ข่าวเศรษฐกิจ

คนไทยแห่แลกเงิน"เยน"ญี่ปุ่น อ่อนค่าหนักสุดรอบ 20 ปี ตุนเงินไว้เตรียมทัวร์ญี่ปุ่น

21 เม.ย. 65
คนไทยแห่แลกเงิน"เยน"ญี่ปุ่น  อ่อนค่าหนักสุดรอบ 20 ปี   ตุนเงินไว้เตรียมทัวร์ญี่ปุ่น

คนไทยพร้อมเที่ยวญี่ปุ่น แห่แลกเงินเยนเพิ่มขึ้นเกิน 100% หลังเงินเยนอ่อนค่าสุดรอบ 20 ปี ตุนเงินรอทัวร์ หากเจแปนเปิดประเทศ ดันอันดับแลกเงินเยนขึ้นพรวดที่ 3 คาดหากรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศเปิดประเทศ หนุนคนไทยแลกเยนทะลักต่อเนื่อง

 

ยอดแลกเงิน "เยน" ซุปเปอร์ริช โตทะลุ 100%

นายปิยะ ตันติเวชยานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซุปเปอร์ริช อินเตอร์เนชั่นเนล เอ็กซ์เชนจ์ (1965) กล่าวกับ "SPOTLIGHT" ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2565 มีคนไทยนำเงินบาทมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินเยนมีปริมาณธุรกิจเติบโตขึ้นมากกว่า 100% เมื่อเปรียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งมีอันดับความนิยมในการแลกเปลี่ยนเงินเยนเพิ่มสูงขึ้่นมาอยู่ที่อันที่ 3 จากเดิมที่อยู่อันดับที่ 6 โดยสาเหตุที่มีความต้องการแลกเงินเย็นเพิ่มสูงขึ้น

 

 444511

 

เนื่องจากทิศทางของค่าเงินเยนล่าสุดที่อ่อนค่าลงต่่ำสุดในรอบประมาณ 20 ปี ส่งผลให้ขณะนี้มีคนไทยจำนวนมากนิยมนำเงินบาทมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินเยนเตรียมเก็บไว้ เพราะเงินเยนที่อ่อนค่าลงทำให้สามารถแลกเงินเยนได้ในราคาที่ถูกเพื่อเตรียมความพร้อมไว้ใช้รองรับการเดินท่องเที่ยวเมื่อญี่ปุ่นเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นถือเป็นประเทศแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมอยู่ในอันดับของคนไทยอยู่แล้ว รวมถึงเริ่มมีนักศึกษาชาวไทยจำนวนมากที่มีแผนเเดินทางไปศึกษาต่อที่ญี่ปุ่นก่อนหน้า

 

แต่ที่ผ่านมาเกิดสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาดจึงเดินทางออกไปไม่ได้ แต่ปัจจุบันเริ่มสามารถเดินทางออกไปได้แล้วที่ต้องใช้เงินเยนในการเดินทางไปศึกษาต่อด้วย

 

ดังนั้นคนไทยจึงเริ่มทยอยแลกเปลี่ยนเงินเยนเตรียมเก็บไว้หากญี่ปุ่นมีนโยบายกลับมาเปิดประเทศให้ชาวต่างชาติกลับเข้าท่องเที่ยวได้ซึ่งยังต้องติดตามว่ารัฐบาลญี่ปุ่นการประกาศนโยบายเกี่ยวกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในวันที่ 1 พ.ค. นี้ อีกทั้งเริ่มเห็นสัญญาณที่รัฐบาลของไทยเริ่มทยอยผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าออกประเทศของทั้งชาวไทยและต่างชาติให้ทำได้สะดวกขึ้น โดยเริ่มเห็นปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นชัดเจนตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมี.ค. ที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงเดือนเม.ย. นี้

 

"ช่วงนี้ที่คนไทยหันมาแลกเงินเยนเก็บไว้ในช่วงนี้ เหตุผลให้น้ำหนักไปที่ 80-90% มาจากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าที่สุดในรอบประมาณ 20 ปีทำให้มีดีมานด์เพิ่มมากขึ้น เพราะที่ผ่านคนไทยไม่ได้ไปเที่ยวต่างประเทศมานาน แต่ถ้าเปรียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ระบาดที่ยังเดินทางท่องเที่ยวได้ปกติ ธุรกิจแลกเงินเยนในช่วงนี้กลับมาเพียงสัดส่วน 30% เท่านั้นในช่วงก่อนโควิดระบาด แต่ถ้าวันแรงงานนี้(1 พ.ค.) รัฐบาลญี่ปุ่นออกมาพูดเรื่องการผ่อนคลายเปิดรับนักท่องเที่ยวก็มีโอกาสที่จะเห็นคนไทยมาแลกเงินเยนมีโอกาสทะลักจากปัจจุบันได้ด้วยเพื่อเตรียมเก็บไว้ใช้ไปเที่ยวญี่ปุ่น" นายปิยะ กล่าว

 

"แบงก์กรุงเทพ" ชี้เป็นเรตดีบาทใช้แลกเยนของคนไทย

ด้าน ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูลรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ระบุว่า ค่าเงินเยนที่อ่อนค่าสุดในรอบ 20 ปี ซึ่งอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่วัน ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากญี่ปุ่นยังต้องพยุงเศรษฐกิจของตนเองไว้ พยายามกดดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล

 

โดยธนาคารกลางญี่ปุ่นได้เพิ่มขนาดของงบดุล (Balance Sheet) หรืองบดุลของตนเองอย่างรวดเร็วในช่วงตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา สวนทางกับหลาย ๆ ธนาคารกลางที่กำลังจะดูดสภาพคล่องกลับ

 

“ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่นักลงทุนจึงกังวลใจและเทขายเงินเยนมาตั้งแต่ต้น มี.ค.ที่ผ่านมา และส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงเป็นประวัติการณ์” ดร.กอบศักดิ์  ระบุ


สำหรับ คนที่อยากไปเที่ยวญี่ปุ่น ตอนนี้ถือว่าเป็นอัตราที่ดีมากที่แลกจากบาทดีสุดในรอบ 15 ปี

 

เที่ยวญี่ปุ่น

 

นอกจากนี้ค่าเงินบาท ใกล้ถึงจุดอ่อนสุดในรอบ 5 ปี โดยคงคาดเดาทิศทางของค่าเงินไม่ได้ แต่ด้วย "ความแตกต่างของนโยบาย" ของธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะระหว่างเฟด กับ ธนาคารกลางของสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีนที่เป็นผลมาจากการที่วัฎจักรเศรษฐกิจของสหรัฐฟื้นตัวเร็วกว่าทุกคน และความตึงตัวในระดับที่สูงอย่างไม่เป็นมาก่อนของตลาดแรงงานสหรัฐ ซึ่งทำให้เฟดต้องขึ้นดอกเบี้ยก่อนประเทศอื่นๆ และกำลัง "จัดยาชุดที่แรงขึ้น"

 

ขณะที่ยุโรปยังรอเวลาไปอีกเล็กน้อยจนถึงไตรมาสสุดท้ายก่อนที่จะขึ้นดอกเบี้ย ญี่ปุ่นพยายามปล่อยสภาพคล่องออกมา เพื่อกดดอกเบี้ยของตน และจีนอัดฉีดสภาพคล่อง ลดดอกเบี้ยเป็นระยะๆ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสู้กับวิกฤตอสังหาริมทรัพย์
ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นดัชนีค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ จากระดับ 95 เมื่อต้นปี

 

ล่าสุดทะลุ 101 เรียบร้อย และมุ่งไปสู่ระดับ 104 ที่เคยแข็งสุดในช่วงที่เฟดทำ Quantitative Tightening หรือ QT ครั้งที่แล้ว

 

ขณะที่ล่าสุด(วานนี้) ค่าเงินเยนได้อ่อนไปที่ 129.4 เยน/ดอลลาร์ ค่าเงินหยวนอ่อนลงไปแตะ 6.3966 ค่าเงินยูโรอ่อนไปที่ 1.0761 ดอลลาร์/ยูโร อีกทั้งได้เริ่มมีการพูดถึงกู้ยืมเงินในสกุลที่ให้ผลตอบแทนต่ำ หรือเรียกว่าสกุลเงินระดมทุน(Funding currency) เพื่อมาซื้อสินทรัพย์ที่อยู่ในสกุลเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า (Carry Trade)

 

โดยที่นักลงทุนนำเงินจากประเทศที่ดอกเบี้ยต่ำ ไปลงทุนในประเทศที่ดอกเบี้ยสูง คือ สหรัฐ กันอีกรอบ จากความแตกต่างเชิงนโยบายดังกล่าวหมายความว่า แม้วันต่อวัน เราคงบอกไม่ได้ว่าค่าเงินจะขึ้นลงอย่างไร แต่สำหรับไทย ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มที่จะอ่อนได้อีก ในระยะยาว จากดอลลาร์ที่จะแข็งขึ้น ซึ่งจะมีนัยยะต่อไปยังผู้ส่งออก ผู้นำเข้าต่อไป

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT