ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ ฯ ประกาศ กินยาคุมกำเนิด ฉีดวัคซีนโควิดได้

31 พ.ค. 64

31 พ.ค. 64 ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ แห่งประเทศไทย ประกาศราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยที่ 07/2564 เรื่อง การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และ การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน

หมอยง แจงประเด็นกิน ยาคุมกำเนิด ฉีดวัคซีนโควิดได้หรือไม่ 

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนสำหรับบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย รวมถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งส่วนหนึ่งใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนมีหลายอย่าง เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด และ แผ่นยาปิดผิวหนังคุมกำเนิด

ในประเทศไทย การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ได้ความความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์ และมีผลข้างเคียงน้อย ยาเม็ดคุมกำเนิดได้รับการวิจัยและพัฒนาด้านความปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่องนานกว่า 50 ปี

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ดังนี้

1. ยาคุมกำเนิดชนิคฮอร์โมนที่มีเอสโตรเจนเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ยาเม็ด ยาฉีดคุมกำเนิด และแผ่นยาปิดผิวหนังคุมกำเนิด มีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดดำอุดตันได้มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้วิธีการดังกล่าว อย่างไรก็ตามภาวะดังกล่าวพบได้น้อยมากในสตรีไทย และยังพบได้น้อยกว่าในสตรี ตั้งครรภ์ซึ่งมีระดับเอสโตรเจนสูงมากตามธรรมชาติ

2. ข้อมูล ณ ปัจจุบัน ซึ่งรวบรวมจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการฉีดวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19 ในสตรีทั่วโลกและในประเทศไทย ซึ่งมีผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ไม่พบว่ามีการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหลอดเลือดดำอุดตันแต่อย่างใด

3. ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนทุกชนิด สามารถรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ โดยไม่จำเป็นต้องหยุดการใช้

4. หากยังมีความกังวลใจ และต้องการหยุดการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ควรใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่น ๆ มาทดแทนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์

ประกาศ ณ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2564พลอากาศโทนายแพทย์ การุณ เก่งสกุลประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

ไขข้อสงสัย กินยาคุม ฉีดวัคซีนโควิด กระตุ้นการเกิดลิ่มเลือดจริงหรือไม่ 

สาวกินยาคุมไปฉีดวัคซีนโควิดดับ แพทย์แนะควรงดกิน 14 วันก่อนฉีด 

1622454255_4

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ