ประวัติ ท้าวทองกีบม้า ราชินีขนมไทย จากสตรีชั้นสูง สู่จุดต่ำสุดในชีวิต แล้วกลับมาจบสวย

19 ต.ค. 66

ประวัติ ท้าวทองกีบม้า ราชินีขนมไทย จากสตรีชั้นสูง สู่จุดต่ำสุดในชีวิต แล้วกลับมาจบสวย รุ่งโรจน์อีกครั้งยามบั้นปลาย

ถ้าเอ่ยถึงขนมไทยตระกูลทอง เชื่อว่าหลายคนคงต้องนึกถึงชื่อของ "ท้าวทองกีบม้า" ผู้ที่ได้รับสมญาว่า "ราชินีขนมไทย" โดยขนมที่เชื่อว่าเธอเป็นต้นคิดทำขึ้น ได้แก่ ทองม้วน, ทองหยิบ, ทองหยอด, ทองพลุ, ทองโปร่ง, ฝอยทอง, กะหรี่ปั๊บ, ขนมหม้อแกง, สังขยา, ขนมผิง, สัมปันนี, ขนมขิง, ขนมไข่เต่า, ลูกชุบ

กำเนิดท้าวทองกีบม้า

“ท้าวทองกีบม้า” หรือ มารีอา กูโยมาร์ เด ปิญญา แต่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ แต่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ มารี กีมาร์ หรือ มารี ตองกีมาร์ เป็นคริสตังเชื้อสายโปรตุเกส, เบงกอล และญี่ปุ่น เป็นธิดาคนโตของฟานิก กูโยมาร์ (Fanik Guyomar) บิดามีเชื้อสายโปรตุเกส, ญี่ปุ่น และเบงกอล ที่อพยพมาจากอาณานิคมโปรตุเกสในเมืองกัว กับมารดาชื่ออูร์ซูลา ยะมะดะ ลูกหลานผู้ลี้ภัยจากการเบียดเบียนศาสนาในญี่ปุ่น

เธอเป็นภรรยาของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ขุนนางชาวกรีกอันเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีบุตรด้วยกันสองคนคือ จอร์จ ฟอลคอน และ คอนสแตนติน ฟอลคอน (บางตำราว่าชื่อ ควน ฟอลคอน) ว่ากันว่านางดัดแปลงตำรับอาหารโปรตุเกสให้เป็นขนมหวานของไทย จนตำรับเป็นที่เผยแพร่โดยทั่วไปและตกทอดสู่คนรุ่นหลังจนถึงปัจจุบัน

29092563_364854753923549_5181

จากสตรีสูงศักดิ์สู่จุดตกต่ำที่สุดในชีวิต

ชีวิตของ ท้าวทองกีบม้า ต้องตกระกำลำบากหลังสิ้นสุดแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเริ่มต้นรัชกาลพระเพทราชา เจ้าพระยาวิชเยนทร์ผู้เป็นสามี ถูกตัดสินประหารชีวิตและริบราชบาตร

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (หลวงสรศักดิ์ หรือ พระเจ้าเสือ) พระราชโอรสในสมเด็จพระเพทราชา พระเจ้าแผ่นดินใหม่ หลงใหลพึงใจในรูปโฉมของนาง และมีพระประสงค์ที่จะนำนางไปเป็นบาทบริจาริกา มีการส่งคนมาเกลี้ยกล่อมพร้อมคำมั่นนานัปการ หวังเอาชนะใจนาง เมื่อไม่สมดั่งใจประสงค์ก็แปรเป็นความเกลียดและขู่อาฆาต

393827885_877626167054513_531

มารี กีมาร์ สิ้นเนื้อประดาตัว ทนทุกข์แสนสาหัส และถูกคุมขังในโรงม้าอันคลุ้งไปด้วยกลิ่นเหม็นและสิ่งปฏิกูลต่างๆ ไม่มีข้าวของติดตัวไปเลย มีแต่ฟากสำหรับนอนเท่านั้น

นางพยายามหาทุกวิถีทางที่จะติดต่อกับชาวฝรั่งเศส เพื่อขอออกไปจากแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา นางได้เขียนจดหมายเป็นภาษาละตินเข้ากราบทูลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บังคับให้บรรษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสคืนเงินค่าหุ้นของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นสามีที่ได้ลงทุนไว้ให้คืนให้กับตัวนาง ซึ่งหลักฐานนี้ถูกบันทึกไว้ในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1706 (พ.ศ. 2249) ซึ่งเป็นแผ่นในรัชสมัยของพระเจ้าเสือ

ชีวิตบั้นปลายที่กลับมารุ่งโรจน์อีกครั้ง

บันทึกของเมอซีเยอโชมง ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาในปี พ.ศ. 2262-2267 ให้ข้อมูลว่าหลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าเสือ ชีวิตของมาดามฟอลคอนได้กลับมาดีขึ้นโดยลำดับ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดเกล้าให้มาดามฟอลคอนเข้ามารับราชการฝ่ายใน โดยไว้วางพระราชหฤทัยให้นางดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง และเป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และมีสตรีในบังคับบัญชากว่า 2,000 คน

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดปราน "จอร์จ ฟอลคอน" บุตรคนโตของนางมาก ทรงรับสั่งให้นายจอร์จเรียนภาษาไทยเสียให้รู้ และทรงเป็นครูด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ยังโปรดให้เอานายจอร์จได้รับใช้ใกล้ชิดพระองค์อีกด้วย

f8urf0saiaaf6pe

ส่วนบุตรคนเล็กคือ คอนสแตนติน ได้สนองพระเดชพระคุณสร้างออร์แกนเยอรมันถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จากหลักฐานของมิชชันนารีฝรั่งเศส คอนสแตนตินถูกเรียกว่า ราชมนตรี เป็นตำแหน่งผู้นำของชุมชนคริสตัง

ในปี พ.ศ. 2260 รัฐบาลฝรั่งเศสได้มีมติอนุมัติให้ส่งเงินรายได้ที่เป็นของฟอลคอนแก่นางตามที่นางขอร้องในจดหมายที่เคยส่งไปมาให้ หลังพ้นจากวิบากกรรมอันเลวร้าย ท้าวทองกีบม้าได้ใช้เวลาแห่งบั้นปลายชีวิตที่เหลือด้วยการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด โดยพำนักอยู่กับลูกสะใภ้ที่ชื่อ ลุยซา ปัสซัญญา ภริยาม่ายของคอนสแตนติน และได้ถึงแก่มรณกรรมในปี พ.ศ. 2265

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม