ศบค.ยืนยันควรฉีด วัคซีนโควิด ย้ำ อาการคล้ายอัมพฤกษ์ เป็นเรื่องที่ยอมรับได้

28 เม.ย. 64

ศบค.ยืนยันควรต้องฉีด วัคซีนโควิด ย้ำ อาการคล้ายอัมพฤกษ์ เป็นภาวะที่ยอมรับได้ทางการแพทย์ ต้องหากพบต้องไปสืบสวนต่อ

วันนี้(28 เม.ย.64) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวในการแถลงสถานการณ์โควิด-19 ระบุถึงข้องกังวลในการฉีดวัคซีนโควิด ยืนยันว่าประชาชนควรฉีดวัคซีน โดยระบุว่า วัคซีนที่มีการกระจายตอนนี้อยู่บนพื้นฐานของวัคซีนในภาวะฉุกเฉินที่ได้รับการอนุญาตจากองค์การอนามัยโลก โดยรณรงค์ให้ฉีดเนื่องจากวัคซีนมีส่วนช่วยลดอัตราการเสียชีวิต และมีรายงานว่าลดอัตราการใช้โรงพยาบาล และการใช้ห้อง ICU แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานยืนยันว่าฉีดวัคซีนแล้วจะไม่แพร่กระจายเชื้อ โดยจะเห็นได้ว่าผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ท่านยังแนะนำให้ประชาชนฉีดวัคซีน ซึ่งแผนการกระจายวัคซีนของภาครัฐ ต้องการให้ครอบคลุมประชากรในประเทศไทย 70% ทั้งชาวไทยและต่างชาติ หรือประมาณ 50 ล้านคน คนละ 2 โดส รวมเป็น 100 ล้านโดส ซึ่ง สธ.มีแผนการกระจายวัคซีนเสร็จสิ้นใน เดือน ธ.ค.64

หมอยง เผย โควิดสายพันธุ์เบงกอล หลบวัคซีนได้ แต่ยังไม่พบระบาดในไทย

ในกรณีที่ฉีดวัคซีนแล้วพบอาการคล้ายอัมพฤกษ์ ซึ่งต้องใช้คำว่าคล้ายเพราะมีอาการคล้ายแต่เมื่อไปตรวจสอบทางการแพทย์แล้วจะพบว่าไม่ใช่ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยมีอาการตัวรุมคล้ายกับเป็นไข้แต่เมื่อวัดอุณหภูมิแล้วพบว่าไม่ได้มีไข้ และต้องไปค้นหาสาเหตุอาการต่อ ซึ่งเป็นภาวะที่ยอมรับได้ในทางการแพทย์ หากพบผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายอัมพฤกษ์หรือคล้าย สโตรค ก็ต้องไปสอบสวนต่อ เมื่อสอบสวนพบว่า ผู้ป่วยบางรายมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชา พูดลำบาก ทีมสืบสวนตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมองพบว่าผลเป็นลบ จึงมีข้อสรุปออกมาว่าเป็นอาการคล้ายอัมพฤกษ์ แต่ยืนยันว่าไม่น่าจะใช่ เป็นต้น

img_20210426124323000000
พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค.

ทั้งนี้ในข่าวอาจจะเห็นว่ามีอาจารย์ นักวิชาการให้ความเห็นแย้งได้ ซึ่งการถกเถียงกันถือเป็นธรรมดาทางการแพทย์ ทำให้เกิดการศึกษา สอบสวนหาข้อมูลต่อเพื่อมายืนยันว่าหลักฐานใดเป็นข้อเท็จจริงที่จะเป็นข้อสรุปในอนาคต ในระหว่างนี้ยังไม่มีข้อสรุปก็จะมีการหาข้อมูลหลักฐานที่เป็นข้อเท็จจริงเพื่อมาชี้แจงพี่น้องประชาชน ในบางครั้งในสถานการณ์วิกฤตความขัดแย้งที่เกิด การตั้งคำถามตรวจสอบซึ่งกันและกันเกิดจากความใส่ใจและห่วงใย จึงเห็นต่างกันได้ เสนอข้อชี้แนะกันได้ โดยอยู่บนพื้นฐานที่ช่วยกันดูแลประชาชน และเคารพซึ่งกันและกัน

ขณะที่จำนวนการฉีดวัคซีน ณ วันที่ 27 เมษายน 2564 อยู่ที่ 1,279,713 ราย แบ่งเป็นเข็มที่ 1 จำนวน 1,038,960 ราย ครบ 2 เข็ม รวม 240,753 ราย 

สถาบันวัคซีน โต้ข่าว ไฟเซอร์ เสนอขายไทย 4 รอบ แต่รัฐบาลปฏิเสธ

นายกฯ แถลง ตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้ประชาชน 50 ล้านคน ภายในสิ้นปีนี้

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ