Chula-Cov19 วัคซีนฝีมือคนไทย เทียบเท่า ไฟเซอร์ - โมเดอร์นา

14 มิ.ย. 64

ทำความรู้จักวัคซีน Chula-Cov19 วัคซีนผลิตโดยคนไทย ใช้เทคโนโลยีเดียวกับวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา ล่าสุดฉีดอาสาสมัคร 4 ราย ไม่พบผลข้างเคียง

กรณีที่วันนี้ (14 มิ.ย.64) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เริ่มทำการทดสอบ Chula-Cov19 วัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ที่ผลิตโดยฝีมือคนไทย เฟสแรกในมนุษย์แล้ว โดยทดลองฉีดให้อาสาสมัครจำนวน 4 ราย เบื้องต้นทั้งหมดไม่พบผลข้างเคียง นั้น

ซึ้งน้ำใจ ลาวฉีดวัคซีน ไฟเซอร์ ให้กลุ่มคนไทยที่อยู่ในประเทศด้วย

สำหรับ Chula-Cov19 ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลว่า เป็นวัคซีนชนิด mRNA ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตเช่นเดียวกับวัคซีน Pfizer-BioNTech และวัคซีน Moderna ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาการใช้งานในมนุษย์ระยะที่ 1 จากกลุ่มอาสาสมัคร 100 คน โดยจะทำการศึกษาทั้งสิ้น 3 ระยะ

โดยเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน Chula-Cov19 เป็นการสังเคราะห์รหัสคำสั่งโดยใช้ขึ้นส่วนพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ส่วนที่เป็นปุ่มหนามของโปรตีน เมื่อฉีดวัคนเข้าสู่ร่างกาย เซลล์จะทำการสร้างโปรตีนส่วนที่เป็นปุ่มหนามของเชื้อโควิด- 19 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ร่างายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อจดจำและตอบโต้เซื้อโควิด-19 รหัสคำสั่งที่เรียกว่า mNA (messenger Ribonucleic Acid) นี้จะเป็นคำสั่งชั่วคราว เมื่อทำหน้าที่เรียบร้อยจะสลายไปภายในไม่กี่วัน จึงไม่มีการสะสมในระยะยาวแต่อย่างใด

ขณะที่คุณสมบัติพิเศษของวัคซีน Chula-Cov19 สามารถเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ได้อย่างน้อย 3 เดือน และสามารถเก็บที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ได้อย่างน้อย 2 อาทิตย์ จึงสะดวกในการขนส่งและการใช้งานในต่างจังหวัด

กทม. ประกาศ เลื่อนฉีดวัคซีน ผู้จองผ่าน ไทยร่วมใจ ตั้งแต่ 15 มิ.ย.นี้
เลขาฯ สมช. รับแล้ว วัคซีนยังไม่มา ปัดตอบ นายกฯ คือต้นตอปัญหาทั้งหมด ยัน สธ. - กทม. ไร้เกาเหลา

 

 

 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ