ความยั่งยืน

GREEN FINANCE ของกสิกรไทย เป็นมากกว่าแบงค์ ที่ให้มากกว่าสินเชื่อ มีส่วนร่วมพาสังคมไทยสู่ 'ความยั่งยืน'

1 ต.ค. 65
GREEN FINANCE ของกสิกรไทย เป็นมากกว่าแบงค์ ที่ให้มากกว่าสินเชื่อ  มีส่วนร่วมพาสังคมไทยสู่ 'ความยั่งยืน'

'เคแบงก์' ถือเป็นสถาบันการเงินชั้นนำของไทยที่มีนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจนในด้านของการทำธุรกิจแบบยั่งยืน โดยจะเห็นได้จากผลิตภัณฑ์ทางการเงินหลายๆ ตัวที่ออกมาในรูปแบบของ Green Finance ช่วยสนับสนุนบริษัทหรือโครงการลงทุนใน 'ธุรกิจสีเขียว' รวมถึงยังต่อยอดเป็นนวัตกรรมทางการเงิน เป็นหนึ่งจิ๊กซอว์สำคัญที่จะตอบโจทย์เป้าหมายที่ KBANK ตั้งจะเป็น Net Zero ในปี 2573

'กฤษณ์ จิตต์แจ้ง' กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าว 'SPOTLIGHT' ว่า Green Finance หรือการเงินสีเขียวเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจของ 'เคแบงก์' เป็นบริบทส่วนหนึ่งของการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ที่นำไปสู่เป้าหมายในด้านความยั่งยืน หรือ Sustainable เพราะ Green Finance เป็นการให้บริการสินเชื่อหรือออกหุ้นกู้

รวมถึงการออกตราสารทางการเงินต่างๆ เพื่อใช้เป็นแหล่งเงินลงทุนของโครงการลงทุนสีเเขียวต่างๆ มีส่วนทำให้โลกมีความสีเขียวยิ่งขึ้น อีกทั้ง Green Finance ถือเป็นเครื่องมือทางการเงินอีกรูปแบบหนึ่งที่จะเข้ามาระดมเงินในตลาดการเงินและตลาดทุนเป็นการจับคู่ระหว่างงผู้ต้องการระดมเงินทุนกับผู้ลงทุน เช่น การออก Green Bond ถือเป็นการดึงให้ทั้งบริษัทผู้ออกกับประชาชนทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วมไปสู่การเปลี่ยนผ่านทยอยร่วมสร้างพาสังคมไปสู่ความยั่งยืนและมีคาร์บอนต่ำไปด้วยกัน


เทรนด์ใหม่ลงทุนแบบใส่ใจสิ่งแวดล้อม ดัน ESG Bond โตกระฉูด

greenbond

ปัจจุบันในโลกสังคมของการลงทุนปัจจุบัน นักลงทุนเริ่มถามหามีความต้องการลงทุนในธุรกิจสีเขียวหรือโครงการลงทุนสีเขียวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของธุรกิจเอกชนในการออก Green Bond หรือ Green Finance ด้วย เพราะในฝั่งผู้ลงทุนเองก็ต้องการลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทหรือโครงการที่นำไปใช้ลงทุนต่อในโครงการสีเขียว เนื่องจากผู้ลงทุนนอกเหนือผลตอบแทนจากการลงทุนแล้ว ขณะเดียวยังต้องการมีส่วนร่วมทำให้โลกสีเขียวขึ้นด้วย

ขณะที่ธนาคารมีหน้าที่ในฐานะตัวกลางทางการเงินก็จะเข้าไปช่วยเชื่อมต่อให้ผู้ซื้อกับผู้ขาย Green Bond ได้มาเจอกัน โดยตัวเลขการออกของ ESG Bond รวมของประเทศไทยทั้งระบบในปี 2564 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 62,674 ล้านบาท เติบโตขึ้นถึง 166% จากปี 2563 ที่มีมูลค่า 23,600 ล้านบาท


'เคแบงก์' ชูแนวคิดทำมากกว่าให้สินเชื่อ เปิดโครงการ 'ติดตั้งโซลาร์รูฟ' ฟรีให้บ้านคน

เคแบงก์ติดโซลาร์ฟรี

 

ในปี 2565 'เคแบงก์' ตั้งเป้าสินเชื่อ Green Finance ไว้ที่ 25,000 ล้านบาท รวมถึงเข้าไปมีส่วนช่วยให้ลูกค้าประหยัดพลังงานสนับสนุนให้ลูกค้าติดโซลาร์รูฟท็อป บนหลังคาบ้านเรือน หลังคาโรงงาน หลังคาของโรงงาน อีกทั้งยังคิดล่วงหน้าหรือ Beyond ไปมากกว่าการปล่อยสินเชื่อ

ด้วยการคัดเลือกหมู่บ้านที่ผ่านคุณสมบัตของเคแบงก์ซึ่งลูกบ้านสามารถติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปบนหลังคาบ้านได้แบบไม่ต้องลงทุนเอง ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และยังช่วยให้เจ้าของบ้านที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปประหยัดค่าไฟฟ้าได้ลงจากเดิม และยังเป็นทำให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันให้ไทยได้เข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำด้วย


โดยเคแบงก์ได้เปิดตัวโครงการ SolarPlus ติดตั้งโซลาร์รูฟให้แก่ประชาชนฟรี เพื่อผลิตและขายไฟฟ้าเป็นครั้งแรกในไทย นำร่องโครงการที่หมู่บ้านศุภาลัย ตั้งเป้าติดตั้ง 500,000 หลังทั่วประเทศ ภายใน 5 ปี เตรียมวงเงินสินเชื่อให้แก่ผู้ลงทุน 50,000 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 2.3 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี เพื่อสนับสนุนให้คนไทยเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดสู่การเป็น Net Zero ตามเป้าหมายของประเทศ

 

'เคแบงก์' ตั้งเป้า Net Zero ในปี 2573

'เคแบงก์' ตั้งเป้า Net Zero ในปี 2573

นโยบายด้านความยั่งยืน หรือ Sustainability เป็นที่ธนาคารกสิกรไทยยึดถือมาเป็นโจทย์สำคัญในการดำเนินธุรกิจเพื่อจะมาตอบคำถามว่าธุรกิจของ 'เคแบงก์' โดยได้กำหนดนโยบายว่าต้องทำธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและประเทศ เป็นการทำธุรกิจที่มากกว่ามุ่งการทำกำไรสูงสุดที่เคแบงก์ทำมาโดยตลอดในช่วงที่ผ่านมา แต่อาจใช้คำศัพท์เรียกอาจจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ในอดีตอาจไมได้ใช้คำเรียกว่า "ความยั่งยืน" เหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ 'เคแบงก์' ได้ยึดเรื่อง 'ความยั่งยืน' เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญในการทำธุรกิจด้วย

ส่วนนโยบายด้าน 'ความยั่งยืน' ได้ให้ความสำคัญตั้งแต่ระดับคณะกรรมการ(บอร์ด) ว่า 'เคแบงก์' ที่ให้มาว่าธนาคารควรมีบทบาทมากกว่าการทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงินในฐานะที่ดำเนินธุรกิจธนาคารเพื่อสร้างกำไรให้ผู้ถือหุ้น แต่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องของ “ESG” คืการเข้ามาดูแล สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาล (Governance)เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในการดูแลในการบริหารงานด้วยในฐานะของบริษัทขนาดใหญ่

เรื่องของความยั่งยืนมีการกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืนด้านสิ่งแวลดล้อม ธนาคารมีนโยบายให้ความสำคัญสนับสนุนให้เศรษฐกิจกับสังคมไทยให้เข้าสู่งสังคมคาร์บอนต่ำ โดย 'เคแบงก์' วางเป้าหมายจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Commitment)ภายในปี 2573 หรือ ค.ศ.2030 อีกทั้งมีแผนที่ทำงานจับมือร่วมกับลูกค้าทั้งธุรกิจขนาดใหญ่หรือเอสเอ็มอี รวมถึงลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคให้เข้ามามีส่วนช่วยกันพาให้ไทยให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมที่มีคาร์บอนต่ำ

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT