หมอศิริราช-จุฬาฯ-รามาฯ เผย 16 ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19

13 พ.ค. 64

หมอจาก 3 โรงพยาบาลชั้นนำ ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สรุป 16 ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชนได้ทำความเข้าใจ

ศ. พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยคลินิก รศ. นพ.วินัย รัตนสุวรรณ หัวหน้าภาควิชา เวชศาสตร์ป้องกัน และสังคม จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญ เฉพาะทางด้าน ไวรัสวิทยาคลินิก รศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ รองหัวหน้าภาควิชา กุมารเวชศาสตร์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม นายกสมาคม โรคติดเชื้อ แห่งประเทศไทย ศ.นพ.พันธุ์เทพ อังชัยสุขศิริ สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ จาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันจัดเสวนาหัวข้อ “ผ่าวัคซีน COVID-19 ฟังชัด ๆ กับ ทีมแพทย์ 3 สถาบัน” เพื่อร่วมหาคำตอบที่ทุกคนอยากรู้เกี่ยวกับ “วัคซีน COVID-19” โดยมีการสรุปข้อเท็จจริงได้ 16 ข้อ ดังนี้

184688828_1055746688166820_36

1.เขาว่า ฉีดแล้วตาย

ในประเทศไทยมี 1.7 ล้านคน ที่ฉีดวัคซีนแล้วยังไม่มีคนตาย แต่มีคนตายจากโควิดทุกวัน

2.ฉีด ไม่ฉีด หรือ รอ?

ฉีดเลย ฉีดแล้วโอกาสติดลดลงครึ่งหนึ่งทันที และช่วยป้องกันคนในครอบครัว โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีน

3.วัคซีนยี่ห้อไหนดีกว่ากัน

ทุกยี่ห้อประสิทธิภาพในภาพรวมไม่ต่างกัน ที่ต้องมีหลายยี่ห้อไม่ใช่เพื่อแข่งขัน แต่เพื่อจะได้ช่วยกันระดมฉีดทุกตัวที่มีให้ครอบคลุมประชากรมากที่สุด อิสราเอล อเมริกา อังกฤษ จีน ใช้วัคซีนต่างชนิดกัน แต่กลับสู่ภาวะปกติได้เหมือนกัน (ฝรั่งเศสใช้ตัวเดียวกับอังกฤษ แต่ขณะนี้ยังวิกฤต เพราะฉีดได้น้อย)

4.ป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้?

ได้ ไวรัสกลายพันธุ์บางตัวทำให้ประสิทธิภาพลดลง แต่ลดลงแปลว่ายังมีประสิทธิภาพอยู่

5.เข็ม 1 กับเข็ม 2 คนละยี่ห้อ

ทำได้ แต่ไม่แนะนำ ยกเว้นกรณีหมอเห็นว่าจำเป็น ตอนนี้เมื่อฉีดเข็มแรกระบบจะจองเวลา/สถานที่สำหรับฉีดเข็ม 2 ให้ทันที ยิ่งเปลี่ยนจะยิ่งช้า

185277455_3477325189033744_48

6.โอกาสเกิดคลัสเตอร์ใหม่

สถานการณ์ตอนนี้เป็นสัญญาณเตือนว่าการระบาดเกิดได้ทุกชุมชน ถ้าไม่อยากเป็นคลัสเตอร์ใหม่ ต้องรีบฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด

7.เมื่อใดจะกลับสู่ภาวะปกติ

ยิ่งฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมมาก ยิ่งกลับสู่ภาวะปกติได้เร็ว เราต้องฉีด 100 ล้านโดส ถ้าได้วันละ 3 แสน ต้องใช้เวลา 10 เดือน ถ้าจะปลดล็อกภายในสิ้นเดือน ต้องร่วมมือกันฉีดให้เร็วกว่านั้น

8.หมอพร้อมแค่ไหน

หมอพร้อมแล้ว มิถุนายนนี้ ถ้าวัคซีนพร้อม คนรับวัคซีนพร้อม ฉีดได้ทันที

9.ผลข้างเคียงอาการเป็นอย่างไร

ผลข้างเคียงที่เป็นอาการแพ้จริงๆ มีเพียง 1 ในแสน ส่วนไข้ต่ำ ปวด บวม แดง ร้อน มีรายงานไม่ถึง 10% มีไข้ เป็นอาการปกติ แสดงว่าร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อวัคซีน อายุน้อย/เพศหญิงเป็นมากกว่า

186486300_3480732295359700_69

10.ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันจริงไหม

การฉีดไม่ได้เพิ่มปรากฎการณ์การเกิดลิ่มเลือดทั่วไป แต่เป็นลิ่มเลือดอุดตันชนิดพิเศษ พบน้อยมาก ยังไม่พบในคนไทยและรักษาได้ แต่ถ้าติดโควิดมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันมากกว่า

11.มีอาการชาครึ่งตัว หลังฉีดจริงไหม

อาการชาหรืออ่อนแรงครึ่งตัวเกิดได้ เป็นอาการชั่วคราว อาจเกิดจากร่างกายไม่พร้อม อ่อนเพลีย หรือกลัว สามารถหายเป็นปกติได้ใน 1-3 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์

12.ต่างวัย ผลข้างเคียงต่างไหม

ต่าง อายุน้อย/เพศหญิงอาการมากว่า กรณีผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว ไม่ได้ทำให้มีผลข้างเคียงมากขึ้น แต่ถ้าติดอาการจะรุนแรง ดังนั้น ต้องรีบมาฉีด

13.วัคซีนต่างยี่ห้อ ผลข้างเคียงต่างไหม

ต่าง แอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีน “เชื้อเป็น” ทำให้มีไข้ ปวดเมื่อย แต่มีประสิทธิภาพสูงตั้งแต่เข็มแรก ซิโนแวคเป็นวัคซีน “เชื้อตาย” ผลข้างเคียงน้อย แต่ต้องฉีดครบสองเข็มจึงจะมีภูมิคุ้มกันเต็มที่

185551554_1056934408048048_75

14.กรณีพบอาการข้างเคียงหลังฉีด

ณ จุดฉีดวัคซีนทุกจุดจะมี จนท. และอุปกรณ์พร้อมดูแลตามมาตรฐาน หลังฉีดจะต้องอยู่ดูอาการ 30 นาที ถ้ามีอาการข้างเคียงสามารถแก้ไขและส่งต่อได้ทันที

15.ทำไมคนแก่ฉีดซิโนแวค

ก่อนหน้านี้ จริงๆ ก็ไม่ได้มีข้อห้าม แต่เพราะตอนหลังนี้มีผลการศึกษาเพิ่มขึ้น ที่ยืนยันว่าปลอดภัย ทีมหมอจึงเสนอให้ปลดล็อกเรื่องอายุ มีตัวไหน จะได้ฉีดตัวนั้นก่อน แต่ไม่บังคับ

16.ใครบ้างที่ไม่ควรฉีด

1.กำลังเจ็บป่วย 2. มีโรคประจำตัวอาการหนัก เช่น โรคหัวใจ ที่มีภาวะหัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะอยู่ ต้องให้แพทย์ประจำตัวประเมิน 3. หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก (น้อยกว่า 12 สัปดาห์)

184107102_522094119169374_396

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ