ข่าวเศรษฐกิจ

พาณิชย์ลดราคา Lot 18 ดึงสินค้ากว่า 2 พันรายการ 13 พ.ค.-12 มิ.ย.นี้

14 พ.ค. 65
พาณิชย์ลดราคา Lot 18 ดึงสินค้ากว่า 2 พันรายการ  13 พ.ค.-12 มิ.ย.นี้

เปิดโครงการพาณิชย์ลดราคา Lot 18 ดึงสินค้ากว่า 2 พันรายการร่วมลดค่าครองชีพ จัด 4 มุมเมืองในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 13 พ.ค.-12 มิ.ย.นี้

กระทรวงพาณิชย์จัดโครงการพาณิชย์ลดราคา 4 มุมเมืองช่วยประชาชน ล็อตที่ 18 ซึ่งจะจัดในพื้นที่ 4 มุมเมืองในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อนำสินค้า 10 หมวดสำคัญ เกือบ 2,000 รายการ มาลดราคาช่วยบรรเทาค่าครองชีพให้ประชาชน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ครั้งที่ 1 วันที่ 13-15 พ.ค. 65 จัดที่เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์
ครั้งที่ 2 วันที่ 27-29 พ.ค. 65 จัดที่ศูนย์เคหะชุมชนห้วยขวาง
ครั้งที่ 3 วันที่ 3-5 มิ.ย. 65 จัดที่สนามฟุตบอลเคหะชุมชนร่มเกล้า
ครั้งที่ 4 วันที่ 10-12 มิ.ย. 65 จัดที่ศูนย์ลานกีฬาบางขุนเทียน เคหะชุมชนธนบุรี 3

ส่วนในต่างจังหวัด จะให้พาณิชย์จังหวัดเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป

istock-649691472

สำหรับสินค้าที่นำมาจำหน่ายในราคาพิเศษ ประมาณ 200 บูธ ผู้ประกอบการกว่า 150 ราย ประกอบด้วยสินค้า 10 หมวดสำคัญ เกือบ 2,000 รายการ ลดสูงสุด 75% โดยสินค้า 10 หมวด ประกอบด้วย

  1. หมวดอาหารสำเร็จรูป ลดราคา 13-67%
  2. หมวดซอสปรุงรส เครื่องเทศ ลด 15-50%
  3. หมวดสินค้าชำระร่างกาย ลด 16-69%
  4. หมวดซักล้าง ลด 24-55%
  5. หมวดของใช้ภายในบ้าน ลด 20-72%
  6. หมวดเครื่องแต่งกาย เช่น เสื้อผ้า ชุดนักเรียน กระเป๋า รองเท้า ลด 22-75%
  7. หมวดสินค้า OTOP ลด 14-41%
  8. หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า

  9. หมวดอาหารสด ประกอบด้วย หมูเนื้อแดง 160 บาท/กก. น่องไก่ติดสะโพก 65 บาท/กก. น้ำตาลทราย ถุงละ 1 กิโลกรัม ราคา 18 บาท น้ำมันปาล์ม ขวดละ 59 บาท ไข่เบอร์ M ฟองละ 3.16 บาท ข้าวหอมมะลิ ถุง 5 กก. 120 บาท ข้าวขาว 5% ถุง 5 กก. ราคา 89 บาท

  10. หมวดผลไม้สด เพื่อสนองนโยบายโครงการ พาณิชย์ Fruit Festival 2022 นำผลไม้สดจากหลายแหล่งทั่วประเทศ เช่น ทุเรียนหมอนทองจันทบุรี กก.ละ 160 บาท มะม่วง R2E2 มะม่วงแดงจักรพรรดิ มะม่วงจินหงส์ กก.ละ 15 บาท เงาะโรงเรียน จังหวัดตราด กก.ละ 35 บาท สับปะรดภูแล กก.ละ 10 บาท เป็นต้น


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้กระทรวงพาณิชย์เดินหน้าภารกิจสำคัญในช่วงภาวะค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น โดยได้ดำเนินการใน 2 เรื่อง คือ 1. ให้ราคาสินค้าปรับขึ้นเท่าที่ต้นทุนจริงปรากฏ ไม่ให้ค้ากำไรเกินควร ถ้ายังตรึงราคาได้ ก็จะให้ตรึงราคา เพื่อให้กระทบผู้บริโภคให้น้อยที่สุด และไม่กดราคาเกษตรกร โดยให้ 3 ฝ่ายอยู่ได้แบบ วิน-วิน โมเดล ทั้งเกษตรกรเจ้าของวัตถุดิบ ผู้ประกอบการแปรรูป และผู้บริโภค และ 2. การช่วยลดค่าครองชีพ เช่น การจัดโครงการพาณิชย์ลดราคาดังกล่าว

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT