อินไซต์เศรษฐกิจ

โอไมครอน ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทย

29 พ.ย. 64
โอไมครอน ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทย

หลังทั่วโลกต้องเผชิญความเสี่ยงอีกครั้งกับโควิด19 สายพันธ์ไอไมครอน ที่จนถึงขณะนี้ องค์การอนามัยโลก WHO ประกาศว่า เป็นสายพันธ์ที่น่ากังวล (variant of concern) เพราะมีแนวโน้มว่า จะมีการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วกว่าสายพันธ์เดลต้า

 

จนถึงขณะนี้ยังมีข้อมูลไม่ชัดเจน และไม่มากพอที่จะสรุปถึงความรุนแรงของโอไมครอน ว่าจะน้อยกว่าหรือมากกว่าเดลต้า แต่ผู้ป่วยที่พบสายพันธุ์โอไมครอนในทวีปแอฟริกายังไม่มีใครเสียชีวิต

 .

กลับมาที่ประเทศไทย ที่ดูเหมือนสถานการณ์ในประเทศกำลังผ่อนคลาย กิจกรรมทางเศรษฐกิจกำลังค่อยๆกลับมา คาดหวังว่า ปีใหม่นี้คนไทยจะได้เดินทางท่องเที่ยวกันได้บ้าง หลังจากอยู่ในสถานการณ์โควิด19 มาถึง 2 ปี  โควิด 19 สายพันธุ์โอไมครอน จึงถือเป็น ความเสี่ยงที่ทั้งภาครัฐและเอกชน กำลังติดตามและรอข้อมูลที่ชัดเจนจากระดับสาธารณสุข ทีมงาน Spotlight รวบรวมมุมมองของภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับการรับมือของประเทศไทยและผลต่อเศรษฐกิจไทยหลังจากนี้  

 .

โดยเริ่มจาก  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงการแพร่ระบาดโควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่ “โอไมครอน” ว่า 

“อย่าให้กลายเป็นเรื่องของความวิตกกังวลเกินไป วันนี้มีการเพิ่มมาตรฐานและมาตรการห้ามคนเข้าออกประเทศต้นทางที่มีการแพร่ระบาดแล้ว  ขอให้ประชาชนไปฉีดวัคซีนให้ครบโดยเร็ว มีวัคซีนเพียงพอ หากรอวัคซีนทางเลือกที่ยังไม่ได้ฉีดสามารถมาฉีดกับเราได้ ขอให้ไว้ใจกัน”

 

332640

 

ด้านนายสุพัฒนพงษ์​ พันธ์มีเชาว์​ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน​ มองว่า   

“ เราระมัดระวังเรื่องเปิดประเทศอยู่แล้ว ข้อมูลเบื้องต้นยังไม่พบว่ามีปัญหาอะไร ที่เคยเปิดให้ 63 ประเทศเข้ามายังไม่เคยมีกลุ่มประเทศแอฟริกา  ดังนั้นต้องรอฟังรายละเอียดเพิ่มจากกระทรวงสาธารณสุขน่าจะชัดเจนใน 2-3 สัปดาห์”

ผู้สื่อข่าวถามว่า การเปิดประเทศยังไม่มีการปรับแผน ต้องรอดูสถานการณ์ก่อนใช่หรือไม่ ใน 63 ประเทศที่ไม่ต้องกักตัวพบว่า มีประเทศที่พบเชื้อโอไมครอนแล้ว​ จะส่งผลต่อปลายปีที่จะเปิดให้ประเทศอื่นเข้ามาเพิ่มเติมหรือไม่ นายสุพัฒนพงษ์ให้รอดูไม่เกิน 2-3 สัปดาห์น่าจะรู้ ว่าเราจะมีผลกระทบอย่างไร ระหว่างนี้คงมีข้อมูลเข้ามาเรื่อยๆ ย้ำว่าเราระมัดระวังอยู่แล้ว

 

 

667526

 

ขณะที่ นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มองว่า

“ไม่ว่าเราจะป้องกันคนเข้าประเทศอย่างไร มันก็อาจจะเล็ดรอดเข้ามาได้ ถ้าเมื่อเล็ดรอดเข้ามาแล้วมาตรการสาธารณสุขที่เตรียมไว้ก็ต้องจำกัดให้เร็วด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดมากขึ้น เพราะตอนนี้ทุกอย่างเริ่มไปได้ดีมากขึ้นเรื่อยๆแล้ว ต้องเร่งให้ประชาชนฉีดวัคซีนให้มากขึ้น”

โดยสศช.มีการประมาณการณ์เศรษฐกิจปี 64 ขยายตัวได้ 1.2% บัญชีดุลสะพัดติดลบ 2.5% ส่วนภาคท่องเที่ยวยังไม่พื้นตัว แต่ส่งออกยังดีอยู่ ขยายได้ถึง 16.8%   ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 65 คาดการณ์ว่า ขยายตัวอยู่ที่ 3.5-4.5% ค่ากลาง 4% ส่วนเศรษฐกิจโลกอยู่ที่ 4.6-4.8%

ปัจจัยที่ช่วยหนุนเศรษฐกิจได้ คือ การเร่งฉีดวัคซีนให้มากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ภาคท่องเที่ยวในประเทศฟื้นตัวในระดับหนึ่งแต่นักท่องเที่ยวยังไม่มากนัก โดยมีการประมาณการณ์จะมีนักท่องเที่ยว 5 ล้านคนในปีหน้า และต้องมีการติดตามการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

 

543623

 

ปิดท้ายที่ ดร.เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย  บอกว่า ในระยะสั้นตลาดจะมีความผันผวน เนื่องจากขณะนี้ยังต้องรอความชัดเจนการวิเคราะห์จากหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ก่อนว่าไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวมีความรุนแรงเพียงใด ซึ่งคาดว่าข้อมูลจะมีความชัดเจนใน 1-2 สัปดาห์นี้  ย่างไรก็ตาม ได้มีการวิเคราะห์ฉากทัศน์เบื้องต้น (scenario) ไว้ 2 กรณี คือ

“หากเป็นกรณีเลวร้ายที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น การระบาดมีความรุนแรงพอสมควร เบื้องต้นจะทำให้การท่องเที่ยวสะดุดลง 2-3 เดือน นักท่องเที่ยวหายไป 1 ล้านคน คิดเป็นเม็ดเงิน 7-8 หมื่นล้านบาท หรือราว 0.4-0.5% ของ GDP ทั้งนี้ต้องรอข้อมูลวิเคราะห์เชื้อโอไมครอนด้านวิทยาศาสตร์ด้วย”

กรณีผลจำกัด การติดเชื้อไม่รุนแรง จะทำให้การท่องเที่ยวยังสามารถเดินหน้าต่อได้ ทั้งนี้ แต่ละกรณีมีผลกระทบที่แตกต่างกันไป แต่ผลที่เกิดขึ้นคงไม่ยาวนานเหมือนการระบาดในรอบของสายพันธุ์เดลตา เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดกันได้มากแล้ว

 

344828

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT