ภูเก็ต ผ่อนผันฉีดวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็ม เข้าจังหวัดได้ แต่ซิโนแวค ต้องครบ 2 เข็ม

9 มิ.ย. 64

วันที่ 8 มิ.ย.64 นพ.กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ภูเก็ต เปิดเผยถึงการอนุญาตให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม หรือฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็มเข้าภูเก็ตได้ สืบเนื่องเหตุผลจากการวิจัย พบว่า ในช่วง 14 วัน วัคซีน Sinovac จะมีภูมิคุ้มกัน 30-40% แต่ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า จะมีภูมิคุ้มกัน 80-90% จึงผ่อนผันให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เพียง 1 เข็ม เข้าภูเก็ตได้ แต่ผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคในการสร้างภูมิคุ้มกันต้องฉีดครบ 2 เข็มตามที่กรมควบคุมโรคกำหนด

กพท. ออกประกาศ ผู้โดยสารสายการบินจะถูกปฏิเสธการเดินทางไป ภูเก็ต หากฉีดวัคซีนไม่ครบ หรือไม่มีเอกสารผลตรวจโควิด

โดยก่อนหน้านี้จังหวัดภูเก็ตออกคำสั่งเรื่อง กำหนดมาตรการตรวจคัดกรองการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต ตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 สาระสำคัญในประกาศระบุให้ผู้ที่เดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ตต้องปฏิบัติ ดังนี้

1.การงดหรือหลีกเลี่ยงการเดินทาง ให้ผู้เดินทางยกเว้นเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี เข้าจังหวัดภูเก็ต ทางด่านตรวจท่าฉัตรไชย ช่องทางน้ำ ท่าเรือ ทุกท่า ในจังหวัดภูเก็ต ต้องเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 ครบ 2 เข็ม หรือครบโดสตามจำนวนวัคซีนแต่ละชนิด หรือได้รับวัคซีนชนิด AstraZeneca จำนวน 1 เข็ม หรือผู้ที่หาย จากอาการป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 มาแล้วไม่เกิน 90 วัน หรือได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ด้วยวิธีการ RT – PCR หรือวิธีการ Antigen Rapid Test ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับการตรวจ

หากไม่มีเอกสารดังกล่าวข้างต้น ให้เข้ารับการกักตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน โดยเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อออกคำสั่งให้กักตัวในที่พักอาศัย (Home Quarantine หรือ Hotel Quarantine) และให้อยู่ในการติดตามดูแลของเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์ระดับตำบล (EOC ประจำตำบล, เทศบาล, อบต.) ตลอดระยะเวลาที่กักตัว 

เว้นแต่ 1.1 รถขนส่งสินค้าเครื่องอุปโภคบริโภค สินค้าทางการเกษตร ปศุสัตว์ อาหารสัตว์ที่จำเป็น 1.2 รถขนส่งยา วัสดุอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ทางการแพทย์ 1.3 รถฉุกเฉินทางการแพทย์ ผู้ป่วยฉุกเฉิน กู้ชีพ กู้ภัย 1.4 รถขนส่งแก๊สหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง พลังงาน 1.5 รถขนส่งเงินของธนาคาร สถาบันทางการเงิน 1.6 บุคคลผู้ได้รับคำสั่งจากส่วนราชการให้มาปฏิบัติภารกิจจำเป็นเร่งด่วน 1.7 รถขนส่งสิ่งจำเป็นเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ หรือกิจการประเภทที่มีความจำเป็นเร่งด่วน 1.8 รถขนส่งวัสดุก่อสร้าง พัสดุและสิ่งพิมพ์ ต้องกำหนดเวลาในการเข้า โดยให้อยู่ในการพิจารณาของผู้บัญชาการเหตุการณ์ด่านตรวจภูเก็ต หรือผู้ได้รับมอบหมาย 1.9 ผู้ขับขี่และผู้ที่เดินทางมากับรถ เรือ หรือยานพาหนะอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติตาม ข้อ 1 และ 1.10 ผู้เดินทางเข้ามาจังหวัดภูเก็ตชั่วคราว หรือผู้ขนส่งสิ่งจำเป็นที่ไม่แวะค้างคืน ในพื้นที่ จังหวัดภูเก็ต ต้องมีหนังสือรับรองความจำเป็นในการเดินทาง หรือหนังสือรับรองการขนส่งสินค้า แสดงต่อเจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจตามแบบแนบท้ายคำสั่งนี้ เพื่อประโยชน์ในการติดตามเฝ้าระวังและควบคุมโรค และเมื่อเสร็จภารกิจให้เดินทางกลับโดยเร็ว

2.มาตรการตรวจคัดกรองการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต ตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปฏิบัติดังนี้

2.1 ผู้ที่เดินทางยกเว้นเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี เข้ามาจังหวัดภูเก็ต ทางท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ต้องเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ครบ 2 เข็ม หรือครบโดสตามจำนวนวัคซีนแต่ละชนิด หรือได้รับวัคซีนชนิดแอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 1 เข็ม หรือผู้ที่หายจากอาการป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19 มาแล้วไม่เกิน 90 วัน หรือได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด – 19 ด้วยวิธีการ RT-PCR หรือวิธีการ Antigen Rapid Test ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับการตรวจ

2.2 ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” บนสมาร์ทโฟน และยินยอมเปิดแชร์ตำแหน่งที่ตั้ง (location) ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในจังหวัดภูเก็ต

2.3 ลงทะเบียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.gophuget.com เพื่อแจ้งข้อมูลการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต

2.4 ให้สังเกตติดตามอาการตนเอง (Self Monitoring) ตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคโดยหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในที่ชุมชน หรือสถานที่ที่มีการรวมตัวกันของคนจำนวนมาก

กรณี ผู้เดินทางเข้ามาในจังหวัดภูเก็ต และพักในโรงแรมหรือสถานที่พักอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายโรงแรม ให้เจ้าของหรือผู้ประกอบการ ต้องดำเนินการดังนี้ (1)คัดกรองอาการและวัดไข้ให้ผู้เข้าพักเมื่อแรกรับ (2) ตรวจสอบการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ” บนสมาร์ทโฟน และการลงทะเบียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.gophuget.com ของผู้เข้าพัก เพื่อแจ้งข้อมูลในการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ต

(3) จัดทำบันทึกการติดตามผู้เดินทางรายบุคคลโควิด-19 รวมถึงกรณีที่ออกไปทำกิจธุระ ทำงาน ประกอบธุรกิจ หรือทำกิจธุระอื่นใด โดยระบุ วัน เวลา สถานที่ ที่จะไปปฏิบัติภารกิจ ส่งรายงานให้ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์ระดับตำบล (EOC ประจำตำบล, เทศบาล, อบต.) ที่เป็นที่ตั้งของโรงแรมหรือสถานที่พักอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายโรงแรม เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับตรวจติดตามโรคตามมาตรการควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป โดยหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในที่ชุมชนหรือสถานที่ที่มีการรวมตัวกันของคนจำนวนมาก ตามแบบรายงานแนบท้ายคำสั่งนี้

s__35192838

กรณีพักอาศัยในบ้านให้เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุมดูแลบ้าน เจ้าของหรือผู้ควบคุมสถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นใด จัดทำบันทึกการติดตามผู้เดินทางรายบุคคล COVID – 19 ส่งรายงานให้ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์ระดับตำบล (EOC ประจำตำบล เทศบาล, อบต.) ในพื้นที่ที่พักอาศัย ตามแบบรายงานแนบท้ายคำสั่งนี้

ผู้ประกอบการโรงแรม หรือสถานที่พักอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายโรงแรม เจ้าบ้านหรือผู้ควบคุม ดูแลบ้าน เจ้าของหรือผู้ควบคุมสถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นใด ไม่จัดส่งข้อมูลบันทึกการติดตามและการเดินทางของผู้เข้าพัก ตามแบบรายงานแนบท้ายคำสั่งนี้อาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 49 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อ 3 ขอความร่วมมือผู้ที่เดินทางเข้ามาในจังหวัดภูเก็ต ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด – 19 (D – M – H – T – T – A)ได้แก่ D – Distancing = เว้นระยะห่างระหว่างกัน M – Mask Wearing = สวมหน้ากากผ้า / หน้ากากอนามัยเสมอ H– Hand Washing = ล้างมือบ่อย ๆ T – Temperature = ตรวจวัดอุณหภูมิ T –Testing = ตรวจหาเชื้อโควิด – 19 และ A– Application = ติดตั้งและสแกนแอปพลิเคชันไทยชนะและหมอชนะ

อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะจึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539

หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งฉบับนี้ อาจเป็นความผิดตามมาตรา 51 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือมาตรา 52 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และอาจได้รับโทษตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2564 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

ทำความรู้จัก แอสตร้าเซนเนก้า วัคซีนโควิดที่ นายก และ คณะรัฐมนตรี กำลังจะฉีด 

แอสตร้าเซนเนก้า เข็ม 2 ต้องห่างกี่สัปดาห์ และข้อควรระวังหลังฉีดมีอะไรบ้าง

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ