ธุรกิจการตลาด

'การบินไทย' ผลงานยังขาดทุน ไตรมาส 2/65 ติดลบกว่า 3 พันล้านบาท

15 ส.ค. 65
'การบินไทย' ผลงานยังขาดทุน ไตรมาส 2/65 ติดลบกว่า 3 พันล้านบาท

จากวิกฤตราคาน้ำมันแพงในช่วงที่ผ่านมา นอกจากจะมีผลต่อชีวิตประจำวันให้เราต้องเติมน้ำแพงในปีนี้เคยเห็นน้ำมันเบนซินทะลุ 50 บาทต่อลิตรมาแล้ว แม้ตอนนี้จะเห็นการย่อลงตัวลงบ้างแล้ว แต่ในภาคธุรกิจยังสร้างผลกระทบให้เห็นต่ออีกด้วย โดยเฉพาะน้ำมันถือต้นทุนหลักในภาคธุรกิจการขนส่ง

 

หนึ่งนั้นคือ ธุรกิจการบินขนาดใหญ่ อย่าง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)(THAI) ก็หนีไม่พ้นด้วยเช่นกัน ล่าสุด ประกาศผลประกอบการไตมาส 2 ปี 2565 มีผลขาดทุนสุทธิ 3,213 ล้านบาท เป็นการขาดทุนต่อเนื่องจากไตรมาส 1 ปี 2565 ที่ มีผลขาดทุนสุทธิ 3,247 ล้านบาท มาแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับในปี 2564 มีกำไรสุทธิ 23,326 ล้านบาท ซึ่งผลการขาดทุนของการบินไทยที่เกิดขึ้นในไตรมาส 2 ปี 2565 มาจากหลายๆ ปัจจัยลบที่กดดันการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะค่าใช้จ่าย และต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างหนักมารุมเร้าถ่วงจนเกินกว่าจะทำผลงานให้มีกำไรได้

 

'การบินไทย' ขาดทุนรับพิษน้ำมันแพง

การบินไทยขาดทุน

 

ปัจจัยสำคัญที่ยังกดดันผลการดำเนินงานของ การบินไทย คือ ปัญหาค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพราะในตัวไตรมาส 2/2565 มีค่าใช้จ่ายมาก 22,825 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 126.3% จากปี2564 เป็นไปตามตามปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าน้ำมันอากาศยานที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อน 104.1% ทำให้รายจ่ายน้ำมันขึ้นทะยานมาสู่ระดับ 8,946 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 39.2% ของรายจ่ายดำเนินงานทั้งหมด อีกยังมีต้นทุนทางการเงินจำนวน 3,102 ล้านบาท และมีผลขาดทุนจากด้อยค่าของสินทรัพย์ และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอีกด้วย แม้ว่าจะสามารถบริหารค่าใช้จ่ายบุคลากรลดลงจากการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ

 

แม้ว่าในไตรมาส 2 ปี 2565 'การบินไทย' จะมีรายได้รวม 21,526 ล้านบาท โดยมีการเติบโตอย่างโดดเด่นถึง 282% ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าค่อนข้างดี การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินจากการทยอยผ่อนคลายและยกเลิกมาตรการควบคุมและจำกัดการเดินทางของประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 เป็นต้นมา เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้รายได้จากกิจกรรมขนส่งของบริษัทฯ เติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีผลการดำเนินงานที่ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น

 

 

'การบินไทย' ไตรมาส 2/65 มีผู้โดยสารเท่าไหร่?

การบินไทย มีจำนวนผู้โดยสาร

 

  • ปริมาณการผลิตผู้โดยสาร (ASK) เพิ่มขึ้น 366.6%
  • ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) เพิ่มขึ้นถึง 1,766.9%
  • อัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 60.3% สูงกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ยที่ 15.1%
  • มีจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 2.01 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 570%
  • มีปริมาณการผลิตด้านการขนส่งสินค้า (ADTK) สูงกว่าปีก่อน 384.4%
  • มีปริมาณการขนส่งสินค้(RFTK) สูงกว่าปีก่อน 241.5% อัตราส่วนการขนส่งสินค้า (Freight Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 69.0%

 

แต่มื่อดูข้อมูลแนวโน้มปริมาณการเดินทางและขนส่งที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในเดือน ก.ค. 2565 ที่ผ่านมา จะเห็นว่าอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) ของ 'การบิน' เฉลี่ยปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 77.7% ทำให้รายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าของบริษัทฯ และบริษัทย่อยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 10,000 ล้านบาท ด้วยสัดส่วนการขนส่งผู้โดยสารกว่า 30% ของจำนวนผู้โดยสารเข้า-ออกประเทศไทยทั้งหมด 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT