สภาพัฒน์ ลด GDP ไทย ปี 64 เหลือ 0.7-1.2% หลังล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว

16 ส.ค. 64

16 ส.ค. 64 กรณี GDP ไทย นายอนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กล่าวถึงการขยายตัวเศรษฐกิจไทย GDP ในไตรมาส 2/64 ว่า มีการขยายตัว 7.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/63 และขยายตัว 0.4% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/64 ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 2/64

ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับของปีก่อน มาจากการบริโภคภาคเอกชน ที่ขยายตัว 4.6% และการลงทุนรวมขยายตัว 8.1% โดยการลงทุนจากภาคเอกชนขยายตัว 9.2% และการลงทุนภาครัฐขยายตัว 5.6% ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัว 36.2% ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจครึ่งปีแรกขยายตัวราว 2% จากฐานปีก่อนที่ต่ำผิดปกติ และมีการขยายตัวในบางสาขาสำคัญ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และภาคส่งออกเป็นหลัก ส่วนภาคการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว

ขณะเดียวกัน คาดการณ์ขยายตัวเศรษฐกิจไทยในปี 64 จะขยายตัว 0.7-1.2 % จากประมาณการเดิม 1.5-2.5% โดยผลจากการระบาดโควิดระลอก 3 ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำให้การขยายตัวเศรษฐกิจไทยส่งสัญญาณขยายตัวลดลง จนถึงการประกาศใช้มาตรการควบคุมสูงสุดเข้มงวด(แดงเข้ม) 29 จังหวัด โดย สภาพัฒน์ ใช้สมติฐานการประมาณยอดติดเชื้อจากกระทรวงสาธารณสุขว่า ยอดติดเชื้อจะสูงสุดช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้ และเริ่มลดลงช้าๆ ในเดือนกันยายน ทำปลายปีเชื่อว่าจะสามารถผ่อนคลายเปิดพื้นที่เศรษฐกิจได้ ในไตรมาสที่ 4 และปัจจัยจะมีการกระจายวัคซีนได้ 85 ล้านโดส ในปลายปี 2564 ด้วย ท่ามกลางการขยายตัว เศรษฐกิจโลกที่ประมาณการว่าในปีนี้จะขยายตัวที่ 6 %

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงในช่วงที่เหลือของปี 64 ประกอบด้วยปัจจัย การกลายพันธุ์เชื้อ โควิด-19 ที่จะทำให้การควบคุมการระบาด โควิด-19 ทำได้ยาก , หนี้ภาคครัวเรือนที่สูง , ปัญหาการจ้างงาน การตกงานจากภาคท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบหนักจากการระบาด , ความไม่แน่นอนภาคการส่งออก ต้องระวังผลกระทบการระบาดต่อการผลิต ในโรงงาผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งเป็นภาคที่ยังช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอยู่

อนึ่ง สิ่งที่ต้องทำในการบริหารเศรษฐกิจ 7 เรื่องขณะนี้ คือ ต้องควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดเร็วที่สุด ,การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ , การสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เมื่อการระบาดคลี่คลายลง ,การขับเคลื่อนการส่งออกให้เติบโตต่อเนื่อง ,การขับเคลื่อนการลงทุน และการใช้จ่าย จากเม็ดเงินการลงทุนภาครัฐ การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน และ การดูแลเสถียรภาพการเมืองและเศรษฐกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประกันสังคม แจงสาเหตุ เงินเยียวยา 2,500 บาท ทำไมบางคนได้แล้ว บางคนยังไม่ได้
เช็กเลย! ประกันสังคม ม.33-39-40 ใน 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ได้เงินเยียวยาวันไหนบ้าง
ประกันสังคม ขยายเวลาชำระเงินสมทบงวดแรก ผู้ประกันตน ม.40 ใน 13 จว.แดงเข้ม ถึง 24 ส.ค. นี้

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม