แจงดราม่าคลองเตย พลาสติกกั้นกักโควิด-19 ทำดีที่สุดแล้ว สาวร่ำไห้จากบ้านลดแพร่เชื้อ (คลิป)

6 พ.ค. 64

กรณีผู้ใช้เฟซบุ๊ก ปกรณ์ พรชีวางกูร หรือ บุ๊ง นักเคลื่อนไหวทางการเมือง โพสต์ข้อความเมื่อวันที่ 5 พ.ค.64 ที่ผ่านมา พร้อมติดแฮชแท็กว่า รัฐมันห่วยราษฎรจึงต้องช่วยกันเอง โดยระบุข้อความต่ออีกว่า "ภาพนี้เพิ่งถ่ายออกมาจากคลองเตย ตอนนี้ศูนย์เด็กเล็กในชุมชนถูกเอามาทำเป็นสถานที่ ๆ เอาไว้กักตัวเด็ก ๆ กับพ่อแม่ที่ติดเชื้อหรืออยู่ในภาวะเสี่ยงครับ แล้วตอนนี้ทุกคนที่อาสามาช่วยตรงนี้ ก็ทำอะไรไม่ได้เลย ติดกฎติดข้อห้ามที่ไม่ค่อยจะมีเหตุผลเยอะแยะเต็มไปหมด"

125152

ล่าสุดวันที่ 6 พ.ค.64 ทีมข่าวอมรินทร์ ทีวี ลงพื้นที่ดังกล่าวพบว่าเป็นชุมชนพัฒนาใหม่ ซึ่งเป็นชุมชนแออัด มีการทำสถานที่กักตามภาพที่ปรากฏจริง แต่อยู่ในพื้นที่อาคารลานเด็กเล่นของชุมชน ไม่ใช่ศูนย์เด็กเล็ก โดยใช้พลาสติกใส่ขนาดใหญ่ปิดกั้นพื้นที่ไว้ ขณะเดียวกันพบว่าอาคารแห่งนี้ปกติชุมชนจะใช้เป็นที่ประชุม ซึ่งจะมีพื้นที่โถ่งกลางโล่ง มีห้องน้ำ และมีไฟฟ้าใช้เหมือนห้องประชุมทั่วไป

562458

จากการสังเกต ทีมข่าวพบอาหาร น้ำดื่ม อุปกกรณ์ป้องกัน ทั้งหน้ากากอนามัย ชุด PPE ถุงมือ เจลและแอลกอฮอล์และของใช้อื่น ๆ ครบครันในสถานที่แห่งนี้

444224

ทีมข่าวพบนางมาเรียม ป้อมดี อายุ 59 ปี ประธานชุมชนพัฒนาใหม่ ที่หลานกับสามีก็ติดเชื้อโควิด-19 เปิดเผยว่า ชุมชนแห่งนี้มีประชากร รวม 2,000 กว่าคน (รวมคนต่างถิ่นเข้ามาเช่าอาศัย) บ้านที่มีบ้านเลขที่จำนวน 450 หลังคาเรือน และที่ไม่มีบ้านเลขที่ยังไม่ทราบจำนวน เพราะชุมชนค่อนข้างแออัด ส่วนสถานการณ์ในชุมชนตอนนี้มีผู้ติดเชื้อแล้ว 113 คน ยังเหลือ 4 คน กักอยู่ในที่ชุมชนช่วยกันจัดทำขึ้นมา เพราะยังรอการรักษาใช้สิทธิ์ประกันสังคม ซึ่งยังลุ้นประชาชนอีกส่วนที่เพิ่งได้ตรวจโควิด-19 ไปเมื่อเช้านี้

356038

ทั้งนี้ตนยอมรับว่า ไม่สามารถทนเห็นลูกบ้านเดือดร้อนได้ ดังนั้นเมื่อมีคนติดเชื้อมา 1 คน ก็เริ่มคิดว่าต้องมาแน่ แต่สิ่งเดียวที่ต้องทำคือพ่อแม่พี่น้องในชุมชนต้องปลอดภัย กระทั่งวันที่ 22 เม.ย.64 ซึ่งเป็นวันที่ลูกบ้าน ตั้งครรภ์ประมาณ 4-5 เดือนติดเชื้อ ในวันนั้นตนพยายามติดต่อทุกคนหน่วย แต่ก็ไม่มีใครมารับไปรักษาเป็นเวลา 7 วัน ตนถึงขั้นนอนน้ำตาไหลทุกคืน วันที่ 27 เม.ย.64 หลังตรวจเชิงรุกยอดผู้ติดเชื้อก็พุ่ง ส่วนเคสแรกที่ตั้งครรภ์ก็ได้รับการรักษาจริง ๆ ในวันที่ 5 พ.ค.64

118352

โดยจุดเริ่มต้นของสถานที่กักกัน ก็เริ่มจากผู้ติดเชื้อคนแรกที่ตนคิดในใจว่า "เดี๋ยวต้องเพิ่มแน่ ๆ" หากรอการรักษาเชื้อกระจายแน่นอน ก่อนตัดสินใจปรึกษากันว่า หากชุมชนเราระบาดหนักเราจะทำกันอย่างไร และลงความเห็นว่าให้ใช้สถานที่อาคารเด็กเล่น ที่มูลนิธิดวงประทีป เป็นผู้สนับสนุนการก่อสร้างให้ เพราะหลังจากนั้นคนติดเชื้อในชุมชนก็พุ่งจนน่ากลัว

651966983419

สำหรับผู้กักตัวส่วนใหญ่ยืนยันว่าจะอยู่ตรงนี้เพราะใกล้บ้าน แม้ว่าจะย้ายไปที่วัดสะพานก็ต้องรอเหมือนกัน ไม่แตกต่างกัน แต่หากรัฐบาลมาตรวจสอบว่าสถานที่กักกันทำไม่ถูกต้อง ตนพร้อมติดคุก ยืนยันว่าการทำสถานที่กักกันในชุมชนเป็นการทำเพื่อคนในชุมชน อีกทั้งที่นี่มีความพร้อมทุกอย่าง เพราะรับการสนับสนุนตากหลายส่วน ทั้งนักการเมือง มูลนิธิครูประทีป และหน่วยงาน ดังนั้นสำหรับใครที่จะช่วยเหลือชุมชนพร้อมรับทุกสิ่ง โดยไม่มีเงื่อนไข ส่วนคนโพสต์เจตนาเป็นอย่างไรตนก็ขอขอบคุณที่คนหวังดี และหวังไม่ดี

อย่างไรก็ตาม ตนไม่ขอกล่าวพาดพิงถึงใคร เพราะรู้สถานการณ์ว่าลำบากกันหมด ส่วนรัฐบาลที่ช่วยตรวจเชิงรุก ช่วยฉีดวัคซีนให้คนในชุมชน ก็ขอบคุณจากใจจริง

798119

ทีมข่าวได้ต่อสายโทรศัพท์คุยกับ น.ส.โบว์ 30 ปี (สงวนชื่อ-สกุลจริง) ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รอการรักษา เปิดเผยว่า ตนมีอาชีพเป็นแม่บ้าน ย่านสุขุมวิท ออกไปทำงานและกลับเข้าบ้านเวลา 19.00 น. ในแต่ละวันไม่ได้แวะที่ไหน อย่างมากก็แค่เดินเข้าร้านสะดวกซื้อ กระทั่งวันที่ 4 พ.ค.64 มีการตรวจเชิงรุก ผลก็ออกในคืนวันนั้นติดโควิด-19 ซึ่งไม่มีอาการใด ๆ แค่รู้สึกว่าเหนื่อยง่าย แต่ตอนนั้นไม่คิดว่าติดโควิด-19 คิดแค่ว่าเหนื่อยจากการทำงาน

titled_3

ทั้งนี้ตนยอมรับว่าตกใจมากไม่คิดว่าจะเป็น เพราะไม่รู้ตัวว่าไปสัมผัสอะไรมาบ้าง จุดไหนมีเชื้อบ้าง รู้สึกงงสับสนไปหมด กังวลและห่วงลูกทั้ง 5 คน ซึ่งอายุตั้งแต่ 4-13 ปี โชคดีที่สามีและลูก ๆ ไม่ติดโควิด-19

สำหรับอาการตอนนี้ มีไข้ ปวดหัว ไอ และเหนื่อยงาย และยังรอรถมานับไปรักษา เบื้องต้นได้รับการติดต่อจาก รพ.เปาโล ขอให้รอเตียง ตอนนี้ผู้นำชุมชนก็สวมชุด PPE มาวัดความดัน วัดไข้ให้ตลอด ส่วนเรื่องอาหารมีให้ทั้ง 3 มื้อ สะดวกไม่ลำบาก และยืนยันว่าไปวัดสะพานก็ต้องรอรักษาเหมือนกัน อยู่ที่นี่ใกล้บ้านและสบายใจกว่า

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ทุบโต๊ะข่าว เป็นกระแส