ข่าวเศรษฐกิจ

IMF ปรับลดเศรษฐกิจโลก โตเหลือ 4.4% เสี่ยงเงินเฟ้อสูง สหรัฐฯ จีน ยังชะลอตัว

26 ม.ค. 65
IMF ปรับลดเศรษฐกิจโลก โตเหลือ 4.4% เสี่ยงเงินเฟ้อสูง สหรัฐฯ จีน ยังชะลอตัว

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลก ปี 2565 ลดลงเหลือ 4.4 % และปรับลดการเติบโตของเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ทั้ง สหรัฐ และ จีน ลงมาด้วยเช่นเดียวกัน เหตุจากผลกระทบโอมิครอน และเงินเฟ้อสูง ส่วนเศรษฐกิจไทย ไทย สู่ระดับ 4.1% ในปีนี้ จากเดิมคาดว่าจะขยายตัว 4.5%

 

26 ม.ค.65 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ปี 2022 โดยปรับลดการคาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ลงเหลือ 4.4% จากเดิมที่เคยลดคาดการณ์มาแล้วจาก 5.9 %  เหลือ 4.9% เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว  สาเหตุเพราะการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน ราคาพลังงานที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อ ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกก็ชะลอตัวลง

 

โดย IMF คาดการณ์เศรฐกิจสหรัฐฯ จะขยายตัวที่ระดับ 4% ซึ่งลดลงจากระดับ 5.2% ส่วนเศรษฐกิจจีนคาดว่าจะขยายตัวที่ 4.8% ลดลงจากระดับ 5.6% ในการคาดการณ์ครั้งที่แล้ว และปรับตัวลงอย่างมากจากระดับการเติบโตที่ 8.1% เมื่อปี 2021 ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มยูโรโซน 19 ประเทศนั้น กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดว่าจะขยายตัว 3.9% ในปีนี้ ลดลงจาก 5.2% เมื่อปีที่แล้ว ส่วนเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งขยายตัวเพียง 1.6% เมื่อปี 2021 นั้น มาในปีนี้ไอเอ็มเอฟคาดว่าจะเติบโตขึ้น 3.3%  ส่วนเศรษฐกิจไทยถูกลดคาดการณ์สู่ระดับ 4.1% ในปีนี้ จากเดิมคาดว่าจะขยายตัว 4.5%

 imf1

 

สำหรับสถานการณ์เงินเฟ้อ ที่เป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจปีนี้  ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่า จะเพิ่มขึ้นในปีนี้ก่อนที่จะค่อย ๆ ลดลงในปี 2023 โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในประเทศพัฒนาแล้วจะอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 3.9% ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1991 ส่วนอัตราเงินเฟ้อของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 5.9% สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2011

 

ขณะที่ นายชางหยง รี ผู้อำนวยการฝ่ายภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของ IMF ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า นอกเหนือจากการใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงินของเฟดแล้ว แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สูงขึ้น รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ยังเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของเอเชียด้วย

 

"เราไม่ได้คาดว่า การที่เฟดปรับนโยบายการเงินสู่ภาวะปกติจะส่งผลกระทบร้ายแรงหรือทำให้มีเม็ดเงินจำนวนมากไหลออกจากเอเชีย แต่เราคาดว่าจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชียเป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากการใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินของเฟดอาจจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นด้วย" นายรีกล่าว

weochart-jan-2022

 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT