ข่าวเศรษฐกิจ

ส่งออกไทย ติดลบ 4.4 % ในรอบ 20เดือน เหตุจากเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว

28 พ.ย. 65
ส่งออกไทย ติดลบ 4.4 % ในรอบ 20เดือน เหตุจากเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว

การส่งออกไทยเดือนตุลาคม 2565 หดตัว 4.4% ครั้งแรกในรอบ 20 เดือน สาเหตุจากเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัวลง เงินเฟ้อ โควิด คาดลากยาวถึงปีหน้า แต่ภาพรวมมั่นใจการส่งออกทั้งปี 2565 ขยายตัวเกินเป้า 4%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือนตุลาคม 2565 พบว่ามีมูลค่า 21,772.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 4.4% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัว 2.8% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 20 เดือน ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2564 ที่หดตัว 2.8% ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 22,368.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 2.1% ส่งผลให้ไทย ขาดดุลการค้า 596.4 ล้านเหรียญสหรัฐ

แต่ถ้าดูการส่งออกไทย 10 เดือนแรก มูลค่า 243,138.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ยังขยายตัวได้ที่ 9.1% และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับนามัน ทองคำ และ ยุทธปัจจัย ขยายตัว 7.4%  ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 258,719.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 18.3% ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 15,581.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่งออก ต.ค.65 ติดลบ

ปัจจัยกระทบการส่งออกไทย

ปัจจัยลบ -การส่งออกที่หดตัวเป็นผลมาจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าชะลอตัวลง จากการใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของผู้บริโภค และตลาดจีน ที่ยังคงใช้มาตรการโควิดเป็นศูนย์ เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การส่งออกสินค้าในหลายหมวด ชะลอตัวลง รวมไปถึงแรงเสียดทานจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จึงคาดว่าจะมีแนวโน้มกระทบถึงปี 2566

ปัจจัยบวก - จากภาวะเงินบาทอ่อนค่า และค่าระวางเรือที่เริ่มปรับเข้าสู่สมดุล ขณะที่การส่งออก 2 เดือนยังไม่สามารถประเมินได้ว่าการส่งออก จะหดตัวหรือไม่ แต่เชื่อว่าการส่งออกทั้งปี 2565 จะขยายตัวได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4% ซึ่งเชื่อว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งเท่าตัว ทั้งการขยายตัวและมูลค่าการส่งออก

การส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่หดตัว

 

1. ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 4.5

โดยหดตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 0.9 จีนร้อยละ 8.5 ญี่ปุ่น ร้อยละ 3.1 อาเซียน (5) ร้อยละ 13.1 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 9.8 ขณะที่ CLMV ขยายตัวร้อยละ 10.6

2. ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 5.7

โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ร้อยละ 21.8 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 22.5 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 5.0 รัสเซียและกลุ่ม CIS

ร้อยละ 62.9 ขณะที่ทวีปออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 18.8 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 22.4  

3.ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 51.7

อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 103.5

ตลาดส่งออกที่ขยายตัว

สถิติการส่งออกรายสินค้าสำคัญ 

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษต หดตัว 3.4% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 23 เดือน แต่10 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรยังขยายตัว 12.0% (YoY) แต่ยังมีสินค้าสาคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ 

-ข้าว ขยายตัว 2.8% ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดอิรัก จีน แอฟริกาใต้ เซเนกัล และญี่ปุ่น) 
-ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูป ขยายตัว 38.0% ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย)

-ผลิตภัณฑ์มันสาปะหลัง ขยายตัว 26.3% (ขยายตัวในตลาดจีน ไต้หวัน มาเลเซีย เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย)

-อาหารทะเลกระป๋องและ แปรรูป ขยายตัว 0.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย ลิเบีย และเกาหลีใต้)

-อาหารสัตว์เลียง ขยายตัว 4.8% ขยายตัวต่อเนื่อง 38 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และเยอรมนี)

-เครื่องดื่ม ขยายตัว 20.3% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม เมียนมา สิงคโปร์ จีน และมาเลเซีย)

-ทุเรียนแช่แข็ง ขยายตัว 23.4% ขยายตัว ต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน)

-ไอศกรีม ขยายตัว 13.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 29 เดือน (ขยายตัว ในตลาดกัมพูชา เกาหลีใต้ เวียดนาม ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์)

-กล้วยไม้ ขยายตัว 10.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 20 เดือน (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม สหรัฐฯ อิตาลี บราซิล และเกาหลีใต้)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่

-ยางพารา หดตัว 28.5% หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ตุรกี และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เยอรมนี โรมาเนีย และโปแลนด์)

-ผลไม้สดและผลไม้แห้ง หดตัว 34.9% หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฮ่องกง และสหรัฐ แต่ขยายตัว ในตลาดฟิลิปปินส์ เนเธอร์แลนด์ ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ และออสเตรเลีย)

-ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัว 11.3% หดตัวในรอบ 18 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดจีน รัสเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ และเมียนมา)

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว 3.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวในรอบ 20 เดือน แต่ยังมีสินค้า สำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่

-รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัว 5.1% ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ซาอุดีอาระเบีย และนิวซีแลนด์)

-อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคา) ขยายตัว 5.4% ขยายตัวต่อเนื่อง 20 เดือน (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐ-อาหรับเอมิเรตส์ เบลเยียม ญี่ปุ่น)

-เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัว 90.6% ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฮ่องกง และเนเธอร์แลนด์)

-เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัว 8.5% ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม ไต้หวัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และฝรั่งเศส)

-อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัว 74.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย จีน และไต้หวัน)

*รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัว 14.9% ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ กัมพูชา เบลเยียม และออสเตรเลีย)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัว 22.8% หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน เวียดนาม อินเดีย มาเลเซีย และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดลาว) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หดตัว 27.4% กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์

แต่ขยายตัวในตลาดจีน ไต้หวัน ไอร์แลนด์ อินเดีย และออสเตรเลีย) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัว 13.1% หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม และจีน แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย แคนาดา ลาว และกัมพูชา) ทั้งนี้ 10 เดือนแรกของปี 2565 การ ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัว 7.8% (YoY)

แผนงานเชิงรุกเพื่อสนับสนุนการส่งออก

  • การผลักดันไทยให้เป็นแหล่งผลิตและ แปรรูปข้าวเพื่อส่งออก
  • การหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เพื่อจับคู่เครือข่ายภาครัฐและเอกชนตามแนวคิด Co-create Vision เพื่อลงทุนซื้อขายสินค้าและบริการ การบริหารซัพพลายเชนร่วมกัน รวมไปถึงการส่งเสริม แนวทางเศรษฐกิจ BCG หรือ Green Economy

นอกจากนี้ ไทยยังได้ขอให้ญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทให้ความรู้เกี่ยวกับ กฎเกณฑ์กติกาในการส่งออกสินค้าเกษตรแก่ไทยด้วย เนื่องจากปัจจุบันไทยยังส่งออกสินค้าเกษตรต่ากว่าโควตา ที่รัฐบาลญี่ปุ่นมอบให้อยู่มาก (3) มาตรการส่งเสริมการส่งออกปาล์มนามันของไทย เพื่อรักษาสมดุลในด้านราคา หลังอินโดนีเซียและมาเลเซีย เร่งส่งออกน้ามันปาล์มสู่ตลาดโลก ส่งผลให้ราคาปาล์มเริ่มปรับลดลง โดยเสนอให้ที่ ประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ามันแห่งชาติ (กนป.) มีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม และสนับสนุนการ ส่งออกกิโลกรัมละ 2 บาท เพื่อให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้

อนาคตการส่งออกไทย

แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่าการส่งออกของไทยยังสามารถบรรลุกรอบ เป้าหมายที่วางไว้ โดยมีปัจจัยหนุนจากต้นทุนด้านพลังงานที่เริ่มลดลง ค่าระวางเรือขนส่งสินค้าที่เข้าสู่สมดุล อุปทานชิปประมวลผลที่มีมากขึ้นเพียงพอต่อการผลิตสินค้าเทคโนโลยีเพื่อการส่งออก การขยายตัวของ นักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยที่ส่งผลดีต่อมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว และเงินบาทที่ยังอ่อนค่า เมื่อเทียบกับคู่ค้าหลักของไทย

อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการหดตัวของอุปสงค์ในคู่ค้าสาคัญ ความไม่แน่นอน ที่เกิดจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และจีน รวมไปถึงความไม่สงบในยูเครนที่ยังคงอยู่ เป็นปัจจัยเฝ้าระวังที่ กระทรวงพาณิชย์ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

 ที่มา กระทรวงพาณิชย์ 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT