กรมการแพทย์ เตือน ยาฟาวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียง ไม่ได้จ่ายให้ผู้ป่วยทุกคน

4 ส.ค. 64

กรณี ยาฟาวิพิราเวียร์ กรมการแพทย์ เปิดเผยข้อบ่งชี้และผลข้างเคียงของการใช้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ระบุไม่ได้จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์สำหรับผู้ป่วยโควิด 19 ทุกคน จะจ่ายให้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ดังนี้

 669366

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ พล.อ.ต.นพ.อิทธิพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ได้เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กว่า กรมการแพทย์ออกแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 21 ก.ค.2564 การรักษา COVID-19 แบ่งกลุ่มตามอาการได้เป็น 4 กรณี ดังนี้

1.ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ไม่มีอาการอื่น ๆ หรือสบายดี

แนะนําให้แยกกักตัวที่บ้านหรือในสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ ระยะเวลาการกักตัว (ในสถานพยาบาลรวมกับที่บ้าน) อาจนานกว่านี้ในผู้ป่วยบางรายขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

โดยให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์ไม่ให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เองและอาจได้รับผลข้างเคียงจากยา โดยให้พิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรในกลุ่มที่ไม่มีอาการขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง /โรคร่วมสำคัญ ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ

พิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) เริ่มให้ยาเร็วที่สุด หากตรวจพบเชื้อมาเกิน 7 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยอาจไม่จําเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้น่าจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

แนะนําให้แยกกักตัวที่บ้านหรือในสถานที่รัฐจัดให้หากเข้าเกณฑ์ที่จะรับการรักษาแบบ home isolation หรือ community isolation ก็สามารถให้การรักษาในลักษณะดังกล่าวได้โดยให้ปฏิบัติตามหลักการแยกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นเวลาอย่างน้อย (รวมทุกระบบการรักษา) 14 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการหรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น อย่างน้อย 24 - 48 ชั่วโมง

3.ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือมีโรคร่วมสําคัญ หรือผู้ป่วยที่มีปอดบวม (pneumonia) เล็กน้อย ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ข้อ 4

ปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ อายุมากกว่า 60 ปี มีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ โรคไตเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจ และหลอดเลือด รวมโรคหัวใจแต่กําเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้

รวมถึงมีภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กก. หรือ BMI ≥30 กก./ตร.ม.) ตับแข็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ และ lymphocyte น้อยกว่า 1,000 เซลล์/ลบ.มม. หรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงของโรคมากขึ้น

แนะนําให้รักษาในโรงพยาบาล โดยให้อยู่ในระบบการรักษาและการแยกโรคอย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการหรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น (อาจอยู่โรงพยาบาลน้อยกว่า 14 วัน แล้วกลับไปกักตัวต่อที่บ้านจนครบ 14 วัน)

แนะนําให้ยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) โดยเริ่มให้ยาเร็วที่สุด ให้ยานาน 5 วัน หรือมากกว่า ขึ้นกับอาการทางคลินิก ตามความเหมาะสมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

พิจารณาให้ corticosteroid ร่วมกับ favipiravir ในกรณีที่มีผู้ป่วยมีอาการและภาพถ่ายรังสีปอดที่แย่ลง คือ มี progression of infiltrates หรือค่า room air SpO2 ≤96% หรือพบว่ามี SpO2 ขณะออกแรงลดลง ≥3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรก (exercise-induced hypoxia)

4.ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดบวมที่มี hypoxia (resting O2 saturation ≤96 %) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2 ≥3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง (exercise-induced hypoxemia) หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ pulmonary infiltrates

แนะนําให้ยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) เป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิก โดยอาจพิจารณาให้ lopinavir/ritonavir 5-10 วัน ร่วมด้วย (ตามดุลยพินิจของแพทย์) และแนะนําให้ corticosteroid

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดตัว ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ สำหรับเด็ก - ผู้ป่วยกลืนยายา

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ