อินไซต์เศรษฐกิจ

48 วัน สงครามรัสเซีย-ยูเครน สะเทือนเศรษฐกิจโลก !

11 เม.ย. 65
48 วัน สงครามรัสเซีย-ยูเครน สะเทือนเศรษฐกิจโลก !
ไฮไลท์ Highlight
  แม้ว่าปัจจุบันราคาน้ำมันจะลดลงอยู่แถวๆ 100 ดอลลาร์สหรัฐ แต่สถานการณ์สินค้าราคาแพง อัตราเงินเฟ้อสูง และดอกเบี้ยขาขึ้น ถูกจับตาอย่างใกล้ชิดว่ามันจะเป็นระเบิดเวลาลูกใหม่ที่จะก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกอีกครั้งในอีกไม่นานเกินรอนี้ นอกจากเราจะได้ยิน วิกฤติเศรษฐกิจโลกแล้ว นักเศรษฐศาสตร์บางท่าน ยังพูดถึงวิกฤติการขาดแคลนอาหาร ครั้งใหญ่ของโลกอีกด้วย เนื่องจากรัสเซีย และยูเครน ต่างเป็นผู้ผลิตพืชอาหาร เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ รายใหญ่ที่สุดของโลก รัสเซียสามารถส่งออกจำนวน 38.4 ล้านตันในปีการเกษตรที่แล้ว

48 วัน สงครามรัสเซีย-ยูเครน สะเทือนเศรษฐกิจโลก !

วิกฤติสงคราม VS วิกฤติเศรษฐกิจ

 

24 กุมภาพันธ์ 2565 คือวันแรกของปฏิบัติโจมตียูเครนของกองทัพรัสเซีย กินเวลาเกินกว่า 1 เดือนแล้วที่โลกต้องเผชิญกับผลกระทบจากการสู้รบในครั้งนี้ ราคาน้ำมันพุ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 14ปี เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2565 เกือบ130 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล นี่น่าจะเป็นผลกระทบหนักที่สุดที่หลายประเทศในโลกต้องเผชิญ รวมถึงประเทศไทย ที่พึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศเป็นหลัก

 istock-1316669671

 

แม้ว่าปัจจุบันราคาน้ำมันจะลดลงอยู่แถวๆ 100 ดอลลาร์สหรัฐ แต่สถานการณ์สินค้าราคาแพง อัตราเงินเฟ้อสูง และดอกเบี้ยขาขึ้น ถูกจับตาอย่างใกล้ชิดว่ามันจะเป็นระเบิดเวลาลูกใหม่ที่จะก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลกอีกครั้งในอีกไม่นานเกินรอนี้ นอกจากเราจะได้ยิน วิกฤติเศรษฐกิจโลกแล้ว นักเศรษฐศาสตร์บางท่าน ยังพูดถึงวิกฤติการขาดแคลนอาหาร ครั้งใหญ่ของโลกอีกด้วย เนื่องจากรัสเซีย และยูเครน ต่างเป็นผู้ผลิตพืชอาหาร เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ รายใหญ่ที่สุดของโลก รัสเซียสามารถส่งออกจำนวน 38.4 ล้านตันในปีการเกษตรที่แล้ว



ข้าวสาลี
ข้าวสาลี สินค้าส่งออกสำคัญของรัสเซีย และ ยูเครน 



ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมก็กระทบหนักไม่น้อย เพราะทั้งรัสเซีย ยูเครน ต่างมีแร่ธาตุสำคัญที่นำมาใช้ในการผลิตชิปที่ใช้ในหลายสินค้าอีกด้วย  ในภาวะที่วัตถุดิบมชะงักงันแบบนี้ ของแพง เงินเฟ้อสูง คือความเสี่ยงที่สุดของเศรษฐกิจโลกในภาวะสงครามเช่นนี้


istock-1309490827 

จึงไม่น่าแปลกใจที่ขณะนี้หลายสถาบันจะปรับลดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศในโลกลงตามๆกันไป ประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งในสหรัฐฯ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น หรือ ประเทศตลาดเกิดใหม่อย่างไทย ก็ถูกลดการเติบโตลงเช่นกัน คำถามคือ แล้ว2ประเทศคู่กรณี รัสเซีย ยูเครน ล่ะ? เศรษฐกิจจะบาดเจ็บหนักหนาสาหัสแค่ไหน?

 

 

เศรษฐกิจรัสเซีย ยูเครน


เศรษฐกิจรัสเซียมีโอกาสติดลบ
10%

โกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจรัสเซียจะหดตัวรุนแรงถึง 10% ในปีนี้ จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะหดตัว 7% เนื่องจากผลกระทบของการที่รัสเซียถูกนานาประเทศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและการเงิน เพื่อตอบโต้กรณีใช้กำลังทหารบุกโจมตียูเครน เราจะเห็นว่ามาตรการคว่ำบาตรในครั้งนี้กระทบสถานะทางเศรษฐกิจของรัสเซียอย่างมาก แม้จะบอกว่า รัสเซียเลือกที่จะพึ่งพาจีน แต่มาตรการอย่างตัดธนาคารของรัสเซียบางแห่งออกจากระบบ SWIFT และการอายัดทรัพย์สินของธนาคารกลางรัสเซียในสหรัฐ ถึงขั้นที่อาจจะทำให้รัสเซียผิดนัดชำระหนี้ได้ และหากเป็นเช่นนั้นจะถือเป็นครั้งแรกในรอบ 100 ปีในประวัติศาสตร์รัสเซีย

 

โกลด์แมน แซคส์ ระบุว่า กรณีกลุ่ม G7 ตัดสินใจตัดรัสเซียออกจากสถานะประเทศที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่งทางการค้า (Most Favored Nation) หรือ MFN มีผลทำให้การส่งออกของรัสเซียถูกกระทบอย่างมาก คาดว่า ในไตรมาส 2 ปีนี้ ยอดการส่งออกของรัสเซียจะลดลงถึง 20% เท่านั้นยังไม่พอดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจหลายตัวกำลังบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจรัสเซียมีแนวโน้มที่จะหดตัวลงอย่างมาก  ทั้งภาคการผลิต ปริมาณผลผลิต ยอดสั่งซื้อใหม่ และยอดส่งออกชิ้นส่วนด้านอุตสาหกรรม

 

 

ไอเอ็มเอฟคาดเศรษฐกิจยูเครน ติดลบหนักสุดถึง35%  

ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ประเมินว่า หากยูเครนยังโดนโจมตียืดเยื้อจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของยูเครนเสียหายอย่างหนัก มีโอกาสลดลงมากที่สุดถึง 35%  อย่างไรก็ตามประสบการณ์ในอดีตเช่นกรณีเกิดสงครามในอิรัก หรือ ซีเรีย ผลกระทบมักจะมากกว่าที่คิด

 

ในรายงานระบุว่า ยูเครน จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ด้านมนุษยธรรม  มีประชาชนต้องเสียชีวิตจำนวนมาก และโครงสร้างพื้นฐานในประเทศถูกทำลาย ทั้งท่าเรือ สนามบิน ระบบการขนส่งที่ถูกปิด ล้วนกระทบกับการส่งออกของยูเครน นี่คือความไม่แน่นนอนทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของยูเครน จากเดิมที่ IMF  เคยคาดว่า เศรษฐกิจยูเครนจะเติบโต 3.5% ในปีนี้ แต่ปัจจุบันกลายเป็นคาดว่ายูเครนอาจะต้องเจอภาวะเศรษฐกิจถดถอย สิ่งที่คาดการณ์คือ GDP 10% กรณีที่การสู้รบจบเร็ว และได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากผู้บริจาค

 

ซึ่งจากข้อมูลพบว่า เศรษฐกิจของประเทศที่ต้องเผชิญสงคราม เช่น อิรัก เลบานอน  ซีเรีย และเยเมน จะถูกกระทบหนักมากกว่าที่ประเมิน อยู่ระหว่าง 25 – 35% หากดูผลกระทบทางเศรษฐกิจของยูเครน เมื่อครั้งมีความขัดแย้งกับรัสเซีย กรณีผนวกดินแดนไครเมีย ทำให้ GDP ยูเครน ติดลบ 6.6%ในปี 2014 และ ติดลบ 10% ในปี 2015  ไอเอ็มเอฟเชื่อว่า ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในครั้งนี้ ของยูเครนจะมากกว่าและยาวนานกว่าอดีต  

 

ส่วนกระทรวงเศรษฐกิจยูเครน เคยประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ว่า จากการประเมินในเบื้องต้นGDP ยูเครนได้หดตัวลง 16% ในไตรมาสแรกปีนี้ และอาจหดตัวลงถึง 40% ในปีนี้ ซึ่งเป็นผลจากการที่ถูกรัสเซียบุกโจมตี

 

ที่มา

https://www.theguardian.com/business/2022/mar/14/ukraine-economy-shrink-2022-imf-russia-war

 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT