สภามีมติรับ ร่างรัฐธรรมนูญ พรรคพลังประชารัฐฉบับเดียว ที่เหลือดปัดตกหมด

25 มิ.ย. 64

25 มิ.ย. 64 ที่รัฐสภาในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อพิจารณารับหลักการวาระแรก ร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมรายมาตรา 13 ฉบับ ได้ลงมติแบบขานชื่อเรียงตามลำดับตัวอักษร ตั้งแต่เวลา 17.00 น. จนถึงเวลา 23.30 น. โดยใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง 30 นาที จนครบทุกคนและครบทั้ง 13 ฉบับ จากนั้นได้ใช้เวลานับคะแนนอีกประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยในที่สุดที่ประชุมมีผลมติรับหลักการวาระหนึ่งเพียง 1 ฉบับ คือร่างรัฐธรรมนูญฉบับพรรคประชาธิปัตย์ ประเด็นระบบเลือกตั้งบัตร 2 ใบ ด้วยมติ เห็นชอบ 552 เสียง แบ่งเป็นส.ส.342 ส.ว.210 ไม่เห็นชอบ 24 เสียง งดออกเสียง 130 เสียง ผ่านรับหลักการ

แก้รัฐธรรมนูญ วาระ 3 ถูกโหวตคว่ำ มติเห็นชอบไม่ถึงครึ่งสภา 

สำหรับหลังการลงคะแนนแบบขานชื่อรายบุคคล ผลของการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการปรากฎว่า มีเพียงร่างที่ 13 ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีสาระสำคัญคือเปลี่ยนบัตรเลือกตั้งเป็น 2 ใบ ส่วนที่เหลืออีก 12 ร่างโดยเฉพาะร่างที่ 4 กับ ร่างที่ 11 ปิดสวิตช์ ส.ว. ไม่ผ่านในวาระแรกทั้งหมด

ในการผ่านวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ต้องได้คะแนนเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ 367 จาก 733 เสียง (ส.ส. ที่ปฏิบัติหน้าที่ได้มี 483 คน ส.ว. มี 250 คน) ในจำนวนนี้ต้องมี ส.ว. เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของวุฒิสภา หรือ 84 คน

ทั้งนี้ฉบับอื่นๆ เนื่องจากเสียง ส.ว. ไม่ถึง 84 เสียง ตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดทำให้ต้องตกไป โดยเฉพาะฉบับปิดสวิตช์ ส.ว. และร่างรัฐธรรมนูญฉบับของพรรคพลังประชารัฐ ที่มีปัญหาเสนอแก้กลไกปราบโกงของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีรายละเอียดผลคะแนนแต่ละฉบับดังนี้

1.ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพรรคพลังประชารัฐ แก้ไข 5 ประเด็น

-ที่ประชุมมีมติ เห็นชอบ 334 เสียง เป็นส.ส.334 เสียง ส.ว. 0 เสียง ไม่เห็นชอบ 199 เสียง งดออกเสียง 173 เสียง ไม่ผ่านการรับหลักการ

2.ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับฝ่ายค้าน นำโดยพรรคเพื่อไทย ประเด็นสิทธิและเสรีภาพ

– ที่ประชุมมีมติ รับหลักการ 399 เสียง ส.ส. 393 ส.ว. 6 เสียง ไม่เห็นชอบ 136 เสียง งดออกเสียง 171 เสียง ไม่ผ่านรับหลักการ

3.ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับฝ่ายค้าน นำโดยพรรคเพื่อไทย ประเด็นระบบเลือกตั้งบัตร 2ใบ

-ที่ประชุมมีมติ เห็นชอบ 376 เสียง ส.ส. 340 ส.ว. 16 เสียง ไม่เห็นชอบ 89 เสียง งดออกเสียง 241 เสียง ไม่ผ่านรับหลักการ

4.ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับฝ่ายค้าน นำโดยพรรคเพื่อไทย ประเด็น ปิดสวิตช์ ส.ว.

-ที่ประชุมมีมติ เห็นชอบ 455 เสียง ส.ส. 440 ส.ว. 15 เสียง ไม่เห็นชอบ 111 เสียง งดออกเสียง 150 เสียง ไม่ผ่านรับหลักการ

5.ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับฝ่ายค้าน นำโดยพรรคเพื่อไทย ประเด็นยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ

-ที่ประชุมมีมติ เห็นชอบ 327 เสียง ส.ส. 326 ส.ว.1 ไม่เห็นชอบ 150 เสียง งดออกเสียง 229 เสียง ไม่ผ่านรับหลักการ

6.ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพรรคภูมิใจไทย ประเด็นประแก้ยุทธศาสตร์ชาติ

-ที่ประชุมมีมติ เห็นชอบ 454 เสียง ส.ส. 419 ส.ว. 35 ไม่เห็นชอบ 86 เสียง งดออกเสียง 166 เสียง ไม่ผ่านรับหลักการ

7.ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพรรคภูมิใจไทย ประเด็นหน้าที่ของรัฐแก้ปัญหาความยากจน

-ที่ประชุมมีมติ เห็นชอบ 476 เสียง ส.ส.421 ส.ว.55 ไม่เห็นชอบ 78 เสียง งดออกเสียง 152 เสียง ไม่ผ่านรับหลักการ

8.ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพรรคประชาธิปัตย์ ประเด็นสิทธิเสรีภาพ

-ที่ประชุมมีมติ เห็นชอบ 469 เสียง ส.ส.421 ส.ว. 48 ไม่เห็นชอบ 75 เสียง งดออกเสียง 162 เสียง ไม่ผ่านรับหลักการ

9.ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพรรคประชาธิปัตย์ ประเด็นสัดส่วนการโหวตแก้รัฐธรรมนูญ

-ที่ประชุมมีมติ เห็นชอบ 415 เสียง ส.ส. 400 ส.ว. 15 ไม่เห็นชอบ 102 เสียง งดออกเสียง 189 เสียง ไม่ผ่านรับหลักการ

10.ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพรรคประชาธิปัตย์ ประเด็นการตรวจสอบ ป.ป.ช.

-ที่ประชุมมีมติ เห็นชอบ 431 เสียง ส.ส. 398 ส.ว. 33 ไม่เห็นชอบ 97 เสียง งดออกเสียง 178 เสียง ไม่ผ่านรับหลักการ

11.ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพรรคประชาธิปัตย์ ประเด็นที่มานายกรัฐมนตรีและปิดสวิตช์ ส.ว.

-ที่ประชุมมีมติ เห็นชอบ 461 เสียง ส.ส. 440 ส.ว. 21 ไม่เห็นชอบ 96 เสียง งดออกเสียง 149 ไม่ผ่านรับหลักการ

12.ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพรรคประชาธิปัตย์ ประเด็นกระจายอำนาจท้องถิ่น

-ที่ประชุมมีมติ เห็นชอบ 457 เสียง ส.ส. 407 ส.ว. 50 ไม่เห็นชอบ 82 เสียง งดออกเสียง 167 เสียง ไม่ผ่านรับหลักการ

13.ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับพรรคประชาธิปัตย์ ประเด็นระบบเลือกตั้งบัตร 2 ใบ

-ที่ประชุมมีมติ เห็นชอบ 552 เสียง ส.ส. 342 ส.ว. 210 ไม่เห็นชอบ 24 เสียง งดออกเสียง 130 เสียง ผ่านรับหลักการ

ประยุทธ์อยู่ บ้านพักหลวง จริง เจ้ากรมสวัสดิการทหารบก รับ ทบ.จ่ายค่าน้ำ-ไฟ ให้ ตั้งแต่ปี 55 

ธรรมนัส ลั่นพร้อมนำพรรคลุยเลือกตั้ง หวัง 200 ที่นั่ง หนุน ประยุทธ์ นายกฯ 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม