อินไซต์เศรษฐกิจ

เมื่อ "มนุษย์แม่" มีจำนวนลดลง กระทบเศรษฐกิจไทยอย่างไร

11 ส.ค. 65
เมื่อ "มนุษย์แม่" มีจำนวนลดลง กระทบเศรษฐกิจไทยอย่างไร

คำว่า “มนุษย์แม่” ในที่นี้หมายถึง ผู้หญิงที่แต่งงานและมีลูกซึ่งจากสถิติพบว่ากำลังน้อยลงไปจากค่านิยมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้อัตราการเกิดของประชากรไทยอยูในอัตราที่ลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา และหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่น่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ

สำนักงานสถิติแห่งชาตินำเสนอข้อมูลเรื่อง ทำไมคนไทยถึงไม่อยากมีลูก  พบว่า คนรุ่นใหม่หรือคน Gen Y (อายุ 21-37 ปี) มีค่านิยมในการใช้ชีวิตคู่ที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการครองตัวเป็นโสด การอยู่ด้วยกันโดยไม่สมรส และไม่มีลูก มีแนวโน้มสูงขึ้น ดูได้จากกราฟด้านล่างที่แสดงถึงอัตราการเกิดของเด็กไทยในช่วงปี 2555 – 2564 มีอัตราลดลงไปเรื่อยๆ จากระดับการเกิดมากว่า 8 คนต่อประชากร 100,000 คน เหลือเพียงไม่ถึง 6 คนต่อประชากร 100,000 คน   

 

อัตราการเกิดของประชากรไทย 

ข้อมูลดังกล่าวมีการเก็บข้อมูลมาจากกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-49 ปี) ทั้งนี้พบว่า คนไทยแต่งงานช้าลงโดยได้จากช่วงอายุจากเดิมราว 24 ปีใน 2533 มาเป็น 28 ปี ในปี 2553 และประมาณการณ์ว่า ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของการแต่งงานจะมากขึ้นอีก สถิติพบว่าผู้หญิงอยากอยู่เป็นโสดมากขึ้น ตัวเลขในปี 2561  ครัวเรือนไทยประเภทคนโสด อยู่คนเดียวสูงขึ้นจาก 20.1% ในปี 2561 เพิ่มเป็น 22.3% ในปี 2562 และ 21.4% ในปี 2563


สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนไทยไม่อยากมีลูกคือสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอย ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำที่ขยับตัวไม่ทัน ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้จึงไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้อย่างมีคุณภาพ ทำให้คนรุ่นใหม่ตระหนักในเรื่องการสร้างครอบครัวมากขึ้น และตัดสินใจไม่อยากมีลูก เนื่องจากกังวลเรื่องรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สิน

 

รายได้ตามไม่ทันหนี้สิน และค่าใช้จ่ายเลี้ยงลูกสูง

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน และหนี้สินเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือนสูงขึ้นกว่ารายได้อย่างชัดเจน ในปี 2558 ครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 21,157 บาท/เดือน  มาในปี 2562 อยู่ที่ 20,742บาท/เดือน แต่ตัวหนี้สินเพิ่มขึ้นมาก หนี้สินต่อครัวเรือน ปี2558 อยู่ที่ 153,424.74  บาท มาเป็น 161,867.67 บาทในปี 2562

ทั้งนี้พบว่า ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงลูก 1 คนนั้นต้องใช้ค่าใช้จ่ายประมาณ 500,000-2,000,000 บาท/คน  ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมาก ๆ เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนทั่วประเทศซึ่งอยู่ที่ประมาณ 26,000 บาทต่อเดือนประกอบกับคนรุ่นใหม่มีเป้าหมายชีวิตมุ่งไปในการทำงาน ที่อยากประสบความสำเร็จในชีวิตของตัวเองมากกว่า เห็นได้จากจำนวนของคน Gen Y ที่โสดและมีงานทำ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นในทุกปี

 

หากสถานการณ์ที่คนไทยไม่ต้องการมีลูกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจะส่งผลระยะยาวต่อสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งมีแนวโน้มจะชะลอตัวเพราะจะทำให้คนวัยทำงานลดน้อยลงจนไม่เพียงพอ (โดยเฉพาะประเทศไทยที่กำ ลังลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ) ส่งผลให้อัตราการเติบโตของ GDP ลดลง ต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติมากขึ้นขึ้ ทางออกที่เป็นไปได้ คือ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริม สร้างแรงจูงใจให้คนเจนY อยากมีลูกมากขึ้นนั่นเอง 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT