สสส. ชี้ โควิด19 ทำ คนไร้บ้าน ไทยเพิ่ม แถมไร้มือถือรับสิทธิ์เยียวยา

22 เม.ย. 64

สถิติ คนไร้บ้าน นายอนรรฆ พิทักษ์ธานิน ผู้จัดการแผนงานพัฒนาองค์ความรู้คนไร้บ้าน สสส. เปิดเผยว่า การสำรวจกลุ่มคนไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่ามีแนวโน้มเกิดคนไร้บ้านหน้าใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30 หรือราว 300-400 คน จากเดิมในตัวเลข 1,500-1,600 ราย แน่นอนว่า สาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากพิษโควิด เมื่อกิจการจำต้องปิด หลายชีวิตถูกเลิกจ้าง คนหาเช้ากินค่ำขาดรายได้ ไร้เงินจ่ายค่าเช่าบ้าน หรือแม้กระทั่งห้องหับเล็กๆ คนกลุ่มนี้เอง จึงต้องกลายเป็นคนไร้บ้านในที่สุด

เสี่ยงเกษียณอย่างเป็นทุกข์! คลังเผย หนี้ครัวเรือน พุ่ง 86.6% ต่อจีดีพี ผลกระทบ โควิด19 

ทั้งนี้ การระบาดของโรคโควิด19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบรุนแรงกว่าการระบาดระลอกแรก หลายกิจการยังไม่ทันฟื้นตัว ก็เจอวิกฤตซ้ำ กิจการต่างๆ ก็มีแนวโน้มปิดตัวเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาคือการเลิกจ้างและมีคนตกงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังพบว่ากลุ่มคนไร้บ้านส่วนใหญ่เข้าไม่ถึง สวัสดิการ, การช่วยเหลือ หรือเยียวยาจากภาครัฐ อาทิ หลายคนไม่มีสมาร์ทโฟน หรือคนที่มีก็ไม่มีเงินจ่ายค่าโทรศัพท์เพื่อลงทะเบียนรับสิทธิต่างๆ

ส่วนผลการศึกษาของ ผศ.ดร.พีระ ตั้งธรรมรักษ์ และ ณัฎฐ์ศุภณ ดำชื่น นักวิจัยภายใต้แผนงานพัฒนาองค์ความรู้ฯ คนไร้บ้าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งมีรายงานอย่างเป็นทางการเรื่อง "การประมาณการประชากรคนไร้บ้าน ภายใต้สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)" นำเสนอการประมาณการจำนวนคนไร้บ้านในกรุงเทพมหานคร หลังเกิดสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 โดยแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30% และปัจจัยที่ทำให้คนไร้บ้านเพิ่มสูงขึ้นเกิดจากภาวะการว่างงานและการเข้าไม่ถึงที่อยู่อาศัย

อย่างไรก็ตาม สัญญาณเตือนทางเศรษฐกิจและสังคมแสดงให้เห็นในทิศทางเดียวกันว่า ภายใต้วิกฤตการแพร่ระบาดของ โควิด19 ไทยกำลังจะมีคนไร้บ้านเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่เราจะได้หาแนวทางในการป้องกันไม่ให้ คนต้องกลายเป็น คนไร้บ้าน ตลอดจนเตรียมมาตรการรับมือในการช่วยเหลือเยียวยา หากเขาต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน

ภาพจาก AFP

คนละครึ่งเฟส 3 มาแน่! เดือน พ.ค.นี้ เตรียมกดรับสิทธิ เราเที่ยวด้วยกัน ต่อโปรด้วย 

สุพัฒนพงษ์ เผย เยียวยาโควิด รอบใหม่มิ.ย. ถ้ามีอีกระลอกต้องกู้เพิ่ม 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ