การเงิน

รู้จัก DR ไทยวาร์ปทางลัดลงทุนหุ้นนอก

18 เม.ย. 65
รู้จัก DR ไทยวาร์ปทางลัดลงทุนหุ้นนอก

โลกการลงทุนปัจจุบันมีตลาดหุ้นหลายแห่งทั่วโลกที่มีหุ้นขนาดใหญ่ๆ ชื่อดังที่นักลงทุนไทยรู้จักและสนใจเป็นจำนวน แต่การออกไปลงทุนหุ้นเหล่านั้นได้ถือว่ามีเงื่อนไขขั้นตอนที่ซับซ้อนตามกำหนดของประเทศนนั้นๆ แต่ตอนนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ได้เปิดโอกาสช่องทางการลัดลงทุนหุ้นต่างประเทศได้การซื้อขายบนกระดานหุ้นไทย จะเป็นอย่างไรลองไปติดตามกัน


DR ย่อมาจากคำว่า Depositary Receipt หรือที่เรียกว่า ตราสารแสดงสิทธิการฝากหลักทรัพย์ต่างประเทศ เป็นทางเลือกลงทุนประเภทหนึ่งที่จดทะเบียนให้ซื้อขายได้เหมือนหุ้น โดยผู้ออก DR ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. จะเป็นผู้ที่ไปซื้อหุ้นหรือ ETF ต่างประเทศ แล้วนำมาเสนอขายให้กับนักลงทุนไทยในรูปสกุลเงินบาท ซึ่งผู้ถือ DR จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เหมือนไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่อยู่ต่างประเทศโดยตรง และเป็นตัวช่วยสำคัญที่เปิดประตูบานใหม่แห่งการลงทุนในต่างประเทศให้กับเราได้ง่ายดายขึ้น

 

DR เป็นตราสารที่ออกแบบมาเพื่อให้นักลงทุนไทยซื้อขายหุ้นหรือ ETF ในต่างประเทศได้

โดยผ่านการซื้อขาย DR ที่จดทะเบียนซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ซึ่งกระบวนการย่อมง่ายกว่าการออกไปลงทุนตรงในต่างประเทศ เพราะมีตัวกลางซึ่งก็คือผู้ออก DR ให้ช่วยบริหารจัดการให้… เรียกง่ายๆ ว่าเป็นการยกหุ้นต่างประเทศมาให้ซื้อขายได้บนตลาดหุ้นไทย ในรูปแบบของการซื้อขาย “ใบรับฝาก” แทน


“ผู้ออก DR” จะเป็นคนไปซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศมาเก็บไว้ เพื่อใช้ออก DR นำมาเสนอขายให้นักลงทุนทั่วไป (IPO) ก่อนจะนำมาจดทะเบียนและซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเห็นว่า... ผู้ออก DR ไม่ใช่บริษัทเจ้าของหลักทรัพย์ในต่างประเทศ แต่จะทำหน้าเป็นผู้ที่ถือหลักทรัพย์ต่างประเทศแทนนักลงทุน

 

โดยผู้ออก DR คือโบรกเกอร์หรือธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. จะเป็นผู้ที่ไปซื้อหุ้นหรือ ETF ในตลาดต่างประเทศ แล้วนำมาเสนอขายให้กับนักลงทุนไทยในรูปสกุลเงินบาท ซึ่งผู้ถือ DR จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เหมือนไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่อยู่ต่างประเทศโดยตรง และเป็นตัวช่วยทำให้การลงทุนในต่างประเทศให้กับเราได้ง่ายดายขึ้น

 

ดังนั้น นักลงทุนที่ถือครอง DR จึงเปรียบเสมือนกับถือครองหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านใบ DR ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน เนื่องจากซื้อขายด้วยเงินบาท ใช้บัญชีเดียวกันกับการซื้อขายหุ้นไทย เหมือนการซื้อขายหุ้นทั่วไป สิ่งเดียวที่แตกต่างกัน คือ Board Lot ของ DR จะซื้อขายได้สะดวกกว่าหุ้นทั่วไป

เพราะ DR นั้นซื้อขายได้ขั้นต่ำครั้งละ 1 DR ขณะที่หุ้นทั่วไปจะซื้อขายกันขั้นต่ำที่ Board Lot ละ 100 หุ้น

 

ทำความรู้จัก DR

 

 

ผลตอบแทนและความเสี่ยงของ DR มีอะไรบ้าง?

ผู้ที่ถือ DR จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเสมือนถือครองหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้นๆ โดยตรง โดยแบ่งผลตอบแทนออกเป็น 2 ส่วน

 

กำไรจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) ที่นักลงทุนจะได้รับหากสามารถขาย DR ได้ในราคาที่สูงกว่าราคาตอนที่ซื้อมา แต่หากทิศทางราคาไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ ก็มีโอกาสขาดทุนเช่นกัน

 

โดยผู้ถือ DR มีโอกาสได้รับเงินปันผลหรือสิทธิประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ต่างประเทศ เมื่อไหร่ที่หุ้นแม่หรือ ETF ประกาศจ่ายเงินปันผล เราก็จะได้รับเงินปันผลเช่นเดียวกัน แต่ก็มีเงื่อนไขเล็กน้อย คือ เงินปันผลที่เราจะได้รับนั้น จะถูกหักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามที่ระบุไว้ในสัญญารับฝาก (ถ้ามี) เราจึงต้องศึกษารายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ ให้ชัดเจน จะได้ไม่พลาดเมื่อคิดจะเริ่มลงทุน DR

 

ขึ้นชื่อว่าการลงทุนแล้ว ย่อมต้องมีเรื่อง “ความเสี่ยง” ให้ต้องคอยระวัง ซึ่งความเสี่ยงของ DR ก็เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้น ที่บางครั้งเราอาจจะคาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคตผิด ทำให้เราขาดทุนจากราคาตลาดที่ลดต่ำลงมากว่าต้นทุนราคาที่เข้าซื้อ

 

และถึงแม้ว่าการลงทุนใน DR นักลงทุนจะทำการซื้อขายโดยใช้เงินสกุลบาท แต่โดยทั่วไปแล้ว ราคา DR ควรจะใกล้เคียงกับราคาของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่ปรับค่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจาก 1 DR เทียบเท่ากับหุ้นต่างประเทศ 1 หุ้น หรือ ETF ต่างประเทศ 1 หน่วย นักลงทุนจึงต้องพิจารณาถึง “ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน” ควบคู่ไปกับการติดตามราคาของหลักทรัพย์ต่างประเทศ เพื่อใช้ประกอบในการลงทุน DR

 

ทั้งนี้ ราคา DR อาจจะแตกต่างจากราคาของหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการซื้อและความต้องการขาย (Demand & Supply) ของ DR ในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงสภาวะแวดล้อมภายในประเทศอื่นๆ อีกด้วย

 

นอกจากนี้ นักลงทุนยังควรพิจารณา “ความน่าเชื่อถือ” หรือความสามารถในการให้บริการต่างๆ ของผู้ออก DR ที่ปัจจุบันอนุญาตให้เฉพาะบริษัทหลักทรัพย์และธนาคารพาณิชย์เป็นผู้ออกประกอบกันไปด้วย


การลงทุนใน DR ไม่ใช่เรื่องยาก แถมยังช่วยกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนของพอร์ตลงทุนจากที่ถือหุ้นไทย 100%
ด้วยการกระจายสัดส่วนการลงทุนไปยังต่างประเทศมากขึ้น แถมยังสร้างโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีขึ้น ข้อดีเยอะแบบนี้ คงต้องมีติดพอร์ตไว้บ้างแล้ว

 

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคา DR


1.ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงในต่างประเทศ
เราควรติดตามว่า... ปัจจุบันราคาของสินทรัพย์ที่เราเลือกลงทุนนั้นอยู่ที่เท่าไหร่? ซึ่งจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทนั้นๆ ที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางราคาของสินทรัพย์ว่าเป็นอย่างไร นอกจากปัจจัยเฉพาะตัวแล้วยังมีผลจากสภาพตลาดและเศรษฐกิจของประเทศที่สินทรัพย์อ้างอิงนั้นทำการซื้อขายอยู่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ราคา DR ปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือลดลงได้ โดยอาจมีในบางช่วงเวลาที่ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงในต่างประเทศมีความผันผวนก็จะส่งผลกระทบให้ราคา DR นั้นๆ ต้องผันผวนตามไปด้วยเช่นกัน

 

2.อัตราแลกเปลี่ยน
แม้ว่าเราจะสามารถซื้อขาย DR ได้ในตลาดหุ้นไทยด้วยเงินสกุลบาท แต่เวลาที่เราซื้อขายนั้นต้องอ้างอิงกับราคาหุ้นหรือราคาสินทรัพย์อ้างอิงในต่างประเทศ อ้างอิงกับเงินสกุลนั้นๆ ที่สินทรัพย์จดทะเบียนอยู่ ดังนั้นเมื่อค่าเงินเปลี่ยนแปลงก็ย่อมส่งผลกับราคา DR ในบ้านเราให้แพงกว่า หรือ ถูกกว่า ในบางช่วง ซึ่งค่าเงินทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงตามทิศทางเงินไหลเข้าหรือเงินไหลออกแต่ละประเทศ โดย DR ที่อ้างอิงกับสินทรัพย์ในต่างประเทศก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินด้วยเช่นกัน

 

3.ความต้องการของนักลงทุน
เหมือนกับหลักทรัพย์ทั่วไปถ้ามีแรงซื้อเข้ามามากในบางช่วงก็อาจทำให้ราคา DR ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติได้ สำหรับในตลาดหุ้นไทยบ่อยครั้งที่เราจะเห็นการเคลื่อนไหวของราคาที่มากกว่าปกติจากแรงซื้อหรือแรงขาย

 

ใน DR ก็เช่นกันที่ในบางครั้งอาจมีปัจจัยหรือมีความต้องการซื้อหรือขายผ่านตลาดหุ้นไทยมากกว่าปกติในบางช่วงเวลา ซึ่งอาจทำให้ราคา DR เมื่อเทียบกับราคาสินทรัพย์อ้างอิงในต่างประเทศอาจคลาดเคลื่อนกัน ดังนั้น ในการพิจารณาก่อนเข้าซื้อ นักลงทุนควรดูในเรื่องของราคาว่ามีความผิดปกติหรือไม่ก่อนที่จะเข้าซื้อทุกครั้ง

 

DR เปรียบเทียบลงทุนต่างประเทศ


ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยมี DR ดังนี้

-E1VFVN3001 ซึ่งเป็น DR ที่อ้างอิง E1VFVN30 ซึ่งเป็น ETF ที่อ้างอิงดัชนี VN30 ซึ่งเป็นดัชนีหุ้นชั้นนำ 30 ตัวแรกของประเทศเวียดนาม โดย E1VFVN3001 ออกโดย บล.บัวหลวง จำนวน 700 ล้านหน่วย ราคาเสนอขาย 21.6165 บาท/หน่วย เข้าซื้อขายวันแรกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันที่ 18 ธ.ค.2561 ณ 12 เม.ย.2565 ราคาปิดที่ 37.25 บาท บวก 72% จากราคาไอพีโอ

 

-BABA80 ซึ่งเป็น DR ที่อ้างอิงหุ้นของบริษัท อาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด ออกโดยธนาคารกรุงไทย จำนวน 2,000 ล้านหน่วย ราคาเสนอขายที่ 5.116379 บาทต่อหน่วย เข้าซื้อขายวันแรกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันที่ 23 ก.พ. 2565 ณ 12 เม.ย.2565 ราคาปิดที่ 4.34 บาท ติดลบ 15% จากราคาไอพีโอ

 

-TENCENT DR อ้างอิงหุ้นของ บริษัท เทนเซ็นต์ โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด จำกัด ออกโดย ธนาคารกรุงไทย เปิดจองไอพีโอวันที่ 18-20 เม.ย. และ 21 เม.ย. 2565 ราคาเสนอขาย 10-20 บาทต่อหน่วย

 

-DR "NASDAQ 100" อ้างอิง ChinaAMC NASDAQ 100 ETF (3086.HK) ที่ลงทุนอ้างอิงดัชนี NASDAQ 100 ของสหรัฐฯ ออกโดย บล.บัหลวง เปิดจองไอพีโอวันที่ 26-27 เม.ย. 2565

 

-DR "STAR 50" อ้างอิง Premia China STAR50 ETF (3151.HK) ลงทุนอ้างอิงดัชนี STAR 50 ที่ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีนวัตกรรมของจีน ออกโดย บล.บัหลวง เปิดจองไอพีโอวันที่ 26-27 เม.ย. 2565

 

Tencent DR

 

 


เร็วเกินไปที่จะบอกว่าตลาดหุ้นจีนกลับมาแล้ว

ด้าน FINNOMENA ประเมินว่า แม้หุ้นจีนจะทยอยฟื้นตัวขึ้นหลังทางการจีนส่งสัญญาณสนับสนุนหุ้นจีนที่จดทะเบียนในต่างประเทศ แต่นักวิเคราะห์หลายคนยังคงมีมุมมองเชิงลบพร้อมเตือนว่าหนทางข้างหน้ายังไม่แน่นอน

 

Shehzad Qazi จาก China Beige Book International กล่าวว่า “นักลงทุนกำลังตื่นตระหนก และตอนนี้ทุกอย่างเกิดขึ้นก่อนที่มันควรจะเป็นไปมาก”

 

1.หุ้นจีนเริ่มฟื้นตัวจากสัญญาณบวกด้านกฎระเบียบ

ในเดือนมีนาคมปีนี้ คือเดือนที่ผันผวนสำหรับหุ้นจีน เพราะร่วงหนักในช่วงครึ่งแรกก่อนจะพลิกกลับขึ้นมาในช่วงปลายเดือน

 

หุ้นจีนทั่วโลกในดัชนี MSCI China พุ่งขึ้นเกือบ 24% ในเดือน มี.ค. 2565 พลิกกลับจากการร่วงแรงถึง 25% ในช่วงครึ่งเดือนแรก ขณะที่ดัชนีหุ้นจีนที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ China ADR ปรับขึ้นถึง 25% ระหว่างกลางเดือน มี.ค. ถึงวันที่ 1 เม.ย.2564

 

ล่าสุด (4 เม.ย.) ดัชนี Nasdaq Golden Dragon China ปิดบวกที่ 7.4% หลังหน่วยงานกำกับดูแลของจีนเผยแพร่ร่างฉบับแก้ไขที่เตรียมยกเลิกข้อกำหนดว่าการตรวจสอบควรดำเนินการโดยทางการจีนเป็นหลัก

 

นำโดยหุ้น Pinduoduo, Bilibili และ iQiyi ที่พุ่งขึ้นกว่า 16% ขณะที่ Alibaba +6.6%, Didi +6.4% และ JD.com +7.1%

 

นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบกำลังคลายตัวลงจนทำให้ทั้งตลาดและความเชื่อมั่นสามารถฟื้นตัวได้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงในระดับมหภาค รวมถึงความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์อยู่

 

464977

 

2.นักวิเคราะห์เตือน ยังมีสิ่งที่นักลงทุนไม่รู้อีกมากมาย

Shehzad Qazi กล่าวว่า ตอนนี้นักลงทุนจำนวนมากกำลังมีความสุขที่ได้เห็นหุ้นขึ้น แต่กำลังละเลยข้อเท็จจริงที่ว่ามีความไม่แน่นอนและมีอะไรที่ไม่รู้อีกมากมาย

 

สอดคล้องกับมุมมองของ Harvey Pitt อดีตประธาน ก.ล.ต. สหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันเป็นซีอีโอของ Kalorama Partners

 

“คำถามเดียวก็คือ คนที่ลงทุนหุ้นจีนอยู่ในตอนนี้ เปิดตากว้างพอแล้วหรือยัง?” Harvey Pitt กล่าว

Harvey Pitt เตือนว่า รัฐบาลจีนกำลังพยายามอย่างหนักเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่โปร่งใส แต่ปีศาจตัวจริงจะไปแฝงอยู่ในรายละเอียดอันยิบย่อย

 

หน่วยงานกำกับดูแลของจีนส่งสัญญาณสนับสนุนหุ้นจีนในต่างประเทศ

ก่อนหน้านี้ หุ้นจีนอยู่ภายใต้แรงกดดันเมื่อก.ล.ต. สหรัฐฯ ออกมาระบุว่า อาจพิจารณาเพิกถอนบริษัทจีนหากไม่สามารถเข้าถึงการตรวจสอบของข้อมูลได้ ซึ่งบริษัทที่ตกเป็นเป้าหมายในครั้งนี้คือ Baidu, BeiGene และ Yum China

 

โดยมีแรงกดดันดังกล่าวคลายลงเมื่อวันที่ 1 เม.ย. ปีนี้ที่ผ่านมา เมื่อทางการจีนกำลังพิจารณาให้สหรัฐฯ สามารถเข้าถึงการตรวจสอบของบริษัทจีนได้อย่างเต็มรูปแบบ

 

นอกจากนี้ Reuters ยังรายงานในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ทางการจีนได้เสนอให้มีการแก้ไขกฎการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนในตลาดต่างประเทศ เพื่อขจัดอุปสรรคต่อความร่วมมือระหว่างทั้ง 2 ประเทศในด้านการตรวจสอบ

 

996023

 

3. เร็วเกินไปที่จะบอกว่าตลาดหุ้นจีนกลับมาแล้ว

Shehzad Qazi กล่าวว่า มีการเปลี่ยนแปลงกฎในจีนก็จริง แต่เราไม่มีทางรู้ว่าบริษัทใดที่ ก.ล.ต. สหรัฐฯ จะสามารถตรวจสอบได้ เพราะหากไม่สามารถตรวจสอบบริษัทรายใหญ่อย่าง Baidu, Alibaba หรือ Tencent ได้ แปลว่ามูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดจำนวนมหาศาลกำลังจะถูกถอดออกไป

ขณะที่ Seema Shah จาก Principal Global Investors มองว่า แม้ว่าทางการจีนจะกลับมามีท่าทีที่เป็นมิตรต่อตลาด แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะบอกว่าตลาดหุ้นจีนกลับมาแล้ว

advertisement

SPOTLIGHT