ทลายโกดังทุนจีนปลอมเครื่องสำอางแบรนด์ดังมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท

29 ม.ค. 67

ตำรวจสอบสวนกลาง และ อย.ทลายโกดังทุนจีนปลอมเครื่องสำอางแบรนด์ดังและเครื่องสำอางเถื่อน มูลค่ากว่า 3 ล้านบาท

วันที่ 29 มกราคม 2567 ตำรวจสอบสวนกลาง คณะกรรมการอาหารและยา โดย นพ.ณรงค์ อภิกุลณิช เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ ภก.วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมแถลงผลการปฏิบัติกรณี ทลายโกดังทุนจีนขายเครื่องสำอางปลอม และเครื่องสำอางเถื่อน โดยลวงขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ตรวจยึดของกลาง 36 รายการ จำนวนกว่า 14,000 ชิ้น

สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับเรื่องร้องเรียนจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ "ครีมทารักแร้ ยี่ห้อ" ELA RAE " ให้ทำการตรวจสอบกรจำหน่ายครื่องสำอางปลอมผ่านแพลตฟอร์ม Tiktok เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากลูกค้าที่ซื้อกับทางร้านว่าเนื้อครีมมีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิม เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการตรวจสอบร้านค้าออนไลน์ดังกล่าวพบว่า ผลิตภัณฑ์ครีมทารักแร้ ELA RAE ที่จำหน่ายเป็นสินค้าปลอมจริง โดยมีจุดสังเกตหลายจุด เช่น เนื้อครีมมีลักษณะข้น เหนียว สีคล้ำกว่าของแท้ ฉลากพิมพ์ข้อความภาษาไทยไม่ถูกต้อง เช่น เนียนบุ๋ม กลี่น สะอาต เป็นต้น และยังพบว่าร้านค้าดังกล่าวมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอื่นๆ ที่ราคาถูกกว่าท้องตลาดอีกหลายรายการ จึงทำการสืบสวนจนทราบถึงสถานที่จัดเก็บสินค้าและกระจายสินค้าดังกล่าว

ต่อมาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2567 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกันนำหมายคันของศาลอาญามีนบุรี เข้าทำการตรวจคันโกดังซึ่งเป็นสถานที่จัดเก็บและกระจายสินค้าที่ผิดกฎหมาย ในพื้นที่ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยขณะตรวจค้นมี น.ส.ชไมพร (สงวนนามสกุล) แสดงตัวเป็นผู้ดูแลโกดังดังกล่าว ตรวจยีดของกลางรวม 36 รายการ รวม 14,720 ชิ้น มูลค่ากว่า 3,600,000 บาท โดยเป็นเครื่องสำอางปลอม และเครื่องสำอางต้องสงสัยว่าปลอม จำนวน 16 รายการ และเป็นเครื่องสำอางไม่มีเลขที่ใบรับจดแจ้งและเครื่องสำอางไม่แสดงฉลากภาษาไทย จำนวน 20 รายการ

จากการสืบสวนเพิ่มเติมพบว่า โกดังเก็บสินค้าดังกล่าว มีการบริหารจัดการในลักษณะ "เก็บ แพ็คส่ง" หรือ Fulfllment โดย น.ส.ชไมพรฯ พนักงาน แจ้งว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นของ Mr. Shanke (สงวนนามสกุล) นายทุนสัญชาติจีน ซึ่งจะเป็นผู้สั่งสินค้าเครื่องสำอางที่เป็นกระแส และกำลังเป็นที่นิยมในสื่อออนไลน์มาจากประเทศจีน จากนั้นจะนำมาฝากไว้ที่โกดังเก็บสินค้าย่านลาดกระบังเพื่อรอแพ็คส่งให้ลูกค้าชาวไทย

โดยกลุ่มนายทุนชาวจีนดังกล่าวจะเปีดร้านค้าบนแพลตฟอร์มอนไลน์เพื่อใช้โฆษณาสินค้า เป็นจำนวนมาก รวม 9 ร้าน เพื่อกระจายการโฆษณาหากถูกปิดกั้นเพจ จากนั้นจะส่งออเดอร์-ที่อยู่การจัดส่ง ให้น.ส.ชไมพรฯ ทำการแพ็คบรรจุ และส่งให้กับลูกค้าชาวไทย โดยจะได้ค่าส่งชิ้นละประมาณ 10 บาท และทำมาแล้วประมาณ 2 ปี โดยมียอดการส่งสินค้าสูงถึง 5,000 - 10,000 ชิ้น / วัน

ในส่วนผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยว่าปลอมอื่นๆ อยู่ระหว่างติดต่อให้ บริษัท เจ้าของผลิตภัณฑ์ตรวจสอบและยืนยันเพิ่มเติม และในส่วนตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ตรวจยึด พนักงานสอบสวนจะส่งตรวจพิสูจน์กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หากผลการตรวจวิเคราะห์พบวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง จะเป็นความผิดเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง 2558 ฐาน "ขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้" ระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558

  1. ฐาน "ขายเครื่องสำอางปลอม" ระวางโทษจำคุก 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้ง

จำทั้งปรับ

  1. ฐาน "ขายเครื่องสำอางที่ไม่ได้จดแจ้ง" ระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  2. ฐาน "ขายเครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย" ระวางจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน

10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  1. หากผลการตรวจวิเคราะห์พบวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง จะเป็นความผิด

เพิ่มเติมตาม พร.บ.เครื่องสำอาง 2558 ฐาน "ขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้" ระวางโทษจำคุกไม่เกิน

3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส