สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ กับตำนานโปรดเสวยปลาตะเพียน จนรับสั่งห้ามราษฎรจับ

20 ต.ค. 66

เปิดตำนานโบราณ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ทรงรับสั่งห้ามราษฎรจับรือรับประทานปลาตะเพียน

มีเรื่องเล่าว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 โปรดเสวยปลาตะเพียนมาก โดยออกพระราชกำหนดห้ามราษฎรจับหรือรับประทานปลาตะเพียน หากผู้ใดฝ่าฝืน มีบทลงโทษคือปรับเป็นเงิน 5 ตำลึง หรือ 20 บาท จนมีคนไปตีความว่าพระองค์ทรงจะเก็บไว้เสวยแต่เพียงผู้เดียว

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางรายได้ระบุว่า เรื่องนี้อาจจะเป็นเฟคนิวส์ของสมัยอยุธยา เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ โปรดเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์ซึ่งอยู่ในสระน้ำท้ายวังเป็นประจำ เพื่อพักผ่อนพระอิริยาบท และชื่นชมกับปลาแปลกๆ และสวยงาม เช่น ปลาหน้าคน ปลาตะเพียนทอง ฯลฯ

gal-157363-20231018090807-bd8_1

การที่พระองค์ทรงออกพระราชกำหนดห้ามจับปลาตะเพียนทอง คาดว่าทรงมีพระราชดำริที่จะอนุรักษ์ปลาสวยงามนี้ไว้ และทุกวันนี้ยังคงมีคนเลี้ยงปลาตะเพียนทองเป็นปลาสวยงามอยู่ในตู้ปลาอยู่เลย คนสมัยโบราณอาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องการอนุรักษ์จึงคิดว่าท่านทรงหวงจะเสวยไว้เอง ซึ่งเมื่อพูดต่อๆ กันไปก็กลายเป็นเรื่องที่ดูสนุก น่าสนใจกว่าการที่จะบอกว่าห้ามจับเพราะอยากอนุรักษ์นั่นเอง

1697703916329

สำหรับ ปลาตะเพียนทอง มีลําตัวเป็นสีเงินหรือเหลืองทอง ครีบทองเป็นสีเหลืองส้มสลับแดง หางเป็นสีเหลือง ขอบหางเป็นสีแดงส้ม ครีบหลังแดงหรือส้ม ปลายครีบสีดํามีขอบวาว มีความว่องไว และปราดเปรียวเหมือนปลาตะเพียนขาว อยู่รวมกันเป็นฝูงหากินและ ว่ายวนเวียนอยู่ตามผิวน้ำ และมีชุกชุมมากในภาคกลาง

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม