ซีอีโอ 40 บริษัทใหญ่ ช่วยรัฐจัดหา วัคซีนโควิด เผยพร้อมจ่ายค่าวัคซีนให้ พนง. 1 ล้านคน

21 เม.ย. 64

ซีอีโอ 40 บริษัทใหญ่ ห่วงไทยฉีด วัคซีนโควิด ล่าช้า พร้อมช่วยจัดหาวัคซีนทางเลือก - จ่ายค่าวัคซีนให้ พนง. 1 ล้านคน เล็งในปี 64 กรุงเทพฯ ฉีด 70%

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า เมื่อวันที่ 19 เม.ย.64 หอการค้าไทยหารือกับ CEO บริษัทใหญ่ 40 แห่ง ผ่านระบบประชุมทางไกล เพื่อวางแผนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของภาคเอกชนและการจัดหาวัคซีนทางเลือกให้เพียงพอ โดยสนับสนุนภาครัฐให้สามารถเปิดประเทศได้อย่างรวดเร็ว เพื่อความปลอดภัยและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวโยบายหลัก ภารกิจ 99 วันแรกของการทำงานในหอการค้า ที่ต้องมีการ Connect the dots คือ ดึงความร่วมมือจากทุกฝ่าย ให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

จ่อแถลงความชัดเจนกรณีฉีด วัคซีนซิโนแวค แล้วเกิดอาการอัมพฤกษ์ 6 ราย

อย่างไรก็ตามวัคซีนล็อตใหญ่ที่จะเริ่มเข้ามาตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้ จะต้องมีการเตรียมตัว และวางแผนการกระจายวัคซีนให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น หอการค้าไทยและเครือข่ายภาคเอกชน จะช่วยสนับสนุนภาครัฐในการกระจายวัคซีนที่ภาครัฐจัดซื้อมา ให้เกิดประสิทธิภาพและทั่วถึงมากที่สุด โดยจะเริ่มที่ กทม.ก่อน เพื่อเป็นตัวอย่างให้จังหวัดอื่นๆ พร้อมสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการเจรจาซื้อวัคซีนทางเลือกเพิ่มเติม

ส่วนการดูแลวัคซีนเมื่อซื้อมาแล้วไม่ต้องกังวล เพราะเอกชนพร้อมดูแลและกระจายวัคซีน โดยสนับสนุนสถานที่ บุคลากร ระบบขนส่ง ระบบเทคโนโลยี เพื่อให้ทุกจังหวัดฉีดได้ แต่เรื่องเร่งด่วน คือ การหาวัคซีนเนื่องจากไทยฉีดวัคซีนเพียง 0.4% ของประชากร ล่าช้ามาก ซึ่งถ้าจะเปิดประเทศต้องฉีดให้ได้ 70% ของประชากร

ahr0chm6ly9zlmlzyw5vb2suy29tl

นายสนั่น กล่าวว่า หอการค้าไทยตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2564 ต้องบรรลุเป้าหมายการฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯ 70% โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้าในกรุงเทพฯ ต้องได้รับการฉีด 100% ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ส่วนการฉีดวัคซีนให้ประชาชนในกรุงเทพฯ ต้องให้ได้อย่างน้อย 50,000 โดสต่อวันโดยภาคเอกชนจะเข้ามาเสริมการทำงานของภาครัฐเพื่อให้ได้เป้าหมายดังกล่าว

พร้อมกันนั้น จะจัดทำรูปแบบมาตรฐาน หรือรูปแบบตัวอย่างของภาคเอกชนที่สนับสนุนการฉีดวัคซีน ให้กับจังหวัดอื่นๆ ภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ และเชื่อมั่นว่า ภาคเอกชนสามารถใช้ความถนัด ความเชี่ยวชาญ และ ทรัพยากรของพวกเราเพื่อประเทศได้ 

img_20210316114414000000

หอการค้าไทยและเครือข่าย จะแบ่งงานออกเป็น 4 ทีม เพื่อสนับสนุนการฉีดวัคซีน  ได้แก่ 

  1. A: Distribution and Logistics ทีมสนับสนุนการกระจายและฉีดวัคซีน ช่วยสนับสนุน สถานที่ บุคลากร อาสาสมัคร และอุปกรณ์ IT เช่น คอมพิวเตอร์ ปริ๊นเตอร์ เครื่องอ่านบัตรประชาชน ให้ กทม.เพิ่มจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชน 
  2. TEAM B : Communication ทีมการสื่อสาร เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและมาฉีดวัคซีนในสถานที่ที่พร้อม
  3. TEAM C : IT Operation ทีมเทคโนโลยีและระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการลงทะเบียน ขั้นตอนในการฉีดที่รวดเร็ว และมีระบบการติดตามตัว พร้อมสามารถออกใบรับรองการฉีดวัคซีนได้
  4. TEAM D: Extra Vaccine procurement  ทีมจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม ร่วมกับภาครัฐและเครือข่ายโรงพยาบาลเอกชน โดยจะไปสำรวจความต้องการฉีดวัคซีนทางเลือกเพิ่มเติม เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล  และทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วมากขึ้นทั้งนี้ประเมินว่ายังต้องการวัคซีนทางเลือกเพิ่มเติมอีก 30 ล้านโดส เพื่อให้ครอบคลุมร้อยละ 70 ของประชากรทั้งประเทศ 

 

สำหรับวัคซีนทางเลือกมาจากผู้ผลิต 6 ราย ใน 4 ประเทศ คือ 

  1. 1.สหรัฐ วัคซีน Moderna และ Pfizer
  2. 2.จีน วัคซีน Sinopharm และ CanSino Biologics
  3. 3.อินเดีย วัคซีน COVAXIN จากบริษัท Bharat Biotech
  4. 4.รัสเซีย วัคซีน Sputnik V 

ซึ่งภาคเอกชนยินดีที่จะจ่ายค่าวัคซีนให้กับพนักงานของบริษัทรวมแล้วเกือบ 1 ล้านราย เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับรัฐบาล สำหรับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ CEO ที่เข้าร่วมการประชุม อาทิ บจก.น้ำตาลมิตรผล, บจก.ปูนซิเมนต์ไทย (SCG), บจก.เซ็นทรัลพัฒนา, บมจ.เดอะมอลล์ กรุ๊ป, บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ, ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), บจก.โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท, บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นต้น 

เปิดแถลงการณ์ร่วม กรมควบคุมโรค - แอสตร้าเซนเนก้า ไทย ปมลิ่มเลือดอุดตัน

เอาแล้ว! ทางการจีนรับเองวัคซีนโควิด ซิโนแวค ประสิทธิภาพต่ำ 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ