ลุ้นข่าวดี วัคซีนจุฬา ศักยภาพเทียบเท่า ไฟเซอร์-โมเดอร์นา เริ่มทดลองกับมนุษย์ มิ.ย.นี้

1 มิ.ย. 64

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลุ้นข่าวดี พัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ใกล้ความจริง เทียบชั้น ไฟเซอร์-โมเดอร์นา เริ่มทดลองกับมนุษย์ มิ.ย.นี้

วารสารวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลก nature ยกย่องนักวิทยาศาสตร์ไทย พัฒนาวัคซีนโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีและคุณภาพระดับโลก เทียบชั้น ไฟเซอร์-โมเดอร์นา เพื่อนำมาให้คนไทยและประเทศเพื่อนบ้านได้ใช้ประเทศไทยในราคาที่ถูกกว่ามาก

วัคซีน ChulaCov19 ที่พัฒนาขึ้นโดย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งของโลกที่พัฒนาเองขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยี mRNA เช่นเดียวกับ ไฟเซอร์และโมเดอร์นา และเป็นวัคซีนที่ต่อยอดขึ้นมาเพื่อรับมือกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกา (B.1.351) และ สายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) รวมถึงยังอาจพัฒนาให้รับมือกับสายพันธุ์อินเดีย (B.1.617) ได้อีกด้วย

59487

วัคซีน ChulaCov19 นี้จะเริ่มทดสอบเฟสแรกในมนุษย์ในเดือนมิถุนายนนี้ โดยใช้อาสาสมัครจำนวน 100 คน เพื่อหาจำนวนโดสที่เหมาะสมในการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยจะใช้บริษัทในสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตวัคซีนทดสองลอตแรกนี้ และหลังจากนั้นในเดือนกันยายนก็จะเริ่มผลิตในประเทศไทยเอง โดยบริษัท BioNet-Asia

การทดสอบความสามารถของวัคซีน ChulaCov19 นี้จะใช้ผลการทดสอบเทียบกับตัวอย่างเลือดจากผู้ที่ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ในต่างประเทศ และแอสตร้าเซนเนก้า จากประเทศไทย หากผลการทดสอบพบว่าภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับวัคซีน ChulaCov19 เทียบเท่าหรือดีกว่าภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์และแอสตร้าเซนเนก้า ก็น่าที่จะขออนุมัติเป็นการพิเศษเพื่อให้วัคซีนถูกนำมาใช้ในประเทศโดยเร่งด่วนได้

im_190264_987604-1536x864

ห้องปฏิบัติการวัคซีนของ ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ถูกก่อตั้งมากว่า 10 ปีแล้ว โดยเริ่มต้นพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคฉี่หนู ซึ่งก็ได้มีการพัฒนาศักยภาพให้มีคุณภาพที่ก้าวล้ำนำสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเทคโนโลยีการพัฒนาวัคซีนชนิด mRNA นี้ได้เริ่มต้นมาเมื่อ 4 ปีที่แล้ว โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่ง Pennsylvania ที่เป็นผู้ริเริ่มวัคซีนชนิดนี้ พัฒนาวัคซีนโรคภูมิแพ้ขึ้น เมื่อมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็ได้หันมาพัฒนาวัคซีนเพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด-19 นี้

วัคซีน ChulaCov19 มีผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการที่ดีเยี่ยมมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ด้วยศักยภาพและความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกาที่มีอยู่ แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาการสนับสนุนของรัฐบาลในเรื่องทุนวิจัยและการขออนุมัติให้สามารถทดลองในมนุษย์ได้ ซึ่งก็เพิ่งได้รับการอนุมัติให้ทดสอบในมนุษย์ในเดือนมิถุนายนนี้

152042498_462908691415117_636

หากผลการทดสอบเป็นไปได้ด้วยดี ประเทศไทยก็จะสามารถพัฒนาขึ้นมาเป็นแหล่งผลิตวัคซีนชนิด mRNA ที่สำคัญประเทศหนึ่งในทวีปเอเชีย และเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่สามารถพัฒนาวัคซีนชนิดนี้ขึ้นมาเองได้

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ