ข่าวเศรษฐกิจ

สศช.คาดGDPไทยปี 65 โต 3.2 % IMF ระบุเศรษฐกิจไทยสดใส ว่างต่ำสุดในโลก

21 พ.ย. 65
สศช.คาดGDPไทยปี 65 โต 3.2 % IMF ระบุเศรษฐกิจไทยสดใส ว่างต่ำสุดในโลก

 

วันนี้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัว 3.2%  และ และปี 2566 3.0 – 4.0%  ซึ่งถือว่า สอดคล้องกับ ตัวเลขของ IMF ที่ออกคาดการณ์เมื่อ2 วันก่อน ว่า เศรษฐกิจไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ปีหน้า GDP เป็นบวกได้ คาด 3.%และอัตราการว่างงานของไทยต่ำที่สุดในโลก


สภาพัฒน์ฯ ออกรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2565 เร่งขึ้นจาก 1.5% ในปี 2564 คาดขยายตัว 3.2%  ก่อนจะขยายตัวในช่วง 3.0 – 4.0% ในปี 2566 โดยมีแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวต่อเนื่องของอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุน และการขยายตัวของการผลิตภาคเกษตร ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2565 คาดว่าจะอยู่ที่ 6.3% ก่อนจะขยับมาอยู่ที่ 2.5 – 3.5% ในปี 2566  ซึ่งถือว่าแนวโน้มเงินเฟ้อปีหน้าปรับลดลง 

รายงาน IMF  ระบุ GDP ไทยเป็นบวกได้ดี อัตราการว่างงานต่ำสุดในโลก  

ตัวเลขเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2565 และ 2566 ของสภาพัฒน์สอดคล้องกับ รายงาน ก่อนหน้านี้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ที่ในรายงานระบุว่า ไทยและจีนเป็นเพียงสองประเทศในเอเชียนที่เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2566 เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ปีก่อนหน้า ไม่นับรวมฮ่องกงและมาเก๊า โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทยนั้นมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 2.8% ในปีนี้ เป็น 3.7% ในปี 2566 

นอกจากนี้ คาดการณ์อัตราว่างงานของไทยยังต่ำที่สุดในโลกที่ 1.0% ทั้งในปีนี้และปีหน้า ขณะที่ในปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงโควิด-19 ระบาดอย่างหนัก อัตราว่างงานของไทยอยู่ที่ 1.5% เป็นรองแค่คูเวตที่ 1.3% เท่านั้น 

ผู้อำนวยการ IMF นางคริสตาลินา จอร์เจียวา ซึ่งได้เดินทางมาร่วมประชุมเอเปค 2022 ในประเทศไทยพอดี  ได้เปิดเผยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจโลกว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกกำลังชะลอตัวลงแบบเป็นวงกว้างและมากกว่าที่คาด ส่วนอัตราเงินเฟ้อแตะระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษ

ผอ.IMF พบ นายกฯไทย

IMF คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2566 จะขยายตัวแบบชะลอตัวที่ 3.2% จากการขยายตัว 6.0% ในปี 2564 นอกจากนี้ ยังคาดว่าจะชะลอตัวลงเพิ่มเติมสู่การขยายตัว 2.7% ในปี 2566 จากผลกระทบวิกฤตค่าครองชีพ ภาวะการเงินที่ตึงตัวขึ้นในเกือบทุกภูมิภาค การรุกรานยูเครนของรัสเซีย และการแพร่ระบาดแบบต่อเนื่องของโควิด-19 ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ถ่วงแนวโน้มเศรษฐกิจโลก 

ผู้อำนวยการ IMF นางคริสตาลินา จอร์เจียวา ซึ่งได้เดินทางมาร่วมประชุมเอเปค 2022 ในประเทศไทย  มองว่า เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกเอเปค 21 ชาติส่วนใหญ่กำลังชะลอตัวลง และอย่างน้อย 1 ใน 3 ของโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยสหรัฐ จีน และยุโรปเผชิญภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวพร้อมกัน และทั้ง 3 เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลก ดังนั้นเมื่อทั้ง 3 ชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT