เศรษฐกิจไทยดิ่งเหว จีดีพี ไตรมาสแรก 2.6% ลดเป้าทั้งปี 64 เหลือ 1.5 -2.5%

17 พ.ค. 64

17 พ.ค. 64 กรณีเศรษฐกิจไทยและตัวเลข จีดีพี นาย ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 1/2564 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2564 วันนี้ ว่า

ยิ่งใช้ยิ่งได้ เยียวยาชนชั้นกลาง-คนรวย ดึงเงินเก็บมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ 

ทั้งนี้ จีดีพีไตรมาส 1/2564 หดตัว2.6 % เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ขยายตัวได้ 0.2 % เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ ซึ่งเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 ปีนี้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงต้นปี และผลกระทบต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดในปีที่แล้ว โดยภาคการท่องเที่ยวและบริการหดตัวมากถึง 63.5% ส่วนการใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนลดลงต่อเนื่อง 10.8% ตามการลดลงของ การใช้จ่ายหมวดเครื่องเรือน อุปกรณ์ครัวเรือนและการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และหมวดเสื้อผ้าและรองเท้า

สำหรับรายละเอียดเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 1 การลงทุนรวม ขยายตัว7.3% ปรับตัวดีขึ้นมากจากการลดลงร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส 3.0% เทียบกับการลดลง 3.3% ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัวในเกณฑ์สูง 19.6% เร่งขึ้นจาก การขยายตัวร้อยละ 0.6% ในไตรมาสก่อนหน้า และ การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 64,004 ล้านดอลลาร์ กลับมาขยายตัว เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาสที่ 5.3%

ขณะที่ สศช.ยังได้ปรับลดประมาณการณ์จีดีพีปี 2564 จากเดิมที่คาดว่าขยายตัวอยู่ที่ 2.5% - 3.5% มีค่ากลางที่ 3% ลดลงเหลือ 1.5 - 2.5% โดยการปรับลดลงของจีดีพีนี้คาดการณ์ว่าการคุมระบาดจะทำได้ในเดือน มิ.ย.ปีนี้เป็นต้นไป พร้อมได้ให้ข้อเสนอแนะกับรัฐบาลในการบริหารเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2564 คือ

1.การควบคุมการแพร่ระบาดและการกระจายวัคซีนอย่างรวดเร็วเพียงพอ รวมทั้งการกระจายวัคซีนไปยังภาคการส่งออกและความสำคัญของประเทศเพื่อปกป้องฐานการผลิตของประเทศ

2.การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดโดยเน้นในภาคเอสเอ็มอีโดยของให้ ธปท.และธนาคารพาณิชย์เร่งปล่อยสินเชื่อให้รวดเร็ว

3. มาตรการรักษาการจ้างงานในภาคธุรกิจ รวมทั้งการจ้างงานใหม่เพิ่มเติมเพื่อให้มีการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่เพิ่มเติม

4.ขับเคลื่อนการส่งออก โดยเร่งการเจรจาในเรื่อง FTA กับยุโรป และสหราชอาณาจักร และลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

5.เร่งการลงทุนของภาคเอกชนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมาย และแก้ไขปัญหาให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นการลงทุนในอนาคต

6.เน้นการขับเคลื่อนการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ โดยการเบิกจ่ายรวมต้องได้ 92% เพื่อให้เงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจ

7.เร่งเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเร่งกระจายวัคซีนและเตรียมความพร้อมพื้นที่ท่องเที่ยวเช่น สมุย ภูเก็ต กระบี่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวคุณภาพมีรายได้สูงเข้ามาในประเทศไทยได้มาก

และ 8.ต้องไม่มีปัจจัยทางการเมือง

ส่วนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้ปรับลดคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปีนี้เหลือ 2.3% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 1.8-2.8% ลดลงจากคาดการณ์เดิมที่ 2.8% จากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเดินทางระหว่างประเทศ รวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้ปรับลดคาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้ลงเหลือ 2 ล้านคน จากคาดการณ์เดิมที่ 5 ล้านคน รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงมาอยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาท ลดลง 49% จากคาดการณ์เดิมที่ 2.6 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากหลายประเทศสามารถกระจายวัคซีนได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เชื่อว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจน่าจะเริ่มกลับมาได้ในช่วงครึ่งหลังของไตรมาส 3/2564 ถึงต้นไตรมาส 4/2564 และจะเห็นความชัดเจนมากขึ้นในช่วงปลายปีนี้อย่างแน่นอน

ด้านการส่งออกในปีนี้ คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ระดับ 11% ดีขึ้นจากคาดการณ์เดิมที่ 6.2% เพราะภาพรวมเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการเร่งดำเนินมาตรการด้านการเงินการคลังในหลายประเทศ โดยปัจจัยดังกล่าวส่งผลดีกับการส่งออกของไทยในปีนี้ รวมถึงการเร่งดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากโครงการเราชนะ โครงการคนละครึ่ง โครงการม 33 เรารักกัน และมาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบผ่านสถาบันการเงินก็เป็นปัจจัยเสริม และเม็ดเงินจาก พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ที่ถูกส่งผ่านไปยังระบบเศรษฐกิจก็มีส่วนช่วยกระตุ้นการบริโภค ประคับประคองธุรกิจ และรักษาระดับการจ้างงานด้วย

ภาพจาก AFP

บริษัทเวิลด์อิเล็คทริค ประกาศ ปิดกิจการ พิษเศรษฐกิจทำไปต่อไม่ไหว พนง.ช็อกตกงานยุคโควิด 

เอกชนเสนอ ล็อกดาวน์ 15 วัน ชี้เศรษฐกิจเสียหายเดือนละ 1 แสนล้าน 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม