ชวนเสพงานศิลป์ Bangkok Art Biennale 2022 พิกัด 12 แห่ง ทั่ว กทม.

16 พ.ย. 65

ชวนเสพงานศิลป์ 200 ชิ้น จากจุดแสดง 12 พิกัดทั่วกรุงฯ ภายใต้แนวคิด โกลาหล : สงบสุข ในงาน Bangkok Art Biennale 2022

Bangkok art biennale  2022  “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022” หรือ เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ที่จะจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี  โดยงาน Bangkok art biennale  2022 ครั้งนี้ ได้นำศิลปะร่วมสมัย 200 ชิ้น จากศิลปิน 73 คน มาจัดแสดงตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร 12 แห่ง ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร, วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร, วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์, มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้, ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์, สามย่านมิตรทาวน์, เดอะ ปาร์ค, เดอะพรีลูด วันแบงค็อก, JWD Art Space และในพื้นที่เสมือนจริง BAB Virtual Venue  ภายใต้คอนเซ็ปท์ Chaos : Calm โกลาหล กับ ความสงบ  “Bangkok Art Biennale  2022”   ที่ยังคงให้ความสำคัญกับคุณค่างานศิลป์ ในการช่วยปลอบประโลมโลกและผู้คน

โดยมีแรงบันดาลใจมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปี 2019-2021 ที่มวลมนุษยชาติต้องเผชิญกับวิกฤตความโกลาหลครั้งยิ่งใหญ่ไปทั่วโลก จาก โควิด-19  ทั้งผลกระทบทางด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์และการแพทย์ ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน 

แม้แต่วงการศิลปะเองก็อยู่ในจุดที่ต้องรับกับสถานการณ์นี้เช่นกัน พื้นที่จัดแสดงหลายแห่งต้องปิดให้บริการชั่วคราว บางแห่งถึงขั้นต้องปิดตัวไปเลย เพราะทนสู้พิษของเศรษฐกิจไม่ไหว แต่ในความโกลาหลนี้ ยังเต็มไปด้วยความหวังว่างานศิลปะเหล่านี้ จะช่วยเยียวยาจิตใจให้ทุกคนที่ได้ชมมีความหวังต่อไป

ใครที่อยากจะพักใจจากปัญหาความวุ่นวายต่างๆ ขอเชิญไปร่วมเสพความสุขจากงานศิลป์กันได้ โดยงาน “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022” จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2565 โดยงานจะมีไปจนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 นี้

 

Wall of Change

Wall of Change

ผลงานของ Tatsuo Miyajima

ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก  วัฏจักรแห่งชีวิตและความตาย โดยแสดงผ่านตัวเลข 1-9 คือการเริ่มต้นและเดินทางของชีวิตโดยไม่มีการลำดับใดๆ และเมื่อตัวเลขเป็น  0 ภูมิทัศน์ข้างนอกจะมองไม่เห็น เหลือเพียงกำแพง ที่สื่อถึงความตาย กำแพงที่ควบคุมไม่ได้นี้ชื่อ "Wall of Change" แสดงความยำเกรงทุกชีวิตที่ก้าวเข้ามาหาเราอย่างเงียบๆ

สถานที่จัดแสดง : มิวเซียมสยาม

 

 

Untitled (สองนาทีถึงเที่ยงคืน)

Untitled (สองนาทีถึงเที่ยงคืน)
ผลงานของ
Jitish Kallat  

ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก มนุษย์ยุคหินเกี่ยวกับนาฬิกาวันสิ้นโลก โดยอ้างอิงถึงขวานยุคหินและเครื่องมือหิน ซึ่งเป็นความพยายามครั้งแรกของมนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงและปรับดาวเคราะห์ให้เหมาะสม สลักบนประติมากรรมเป็นกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมาก มีตาปลาและนก ที่ทำให้เราจ้องมองอย่างประหลาด อุทาหรณ์ของหายนะที่กำลังจะเกิดขึ้น สะท้อนรูปทรงของ "นาฬิกาวันสิ้นโลก"

สถานที่จัดแสดง : มิวเซียมสยาม

 

 

Pattern of Resilience

Pattern of Resilience
ผลงานของ
Tazeen Qayyum’s

ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก แมลงสาบ กับ โรคระบาด “ทาซีน” ใช้ลวดลายของแมลงสาบสีแดงที่พากันไต่กำแพง เดินตามพื้นของมิวเซียมสยาม ตลอดจนอยู่ในผลงานวิดิโอ เพื่อสื่อถึงโรคระบาดและความวุ่นวายโกลาหล อีกทั้งแมลงสาบยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่มาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เนื่องจากเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยืดหยุ่นสูง และปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ง่าย งานศิลปะชิ้นนี้ จึงเป็นการสื่อถึงการให้ความหวังแก่ผู้คน

สถานที่จัดแสดง : มิวเซียมสยาม

 

 

เรือหางยาว

เรือหางยาว "หัวโกง"
ผลงานของ
Tom Sachs

ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก  เรือหางยาวหัวโกง แบบดั้งเดิมของไทย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของทางภาคใต้ของประเทศไทย กลายมาเป็นพาหนะที่เข้าร่วมโครงการสำรวจ อวกาศขอแซคส์ที่กำลังดำเนินอยู่ ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างเข้มข้นของแซคส์ ทอม แซคส์สตูดิโอ ช่างต่อเรือที่กระบี่ และโรงเก็บเรือธุรกิจครอบครัวที่วัดบวรมงคล เรือหางยาวของชาวประมงก็ได้มีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง พร้อมออกเดินทาง ครั้งใหม่ผ่านกาลเวลา และสถานที่ ตามประเพณีการต่อเรือของไทย และพิธีกรรมต่างๆ ที่มาประกอบงานฝีมือที่คงอยู่ยาวนานนี้ พาหนะไฮบริด ซึ่งเป็นบทสนทนาระหว่างแซคส์กับบรรดาช่างต่อเรือก็ถูกสร้างขึ้น จากความรักท้องทะเลของทั้งสองฝ่าย และมีชีวิตขึ้นมา

สถานที่จัดแสดง : มิวเซียมสยาม

 

 

Montien Boonma

Melting Void: Molds for the Mind

ผลงานของ Montien Boonma

ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก  พระปฏิมาเป็นที่พำนักแห่งจิตใจของมวลมนุษย์  เศียรพระพุทธรูปอะลูมิเนียมขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงาน (พ.ศ. 2542) ซึ่งศิลปินสร้างสรรค์ขึ้นในช่วงสุดท้ายของชีวิต จัดวางอยู่ในวิหารแห่งหนึ่งที่วัดโพธิ์ ผู้ชมงานสามารถข้าไปใต้เศียรพระพุทรรูป ซึ่งเต็มไปด้วยสมุนไพร ที่เป็นยาและสามารถมองเห็นแสงที่ลอดผ่านรูเล็ก ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับดวงดาวทางโหราศาสตร์ มณเฑียรเขียนไว้ว่า "ข้าพเจ้าปรารถนาให้ที่ว่างภายในองค์พระปฏิมาเป็นที่พำนักแห่งจิตใจ สติของผู้คนที่ปรารถนาให้สภาวะของจิตนั้น เข้าสู่มิติของความสงบผ่อนคลาย" งานพระพุทธรูปของมณเทียรตั้งอยู่ตรงข้ามพระพุกปาลิไลยอันศักดิ์สิทธิ์ มีรูปปั้นบริวารช้างและสิงอยู่ข้างๆหล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ข้างๆ แท่นบูชามีสัญลักษณ์ของพระราหูเทพในศาสนาฮินดู ผู้สร้างปรากฎการณ์คราส วางอยู่ให้ผู้เคารพเสื่อมใส ที่เกิดวันพุธตอนกลางคืน ราศีทางโหราศาสตร์ของมณเฑียร ก็บังเอิญตรงกับวันพุธตอนกลางคืน

สถานที่จัดแสดง : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)

 

 

 Arokhayasala

Arokhayasala

ผลงานของ Montien Boonma

ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก อโรคยาศาลา สถานที่บำบัดและรักษาโรคของผู้คนจากอารยธธรรมขอมโบราณ ศิลปินใช้การเรียงชั้นหินลดหลั่นกันขึ้นไป และมีสมุนไพรอยู่ภายใน โดยตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อโรคยาศาลา คือศาลาของการบำบัดรักษาโรค

สถานที่จัดแสดง : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)

 

 

 Connect

 Connect

 

contain

Contain

Connect & Contain

ผลงานของ Antony Gormley

ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ความเชื่อมโยงในที่ว่างเปล่า และร่างกายกับสิ่งเร้า ซึ่งศิลปินผู้สร้างสรรค์งาน มองว่างาน 2 ชิ้นนี้ เป็นเครื่องมือนำพาไปสู่ความมีสติ ซึ่งแสดงให้เห็นการที่เขาสนใจพุทธศาสนา และศาสนาเชนอย่างลึกซึ้ง ที่วัดโพธิ์ งานประติมากรรมสองชิ้นของศิลปินอยูในเขตวัดของตัวเอง งาน Connect (พ.ศ. 2565) แสดงร่างกายที่ป็นเขตของความเชื่อมโยงกับที่ว่างและแสงสว่าง และงาน Contain (พ.ศ. 2566) แสดงร่างกายที่เป็นบริบททางวัตถุของการรับรู้อารมณ์   ทั้งสองงานแสดงพื้นที่ของประสบการณ์มนุษย์ และความสัมพันธ์ที่เรามีต่อที่ว่าง มวลและพลังงานพุทธธรรม เรื่องอนิจจังสะท้อนออกมาในการที่งานทั้งสอง ตั้งอยู่ในวัดแบบจีน-สยาม ซึ่งมีพระพุทธรูปแสดงมุทราต่างๆ อยู่หลายแถว

สถานที่จัดแสดง : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)

 

 

Borneo Heart

Borneo Heart
ผลงานของ
Yee I-Lann
ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก
ความเป็นสังคมมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่วัดประยูรฯ ภาพวิดีโอ Pangkis การเต้นรำของนักรบในรูปแบบร่วมสมัย ที่ฉายผ่านจอขนาดใหญ่ ขนาบข้างด้วยเสื่อคำคาราโอเกะ ที่แขวนอยู่ภายใน ถ่ายทอดเนื้อเพลงดังทั้งไทยและอังกฤษ ผลงานนีมีชื่อ “Borneo Heart”ผลงานของ Yee I-Lann สื่อถึงการเชิญชวนให้ผู้คนที่ต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนาเข้ามาอยู่ด้วยกัน เนื่องจากรอบบริเวณวัดประยูรฯ มีความเป็นพหุวัฒธรรม จึงเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานนี้

สถานที่จัดแสดง : วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 

 

Leave Here Your Fears

Leave Here Your Fears

ผลงานของ Alicia Framis

ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก สถานที่แห่งความปรารถนา ความหวัง และความเชื่อ Leave Here Your Fearsเป็นประติมากรรมเชิงโต้ตอบ ตั้งอยู่ในสวนของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร Leave Here Your Fears เป็นทั้งส่วนแทรกแซงและในขณะเดียวกันก็เสริมสร้างความศักดิ์สิทธิ์ของวัด ประติมากรรมรูปทรงพีระมิด ที่ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม เชิญชวนให้ผู้เข้าชมเขียนความกลัวลงบนกระดาษ แล้วฝากไว้ในประติมากรรม ซึ่งเป็นท่าทางที่แสดงถึงความเป็นกวีและมีอยู่จริง งานศิลปะคำนึงถึงประวัติศาสตร์ของวัด ในฐานะสถานที่ของจาริกแสวงบุญ และต่อยอดจากแนวคิดที่ว่าวัดเป็นสถานที่ผ่านที่ดึงดูดนักเดินทางจากทั่วโลก ที่ต้องการเชื่อ ปรารถนา ไว้วางใจ ให้และรับ ที่นั่นในแนวคิดของวัดประยุรฯ เป็นสถานที่แห่งความปรารถนา

สถานที่จัดแสดง : วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 

 

 Mortalverse AR

Mortalverse AR

ผลงานของ  เถกิง พัฒโนภาษ

ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ละอองธุลีในอนันตจักรวาล โดยเถกิง พัฒโนภาษ ได้จัดแสดงผลงาน Mortalverse AR อสัญจักรวาล  ณ พระบรมธาตุมหาเจดีย์ วัดประยุรฯ เป็นประติมากรรมสามารถเล่น AR (Augmented Reality) ผ่านแอปพลิเคชัน อินสตาแกรม ผู้ชมผลงานจะได้สัมผัสกับเสียง ดนตรี ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความตาย และการใช้ชีวิตของศิลปินพร้อมเชื่อมโยงกลับไปถึงแนวคิดหลักที่ว่าเราทั้งมวล ล้วนเป็นละอองธุลีในอนันตจักรวาล มีทั้งหมด 5 ชิ้น เพียงแค่ใช้แอปพลิเคชัน อินสตาแกรมสแกน คิวอาร์โคทเพื่อชมผลงาน

สถานที่จัดแสดง : วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 

โดยงาน “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2022” จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2565 โดยงานจะมีไปจนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 นี้

 

 

advertisement

ข่าวยอดนิยม