คณบดีแพทย์ 3 สถาบันวอนคนไทยฉีด วัคซีนโควิด ชี้รอบนี้หนักกว่าเดิม 15 เท่า

12 พ.ค. 64

คณบดีแพทย์ 3 สถาบัน ศิริราช-รามา-จุฬา วอนคนไทยฉีด วัคซีนโควิด ชี้ระบาดรอบนี้หนักกว่าเดิม 15 เท่า ผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มสูง

เมื่อวันที่ 11 พ.ค.64 ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ภายในงาน “ผ่าวัคซีนโควิด-19” กับ 3 สถาบันแพทย์ ที่โรงแรมสุโกศล ยอบรับว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในกรุงเทพฯ ยังเพิ่มสูงขึ้น แนะ เร่งคัดกรองผู้ติดเชื้อออกจากชุมชนแออัด จะทำให้ลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงได้ 

จองวัคซีน ลำปาง สูงสุด หมอประเสริฐชี้หากฉีดถึง 6 แสน ถอดหน้ากากใช้ชีวิตปกติ 

ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวถึง การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ฉีดแล้ว 1,200 ล้านโดสทั่วโลก ดังนั้นต้องให้คนไทยเข้าใจและรู้จริงเพื่อใช้พิจารณาตัดสินใจร่วมกันฉีดวัคซีน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ สถานการณ์ของประเทศไทยขณะนี้มีผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจประมาณ 400 รายทั่วประเทศ ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่น้อย และมีผู้ป่วยที่อาการรุนแรงประมาณ 25% โดยขณะนี้ รพ.ศิริราช เปิดเตียงไอซียูเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว ปรับให้หอผู้ป่วยธรรมดาสามารถดูแลผู้ป่วยหนัก เพราะมีผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่ช่วยกัน ผู้ป่วยล้นมือเมื่อไหร่ อัตราการเสียชีวิตก็จะกระโดดมากขึ้น 

ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า จากการระบาดที่ผ่านมาจะมีตัวเลขผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรืออาการน้อย 80% คนมีอาการมาก 20% และในจำนวนนี้มี 5% ที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ แต่ล่าสุดตัวเลขมีการเปลี่ยนแปลง โดยคนที่ป่วยไม่มีอาการหรืออาการน้อย 70% อาการหนักเพิ่มเป็น 25-30% แปลว่าเมื่อเรามีผู้ป่วย 100 ราย เราจะมีคนอาการหนัก 30 ราย ถ้าเรามีผู้ป่วย 1,000 ราย ก็จะมีอาการหนัก 300 ราย และถ้ามีหลัก 10,000 ราย เราจะมีคนอาการหนักกว่า 3,000 ราย

ขณะที่ ศ.นพ.ปิยะมิตร คณะบดีแพทย์รามาฯ กล่าวว่า ในสังคมขณะนี้เจอเฟคนิวส์ (Fake News) เยอะมาก อยากให้ประชาชนฟังข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงจากผู้เชี่ยวชาญที่คอยติดตามงานทั่วโลก และมีประสบการณ์เรื่องของวัคซีนมานาน เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจเข้ารับการฉีดวัคซีน เป็นการช่วยเหลือสังคมเพื่อยับยั้งการติดเชื้อโควิด-19

185246512_10158306561102634_7

ขณะที่สถานการณ์ที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ มีผู้ป่วยรวม 140 ราย เป็นผู้ที่มีอาการหนัก 32 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 14 ราย โดยเราเช่าโรงแรม 2 แห่ง ทำเป็นฮอสปิเทล (Hospitel) และมีผู้ป่วยประมาณ 300 ราย อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้มีผู้ป่วยอาการหนักเยอะขึ้น และมีผู้ป่วยเสียชีวิตเกือบทุกวัน แต่สถานการณ์ติดเชื้อรุนแรงก็ยังอยู่โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ 

ด้าน ศ.นพ.สุทธิพงศ์ คณบดีแพทย์จุฬาฯ กล่าวว่า สถานการณ์ขณะนี้เหมือนมีสงครามที่เราต่อสู้กับข้าศึกที่มองไม่เห็น การฉีดวัคซีนเป็นการติดอาวุธป้องกันตัวเราเอง ป้องกันคนในครอบครัว เพื่อนร่วมงานและประเทศชาติ  จึงอยากสนับสนุนให้ทุกคนฉีดวัคซีนเพื่อให้มีภูมิต้านทานต่อสู้กับข้าศึกที่มองไม่เห็น ทั้งนี้ รพ.จุฬาฯ มีผู้ป่วยที่มารับการรักษาสะสม 1,000 ราย และยังเหลือที่รักษาอยู่ รพ.ประมาณ 200 ราย และในฮอสปิเทลอีก 300-400 ราย การระบาดรอบนี้พบว่าเชื้อโรคปอดมากขึ้นและมีผู้ป่วยต้องการเตียงไอซียูมากขึ้น หมายความว่า หากเราช่วยกันป้องกันตั้งแต่ต้นน้ำคือการฉีดวัคซีน ก็ทำให้ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ที่ปลายน้ำก็จะน้อยลง

ด้าน ศ.นพ.สุทธิพงศ์กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงของการระบาดโรคนี้คือคนวัยทำงานออกมารับเชื้อกลับไปแพร่สู่คนในครอบครัว ทำให้ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุติดบ้านที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ก็ติดเชื้อมากขึ้น โดยคนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่มีโรคภัยไข้เจ็บและมีโอกาสรับเชื้อได้ง่ายอยู่แล้ว ฉะนั้น หากคนวัยทำงานได้รับวัคซีนเป็นการป้องกันในระดับหนึ่ง การนำเชื้อไปสู่คนในบ้านก็จะลดลง 

อาจารย์แพทย์ ยังเห็นตรงกันอีกว่าการระบาดระลอกนี้หนักกว่ารอบที่ผ่านมามากถึง 10- 15 เท่า ทั้งผู้ติดเชื้อและการเสียชีวิต โดยการระบาดระลอกนี้มาจาก 3 ปัจจัยเสี่ยง คือ 1.จำนวนผู้ป่วยที่เยอะขึ้น ทำให้พบผู้ป่วยหนักมากขึ้นตามสัดส่วน 2.ไวรัสกลายพันธุ์ทำให้การติดเชื้อเพิ่มขึ้น และ 3.พฤติกรรมเสี่ยง กิจกรรมเสี่ยงของประชาชนที่การด์ตกในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังพบปัจจัยเเสี่ยงเพิ่มเติม คือภาวะอ้วน ในผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกิน 35 หากเมื่อรับเชื้อแล้วความรุนแรงของโรคจะเพิ่มขึ้นและอาการหนักขึ้น

นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงของการระบาดโรคนี้คือคนวัยทำงานออกมาทำกิิจกรรมนอกบ้าน รับเชื้อกลับไปแพร่สู่คนในครอบครัว ทำให้ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุติดบ้านที่มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น ดังนั้นหากคนวัยทำงานได้รับวัคซีนเป็นการป้องกันในระดับหนึ่ง การนำเชื้อไปสู่คนในบ้านก็จะลดลง ส่วนยาฟาวิพิราเวียร์ยังเป็นยาหลักในการรักษาผู้ติดเชื้อที่มีภาวะปอดอักเสบรุนแรง แต่การให้ยาแพทย์จะพิจารณาเป็นรายบุคคลและความรุนแรงของโรค และจะไม่ให้ในผู้ป่วยทุกคน เพราะอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้

ขอบคุณภาพ - คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีSiriraj Channel

หมอพร้อม คนยังลงทะเบียนน้อย ลำปางจองเยอะสุด-มุกดาหารน้อยสุดพันนิดๆ

เสียชีวิตนิวไฮ! โควิดวันนี้ (12 พ.ค.) ป่วยใหม่ 1,983 ราย ตายพุ่ง 34 ราย

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ