สพฐ.เตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2564 ชี้เด็กร้อยละ 50 อยากมาโรงเรียน

7 พ.ค. 64

สพฐ.เตรียมกิจกรรมเสริมทักษะอาชีพ 11 วันก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2564 ชี้เด็กร้อยละ 50 ต้องการมาเรียนที่โรงเรียน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมความพร้อมรับเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2564 ทั้งกิจกรรมเสริมทักษะอาชีพเพื่อเป็นทางเลือก ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เป็นศูนย์การรับนักเรียนในพื้นที่ให้เด็กทุกคนต้องมีที่เรียน พร้อมจัดทำคลังสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ใหม่ หากโรงเรียนใดเรียนในห้องเรียนปกติได้ ให้ใช้โรงเรียนเป็นฐาน หรือเลือก 5 รูปแบบการเรียนรู้ไปปรับใช้ “On-site, On-Air, Online, On-Hand, On-Demand” โดยพิจารณาตามความพร้อมและความต้องการของนักเรียนเป็นสำคัญ

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ถึงการเตรียมความพร้อมรับเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2564 ว่า สพฐ.ได้สำรวจความพร้อมรูปแบบการเรียน เบื้องต้นพบว่าร้อยละ 50 เด็กต้องการมาเรียนที่โรงเรียน

e0b8a3e0b8a1e0b8a7.e0b981e0b8

ดังนั้น ครูผู้สอนจะเป็นผู้จัดการเรียนการสอนให้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความปลอดภัย รวมทั้งเป็นผู้ที่จะช่วยลดความกังวลของผู้ปกครองที่ไม่เข้าใจว่าเหตุใดจึงเลื่อนเปิดภาคเรียนในวันที่ 1 มิ.ย.2564 ในระหว่างการเลื่อนเปิดภาคเรียน ช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ สพฐ.ได้เตรียมกิจกรรมเสริมทักษะอาชีพเป็นหน่วยการเรียนหลากหลายให้นักเรียนในช่วง 11 วันก่อนเปิดภาคเรียน (17-31 พฤษภาคม) เพื่อเป็นทางเลือก พร้อมประกาศให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) เป็นศูนย์การรับนักเรียนสำหรับเด็กที่พลาดสอบเข้าโรงเรียนดังและยังไม่มีที่เรียน โดยเขตพื้นที่การศึกษาจะจัดลำดับโรงเรียนที่ว่างไว้ให้ ยืนยันว่าเด็กมีที่เรียนทุกคน

e0b8aae0b89ee0b890.e0b980e0b8

ทั้งนี้ ในระหว่างวันที่ 5-16 พฤษภาคมนี้ สพฐ.จะปรับการทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมสนับสนุนโรงเรียนและครูในการสอนออนไลน์ โดย สพฐ.จะปรับคลังสื่อการเรียนรู้ทั้งหมด โดยเฉพาะสื่อการเรียนที่ครูและสถานศึกษาทั่วประเทศเคยดำเนินการเมื่อปีที่ผ่านมา ที่มีการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ออนไลน์อย่างหลากหลาย เพื่อให้โรงเรียนสามารถนำสื่อของ สพฐ.ไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งร่วมมีอกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) พัฒนาครูให้มีทักษะการสอนที่น่าสนใจด้วย ย้ำว่า หากโรงเรียนใด ในพื้นที่ใด สามารถเรียนในห้องเรียนปกติได้ ให้ใช้โรงเรียนเป็นฐาน แต่ถ้าไม่สามารถสอนในห้องเรียนได้ ให้ดูความพร้อมและความต้องการของนักเรียนเป็นสำคัญ โดยนำรูปแบบการสอน 5 รูปแบบของ สพฐ. มาปรับใช้ คือ On-site, On-Air, Online, On-Hand, On-Demand เพื่อให้ผู้ปกครองมั่นใจว่าบุตรหลานของตนได้เรียนอย่างแน่นอน ส่วนความพร้อมในการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 นั้น ได้จัดทำมาตรการในการเข้าสอบ เช่น จำกัดจำนวนนักเรียน การเดินทางไป-กลับ มาตรการเข้าห้องสอบ ออกห้องสอบ ฯลฯ เพื่อเสนอศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ