สปสช. เยียวยาผู้มีอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีด วัคซีนโควิด แล้ว 395 ราย รวม 7.5 ล้านบาท

12 มิ.ย. 64

วันนี้ (12 มิ.ย.64) นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยความคืบหน้าการจ่ายเงินเยียวยาเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับผลกระทบหลังฉีดวัคซีน โควิด-19 ว่า ข้อมูลเมื่อวันที่ 11 มิ.ย.64 มีผู้ยื่นคำร้องขอรับการเยียวยาทั่วประเทศ 519 คน คณะอนุกรรมการของแต่ละเขตได้พิจารณาจ่ายให้ 395 คน รวมเป็นเงิน 7,572,300 บาท อยู่ระหว่างรอข้อมูลเพิ่มเติมอีก 66 คน และมีอีก 58 คนที่พิจารณาแล้วไม่อนุมัติการจ่ายเยียวยา

สปสช. เผย เยียวยาผู้เสียหายจาก วัคซีนโควิด แล้ว 150 ราย รวมเป็นเงิน 991,700 บาท 

ระดับอาการที่มีการจ่ายเยียวยานั้น แบ่งเป็นเป็นผู้มีอาการเล็กน้อย เยียวยาไม่เกิน 10,000 บาท จำนวน 309 คน อาการปานกลาง เยียวยา 10,000-50,000 บาท 60 คน เยียวยามากกว่า 50,000 บาทอีก 13 คน และมีกรณีที่อาการรุนแรงจนถึงขั้นพิการอีก 2 คน ส่วนของผู้เสียชีวิต มีการเยียวยาทั้งหมด 10 คน ดังนี้ ปทุมธานี 2 คน, ตาก 1 คน, แพร่ 1 คน, สงขลา 1 คน, ภูเก็ต 1 คน, นนทบุรี 1 คน, กาญจนบุรี 2 คน, สมุทรสาคร 1 คน และกรณีทุพพลภาพถาวร 1 คนที่ จ.ชัยนาท

นพ.จเด็จ ย้ำว่า การจ่ายเงินช่วยเหลือดังกล่าว ไม่ใช่การพิสูจน์ถูกผิดว่าการเสียชีวิตเกิดจากวัคซีนโควิด-19 หรือไม่ เพราะทางคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำหน้าที่ส่วนนั้น แต่ของ สปสช.จะช่วยเหลือเบื้องต้น เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบไปก่อน และเพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าเมื่อฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการไม่พึงประสงค์ใดๆ ก็จะได้รับการดูแล แม้ว่าต่อให้มีการพิสูจน์ในภายหลังว่าอาการที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากวัคซีน ก็จะไม่มีการเรียกเงินคืนแต่อย่างใด 

พร้อมระบุอีกว่า วัคซีนโควิด-19 ที่ใช้ในขณะนี้ เป็นวัคซีนที่ใช้ในภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นระยะเวลาในการวิจัยพัฒนาจะสั้นกว่าวัคซีนปกติ ผลข้างเคียงต่างๆ อาจจะมีบ้าง แต่เมื่อชั่งน้ำหนักกับความเสี่ยงที่จะติดเชื้อและเสียชีวิตจากโควิด-19 แล้ว การฉีดวัคซีนมีข้อดีมากกว่า ทุกประเทศทั่วโลกรวมทั้งไทยจึงตัดสินใจให้ประชาชนฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตามจะมีการเยียวยาดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากวัคซีนด้วย 

ทั้งนี้ในกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรจะได้รับการช่วยเหลือไม่เกิน 400,000 บาท กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการช่วยเหลือไม่เกิน 240,000 บาท และกรณีเกิดภาวะเจ็บป่วยที่ต้องรับการรักษาไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งจะช่วยเหลือจำนวนเท่าใดนั้นเป็นการพิจารณาของอนุกรรมการฯ ตามภาวะความรุนแรง

ประชาชนสามารถยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกับ สปสช.ได้ที่โรงพยาบาลที่ฉีด หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) หรือที่ สปสช.สาขาเขตพื้นที่ทั้ง 13 เขต โดยมีระยะเวลายื่นคำร้องได้ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ทราบความเสียหาย หรือสอบถามเพิ่มเติมสายด่วน สปสช. โทร. 1330 

415333

แพ้วัคซีนโควิด สปสช.เตรียมเยียวยาย้อนหลัง ตั้งแต่ 5 เม.ย.64

สปสช. เพิ่มสิทธิตรวจ-รักษาภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หลังฉีด วัคซีนโควิด

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ