อินไซต์เศรษฐกิจ

หนี้ประเทศไทยพุ่งแตะ 10 ล้านล้าน! สบน.ยอมรับหนี้สาธารณะทะลุ 60% ของ GDP

18 เม.ย. 65
หนี้ประเทศไทยพุ่งแตะ 10 ล้านล้าน! สบน.ยอมรับหนี้สาธารณะทะลุ 60% ของ GDP

หนี้ฯ ประเทศไทยพุ่งแตะ 10 ล้านล้านบาท

กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ออกมายอมรับเรื่องหนี้สาธารณะของประเทศไทย ทะลุเพดาน 60% ของจีดีพี แตะ 10 ล้านล้านบาท แล้วว่าเป็นข้อมูลจริง ทั้งนี้หนี้ดังกล่าวไม่นับนับรวมหนี้ภาคครัวเรือนของไทยที่ปัจจุบันอยู่ในระดับสูง

 

สบน. ชี้แจงว่า รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการใช้นโยบายการคลังผ่านการใช้จ่ายเงินผ่านหน่วยงานรัฐ ซึ่งกู้เงินมาใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านโครงการลงทุนด้านต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤติหลายรูปแบบ ซึ่งการกู้เงินที่สำคัญของรัฐบาลที่ผ่านมา คือ การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณมาสนับสนุนการใช้นโยบายการคลังของรัฐบาล

 

โดยตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี 2557-2564 รัฐบาลได้กู้เงินมาวางรากฐานพัฒนาและเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระจายความเจริญ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ขยายโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่รัฐมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากที่สุดถึง 178 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 2.6 ล้านล้านบาท ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

 

สำหรับการกู้เงินภายใต้ พ.ร.ก. COVID-19  ปี 2563 และ ปี 2564 การระบาดของโควิด 19 ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ส่งผลกระทบให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของทั้งโลกหยุดชะงัก ทำให้เศรษฐกิจโลกและของไทยหดตัวรุนแรงและรวดเร็ว โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดเศรษฐกิจไทยปี 2563 ว่าจะหดตัวถึง 8% 

 

โดยรัฐบาลเป็นหน่วยงานเดียวที่มาแก้ไขปัญหาเพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถขับเคลื่อนไปได้ในยามวิกฤติ และต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน จึงได้ตราพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินโควิด19 พ.ศ. 2563 และ พ.ร.ก. กู้เงินโควิด 19 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงินรวม 1.5 ล้านล้านบาท เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19

 

ขณะที่การใช้มาตรการต่าง ๆ ภายใต้ พ.ร.ก. ทั้งสองฉบับดังกล่าว ช่วยให้เศรษฐกิจไทย ณ สิ้นปี 2563 หดตัวลดลงน้อยกว่า IMF คาดการณ์ไว้ถึง 2% อีกทั้งช่วยให้เศรษฐกิจไทยปี 2564 ขยายตัวถึง 1.6% ดังนั้นจึงเป็นปัจจัยที่ทำให้เห็นว่าการกู้เงินของรัฐบาลมีส่วนช่วยบรรเทาความเดือดร้อนกับประชาชนและช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นได้

 

ยืนยันหนี้ฯไทยอยู่ในกรอบการบริหารหนี้

อย่างไรก็ตาม ระดับหนี้สาธารณะในปัจจุบันยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาการคลัง และยังอยู่ภายใต้กรอบในการบริหารหนี้สาธารณะ ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐที่ 70% ของจีดีพี โดยรัฐบาลยังคงมีความสามารถในการชำระหนี้ (Debt affordability) ซึ่งกระทรวงการคลังได้ติดตามสัดส่วนภาระดอกเบี้ยต่อประมาณการรายได้ประจำปีอย่างใกล้ชิด

 

โดยประมาณการสัดส่วนภาระดอกเบี้ยของรัฐบาลต่อรายได้ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2565 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 8% และในอีก 5 ปีข้างหน้ายังคงต่ำกว่าระดับเกณฑ์มาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ไม่เกิน 10%  โดยรัฐบาลยังให้ความสำคัญต่อการรักษาวินัยทางการคลัง ซึ่งที่ผ่านมาไทยมีระดับความน่าเชื่อถือของประเทศอยู่ในเกณฑ์ที่น่าลงทุน (Investment Grade)

 

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามข่าวสารจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง ได้ที่เว็บไซต์ http://www.pdmo.go.th หรือโทร 02 265 8050

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

1.นายกฯ ลุยแก้หนี้ครัวเรือน จัดงานมหกกรรมช่วยลูกหนี้ ทั่วประเทศ 28 เม.ย.นี้ทัวเชียงใหม่

2.แก้ไหวมั้ย ? หนี้ครัวเรือนไทย พุ่งสูงสุดในรอบ18 ปี!
 
3.ส่องหนี้เสียรวม 8 แบงค์พาณิชย์ไทย !



 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT