ข่าวเศรษฐกิจ

สหรัฐฯ เหลื่อมล้ำหนัก CEO ขึ้นค่าตัว 55 ล้าน ประชาชนจนเพิ่ม ร้อยล้านคน

16 พ.ค. 65
สหรัฐฯ เหลื่อมล้ำหนัก CEO ขึ้นค่าตัว 55 ล้าน ประชาชนจนเพิ่ม ร้อยล้านคน

วิกฤตการณ์ “โควิด-19” ที่เกิดขึ้นเป็นตัวเร่งที่ทำให้ “ปัญหาความเหลื่อมล้ำ” ซ้ำเติมประชาชนทั่วทุกมุมโลก ไม่เว้นแต่มหาอำนาจอย่าง สหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ1 ของโลก มีข้อมูลพบว่า คนรวยิ่งรวย คนจนยิ่งจน เพราะบรรดา “ซีอีโอ” ของบริษัทชั้นนำในสหรัฐกำลังยิ้มแก้มปริกับค่าตอบแทนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 55 ล้านบาท ส่วนประชาชนกว่า 100 ล้านคน กำลังสิ้นเนื้อประดาตัว และประสบปัญหาความยากจนอยู่

 

993980

 

CEO ในสหรัฐ ค่าตอบแทนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 9 ปีซ้อน

 

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2012 ค่าตอบแทนเฉลี่ยของผู้ที่ก้าวเข้ามานั่งตำแหน่ง “ซีอีโอ” หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐ อยู่ที่ราว 6.96 ล้านดอลลาร์ (242.12 ล้านบาท) ต่อปี มาในวันนี้ ผลสำรวจล่าสุดจาก Wall Street Journal รายงานว่า ค่าตอบแทนเฉลี่ยของซีอีโอในสหรัฐเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา 9 ปีแล้ว โดยในปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็น 14.67 ล้านดอลารร์ (510.33 ล้านบาท) เพิ่มจากปีก่อน 12% คิดเป็นเงินเกือบ 55 ล้านบาทเลยทีเดียว

 

กลุ่มธุรกิจที่ให้ค่าตอบแทนสูงสุดได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยีและสื่อ โดยค่าเฉลี่ยของซีอีโอที่ได้เงินสูงสุด 25 คนของสหรัฐ ได้ค่าตอบแทนเฉลี่ยคนละ 35 ล้านดอลลาร์ (1.2 พันล้านดอลลาร์) ซีอีโอที่ได้ค่าตอบแทนสูงสุดในปี 2021 คือ Peter M. Kern ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท Expedia Group บริษัทที่ให้บริการในด้านการท่องเที่ยวและการช้อปปิ้งออนไลน์ ได้รับค่าตัวสูงถึง 296.25 ล้านดอลลาร์ หรือมากกว่า “1 หมื่นล้านบาท” เลยที่เดียว เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึงกว่า 6,952%

 

(s)000_1mf8qc

 

ด้าน “ทิม คุก” ซีอีโอของบริษัทแอปเปิล ติดชาร์ตในอันดับที่ 4 ได้รับค่าเหนื่อย 98.7 ล้านดอลลาร์ (3.43 พันล้านบาท) ในปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 569% “มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก” แห่ง Meta ได้ค่าตอบแทน 26.82 ล้านดอลลาร์ (933 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 6% จากปีก่อน

 

โดยค่าตอบแทนที่บริษัทมอบให้กับซีอีโอเหล่านี้ อาจจะเป็นเงินสดเพียงจำนวนหนึ่ง แต่มอบเป็นหุ้นบริษัทซึ่งมีมูลค่ามหาศาลให้แทน อย่างเช่น ปู่วอร์เรน บัฟเฟตต์ แห่ง Berkshire Hathaway ได้ค่าตอบแทนเป็นเงินสดไม่ถึง 1 ล้านดอลลาร์ อีลอน มัสก์ แห่ง Tesla ไม่ได้ค่าตอบแทนในตำแหน่งซีอีโอเลย แต่หุ้นที่พวกเขาได้รับ ก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้พวกเขาเป็นอัครมหาเศรษฐีระดับโลก

 

เหลื่อมล้ำยาวนานกว่า 43 ปี

 

977908

 

สถิติความเหลื่อมล้ำของโลกในปี 2022 จาก World Population Review ชี้ให้เห็นว่า ในสหรัฐอเมริกา ประชาชนคนรวย 1% ถือครองความมั่งคั่ง 20% ของรายได้ ในขณะที่ประชาชนชั้นล่างกว่า 50% ของประเทศต้องแก่งแย่งความมั่งคั่ง 10% ของประเทศ สะท้อนปัญหา “รวยกระจุก จนกระจาย” คล้ายบ้านเรา

 

โดยนับตั้งแต่ปี 1978 หรือกว่า 43 ปีที่แล้ว มาจนถึงวันนี้ ข้อมูลจาก World Inequality Database แสดงให้เห็นว่า ปัญหา “คนรวยยิ่งรวย คนจนยิ่งจน” ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำร้ายประชาชนสหรัฐอยู่จนมาถึงปัจจุบัน และยิ่งถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากโควิด-19 

 

โดย UN รายงานว่า ปัญหาความยากจนย่ำแย่ลงต่อเรื่องมาเป็นเวลากว่า 25 ปีแล้ว โดยในปีล่าสุดนี้ มีประชากรมากกว่า 100 ล้านคนถูกจัดว่าเป็น “คนจน”

 

800397

 

ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐ พยายามจะออกมาแก้ไขปัญความเหลื่อมล้ำในครั้งนี้ โดยออกมาตรการจัดเก็บภาษีจากบริษัทและครัวเรือน สร้างรายให้รัฐได้มากกว่า 400,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อกระจายรายได้ให้กับประชาชนที่ลำบาก และบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น ให้เบาบางลง

 

ที่มา The Hill, Wall Street Journal, World Population Review, World Inequality Database, UN

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาตินี้ไม่มีวัน “รวย” ทำไมอเมริกากว่า 74% ทิ้งฝันเป็นเศรษฐี?

2 มหาเศรษฐีไอทีเปลี่ยนโลก อีลอน มัสก์ และ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก

เศรษฐีไทย 28 คน ขึ้นทำเนียบมหาเศรษฐีพันล้าน(ดอลลาร์) ของ Forbes

เปิด 10 อันดับ มหาเศรษฐีพันล้าน "คริปโทฯ"

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT