สินทรัพย์ดิจิทัล

NFT กับศิลปะที่มากกว่ารูปวาด

18 ก.พ. 65
NFT กับศิลปะที่มากกว่ารูปวาด

ในปี 2021 ที่ผ่านมาอาจจะเป็นครั้งแรกที่ใครหลายๆคนได้ยินคำว่า NFT เป็นครั้งแรก และมักจะเป็นรู้จักในภาพลักษณ์ของศิลปะของโลกดิจิตัล รูปภาพที่แปลกแหวกตา หลายคนอาจจะนำมาตั้งเป็นรูปภาพบนโซเชียลมีเดียต่างๆ และพบว่าหลายๆผลงานก็มีราคาแพงกว่ารถยนต์ 1 คันเสียอีก

 

NFT หรือ Non-Fungible Token เป็นเหมือนหลักฐานแสดงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ ของข้อมูลดิจิตัลซึ่งบันทึกไว้บนบล็อกเชน โดยการทำข้อมูลให้เป็น NFT ทำให้เกิดคุณสมบัติดังนี้

 

  1. Unique – โครงสร้างภายในของโทเคนมีลักษณะเฉพาะ
  2. Rare – ความหายากของโทเคน อาจจะมีการจำกัดจำนวนโทเคน
  3. Indivisible – ไม่สามารถแบ่งซื้อขายเป็นหน่วยย่อยได้ ต้องซื้อขายเต็มจำนวนเท่านั้น เช่น ไม่สามารถซื้อเพียง 50% ของมูลค่าได้

 

และไม่ว่าข้อมูลอะไรก็สามารถนำมาเก็บในฐานะ NFT ก็ได้ ซึ่งหลากหลายอุตสาหกรรม ต่างก็ตื่นตัวที่จะนำ NFT ไปใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น

 

  • วงการเพลง (Music NFT)

Music NFT ถูกพูดถึงอย่างมากในปี 2021 และต่อเนื่องมายังปี 2022 ว่าจะเป็นสิ่งใหม่ที่จะมา Disrupt อุตสาหกรรมเพลง จากการที่ NFT ให้อำนาจคืนแก่ศิลปินเจ้าของเพลงมากขึ้น

 

       Music NFT เข้ามาเปลี่ยนวงการเพลงด้วยกัน 3 ข้อ

  • Collectable หรือ NFT เพื่อการสะสม เช่นเดียวกับของหลายๆอย่างเช่น แผ่นเสียง ศิลปินสามารถสร้างสิ่งของให้กับแฟนเพลงเป็น NFT ให้เก็บเป็นที่ระลึกได้

    158729

     NFT ของ DJ 3LAU

 

  • Utility หรือ NFT เพื่อการนำไปใช้ เช่น 3LAU DJ แนวเพลงอิเล็กทรอนิกส์ เขาได้ประมูลขายงาน NFT ของตนเองโดยให้สิทธิ์ผู้ที่ประมูลไปราคาแพงที่สุด ให้สามารถมาร่วม Collab กับเขาได้ หรือ Mike Shinoda แรปเปอร์ของวง Linkin Park ที่ประมูลขาย NFTพร้อมกับส่งรูปศิลปะของเขาให้กับผู้ชนะพร้อมลายเซ็นต์ เป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงตัวศิลปินที่ชื่นชอบอีกแบบหนึ่ง ทำให้แฟนของศิลปินมีสามารถจะแสดงความเป็นแฟนคลับของตนต่อศิลปินได้มากขึ้น ซึ่งการจินตนาการถึงรูปแบบการใช้ NFT แบบนี้ ไม่มีที่สิ้นสุด ขึ้นอยู่กับศิลปินจะสร้างสรรค์

    mike

                             NFT ของ Mike Shinoda

  • ดึงอำนาจกลับสู่ศิลปิน เนื่องจากศิลปินนั้นมักจะต้องผ่านตัวกลางที่เป็นค่ายเพลง ทำให้ศิลปินได้รับค่าตอบแทนของผลงานตนเองไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ NFT สามารถให้อำนาจกับศิลปิน ในการขายงานของตนให้กับผู้ฟังโดยตรง ทำให้กำไรทั้งหมดสามารถกลับมาสู่ศิลปินได้ อีกทั้งยังอาจทำให้ผู้ซื้อสามารถนำไปใช้ทำกำไรได้ต่อ หากขายทอดเปลี่ยนมือไป ซึ่งทำให้ศิลปินเจ้าของงานยังได้รับผลตอบแทนจากการขายทอดอีกจากสิ่งที่เรียกว่า Royalty fee Mike Shinoda เคยกล่าวถึงการขายงานของเขาว่า เข้าไม่อยากจะเชื่อกับรายได้ของผลงานของเขา แม้ว่าปกติการอัปโหลดเพลงที่มีอยู่ในเวอร์ชั่นเต็มไปยังแพลทฟอร์มแพลงทั่วโลก แต่เขาก็ไม่มีทางได้ถึง 10,000 ดอลลาร์ หลังหักค่าธรรมเนียมที่แพลทฟอร์ม , การตลาดและอื่น ๆ ที่ถูกเก็บระหว่างทาง”

  • วงการเกม (Game NFT)

วงการเกม มีตลาดขนาด 180,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2021 โดยที่ส่วนแบ่งการตลาดอยู่ในมือของผู้พัฒนาเกมเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการจัดการแข่งขันเกมที่มีสโมสรสนับสนุนเช่นเดียวกับกีฬา เกมเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างมาก อย่างไรก็ตามปี 2021 เราได้เห็นกระแสของบล็อกเชนเกม ที่สามารถเล่นเพื่อความสนุก และได้รับรางวัลเป็นคริปโตเคอเรนซี่ ทำให้เกิดเป็นระบบเศรษฐกิจบนเกม ผู้เล่นได้รับประสบการณ์ที่ต่างออกไปจากเกมบนแพลทฟอร์มเดิม และดึงดูดทั้งผู้เล่น และนักลงทุนเข้าสู่โลกของเกม และสามารถเชื่อมโยงไปยังโอกาสของ Metaverse ได้ Game NFT จะเพิ่มพลังให้กับอุตสาหกรรมเกมส์


ด้วยความสามารถในการสะสมสิ่งของที่สามารถสะสมได้จริง รวมถึงการแสดงสถานะผ่าน NFT ของเกมทำให้ ผู้เล่นยักษ์ใหญ่จากอุตสาหกรรมเกม เตรียมตบเท้าเข้าสู่โลกของ NFT มากมาย เช่น Ubisoft (เจ้าของเกม Assassin’s Creed), Konami (เจ้าของเกมการ์ด Yu-Gi-Oh), Electronic Art (เจ้าของเกมซีรีส์ Battlefield) ต่างประกาศลงทุนเพื่อพัฒนาเกมที่ใช้ NFT ขับเคลื่อนระบบของเกมทั้งสิ้น

 55

 

จะเห็นได้ว่า NFT เป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเสริมสร้างความสามารถให้กับผู้มีไอเดีย ทำให้สามารถต่อยอดไปสู่การทำแพลทฟอร์มที่ให้ความเป็นเจ้าของแก่ผู้ถือ NFT และทำให้ผู้ผลิตได้รับผลประโยชน์ที่มากขึ้นจากการตัดตัวกลาง และการสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่กับฐานลูกค้าของตน

ในอนาคต เราอาจจะได้เห็นการนำ NFT ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นที่สร้างสรรค์อีกมากมาย เนื่องจากเทคโนโลยีนี้ยังใหม่มาก และความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ก็ไม่มีที่สิ้นสุด

 

 

ศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์

ศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์

อดีตนายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย และ CEO and Founder at Bitcast

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT