำได้ 1-2 ครั้ง

5.เงินวิจัยน้อย ไทยใส่เงิน 200 ล้านบาทในการวิจัย แต่เวียดนามใส่เงิน 3 พันล้านบาท ส่วนอินเดีย จีน และญี่ปุ่นใส่เงินวิจัยข้าวมากกว่า 1 พันล้านเหรียญต่อปี

6.นโยบายการแทรกแซงตลาด ทำลายศักยภาพการแข่งข้น ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาข้าวอย่างแท้จริง

7.ยิ่งทำนา หนี้ยิ่งเพิ่ม ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ผลผลิตต่อไร่ลดลง ราคาขายลดลง

8.ข้าวไทยไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคสมัยใหม่ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหันไปรักสุขภาพมากขึ้นและข้าวหอม และนุ่ม

9.เอกลักษณ์ข้าวไทยลดน้อยถอยลง (ความหอม ความนุ่ม) มีการปลอมปน และเร่งการผลิตบนที่ดินที่ขาดคุณภาพ

10.การควบคุมการกระจายพันธุ์ข้าว การกระจายพันธุ์ข้าวเพื่อควบคุมคุณภาพข้าวเวียดนามทำได้ดีกว่าไทย

“ชาวนาขาดทุนสะสมจากการทำนาต้องขายที่นา และเช่าที่นาตัวเองเพื่อทำการเกษตรต่อ นโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาไม่สามารถปลดหนี้ให้กับชาวนาได้ แหล่งน้ำไม่พร้อม และปัญหาโลกร้อน เงินวิจัยน้อย ไทยใส่เงิน 200 ล้านบาทในการวิจัย แต่เวียดนามใส่เงิน 3 พันล้านบาท นโยบายการแทรกแซงตลาด ทำลายศักยภาพการแข่งข้น ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาข้าวอย่างแท้จริง ข้าวไทยไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคสมัยใหม่ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหันไปรักสุขภาพมากขึ้น และข้าวหอม และนุ่ม โดยเอกลักษณ์ข้าวไทยลดน้อยถอยลง มีการปลอมปน และเร่งการผลิตบนที่ดินที่ขาดคุณภาพ”

10 ปี ชาวนาไทย : จนเพิ่ม หนี้ท่วม

ข้อเสนอแนะ ช่วยลดต้นทุนให้ชาวนาไทย 

ทั้งนี้ ม.หอการค้าไทย เสนอแนะทางออกในการดูแลชาวนาหรืออุตสาหกรรมข้าวไทย นโยบายแทรกแซง ทั้งโครงการจำนำข้าว โครงการประกันรายได้ ยังไม่ใช่ทางออกในการช่วยเหลือ เพราะเห็นจากหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา เงินในกระเป๋าของชาวนาไทยไม่เหลือ แต่ตรงกันข้ามทำให้ชาวนามีรายได้ลดลงต่อเนื่อง และติดลบ จึงต้องการให้รัฐบาลใหม่ต้องเข้ามาแก้ปัญหาชาวนาให้ตรงจุด และติดตามประเทศคู่แข่งว่ามีการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวและทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มได้อย่างไร

การช่วยลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้มีรายได้เหลือไปชำระหนี้ การมีวินัยการก่อหนี้ของชาวนาก็ควรจะมีการปรับเปลี่ยนเพราะหลายประเทศไม่ได้นิยม การก่อหนี้ แต่พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยในสังคมปัจจุบันทำให้วิถีชาวนาเปลี่ยนไปเช่นกัน 

“เราไม่สามารถมองข้ามคู่แข่งในต่างประเทศได้ ศักยภาพการผลิตของไทยกับคู่แข่งเราต้องศึกษา ไม่ใช่อาศัยการเข้าไปแทรกแซงสินค้าเกษตร โดยการนำเงินไปอุดหนุน อาจจะไม่ได้ส่งเสริม เราควรไปช่วยยกระดับให้กับเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุน จะเป็นการส่งเสริมเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับชาวนาได้”

นอกจากนี้ ปัญหาแหล่งน้ำยังเป็นสิ่งที่รัฐบาลต้องเข้าไปแก้ไขนอกจากช่วยในอุตสาหกรรมข้าว ชาวนา ยังสามารถช่วยสินค้าเกษตรอื่น ๆ ได้ แม้มองว่าแหล่งน้ำจะมีส่วนสำคัญจากนี้เป็นต้นไป ดังนั้น การเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับชุมชน หมู่บ้าน อำเภอ ในการขุดบ่อกักเก็บน้ำจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องคิดต่อไป

VDO ราคาข้าวปี 2566 ปรับตัวดีขึ้น 

advertisement

SPOTLIGHT