ปรากฎการณ์หายาก! ดวงจันทร์บังดาวอังคาร คืน 17 เมษายน 2564

18 เม.ย. 64

สดร.เผยภาพปรากฎการณ์หายาก ดวงจันทร์บังดาวอังคาร คืน 17 เมษายน 2564 อีก 19 ปี กว่าจะได้เห็นอีก!

วันที่ 18 เม.ย.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยภาพ “ดวงจันทร์บังดาวอังคาร” คืน 17 เมษายน 2564 ก่อนดาวอังคารแตะขอบดวงจันทร์ เวลา 20:09 น. บันทึกภาพ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ และขณะดาวอังคารโผล่พ้นออกจากดวงจันทร์ เวลา 21:26 น. บันทึกภาพ ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ดังกล่าวหาชมยากในไทย กระแสในโซเชียลมีเดียคึกคัก สดร. จัดถ่ายทอดสดทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ มีประชาชนให้ความสนใจติดตามชมกว่าหลายพันคน

ชวนรอดู ดวงจันทร์บังดาวอังคาร คืนนี้ (17 เม.ย.) หากพลาดต้องรออีก 19 ปี

ปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวอังคาร ในครั้งนี้ เริ่มสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตก ดาวอังคารเริ่มสัมผัสขอบดวงจันทร์ในเวลาประมาณ 20:12 น. ค่อย ๆ ลับหายไปด้านหลังของดวงจันทร์ และโผล่พ้นออกมาทั้งดวงอีกครั้งในเวลาประมาณ 21:28 น. (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร หากสังเกตการณ์ในพื้นที่อื่น ช่วงเวลาของการบังจะเริ่มและสิ้นสุดไม่พร้อมกัน) คืนดังกล่าวยังตรงกับดวงจันทร์ขึ้น 5 ค่ำ มองเห็นปรากฏการณ์แสงโลก (Earthshine) ได้อย่างชัดเจนอีกด้วย
172276929_4105027146227535_62

สำหรับบรรยากาศการเฝ้าติดตามชมปรากฏการณ์ดังกล่าว แม้ว่าสภาพท้องฟ้าจะมีเมฆมากและฝนตกเกือบทุกภูมิภาคในไทย แต่ก็ยังสามารถสังเกตเห็นได้หลายจังหวัด อาทิ เชียงใหม่ นนทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด ระยอง ชลบุรี นครราชสีมา ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ขอนแก่น เลย ศรีสะเกษ ระนอง ภูเก็ต สงขลา ยะลา ฯลฯ

172334260_4105027126227537_82

การบังกันของวัตถุท้องฟ้า (Occultations) เป็นปรากฏการณ์ที่วัตถุท้องฟ้าหนึ่งเคลื่อนที่ผ่านหน้ามาบังอีกวัตถุหนึ่งเมื่อสังเกตจากแนวสายตา อาทิ ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์ ดวงจันทร์บังดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์บังดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์บังกันเอง เป็นต้น

173779004_4105027119560871_21

เราสามารถใช้ปรากฏการณ์นี้คำนวณหาระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ คำนวณหาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวัตถุ ตรวจหาและศึกษาโครงสร้างของชั้นบรรยากาศ รวมถึงการใช้ตรวจหาวงแหวนของดาวเคราะห์ชั้นนอกได้อีกด้วย เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์สำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อวงการวิจัยดาราศาสตร์

172850198_4105027182894198_15

ดวงจันทร์บังดาวอังคาร เป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่หาชมยาก เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และนานทีจะสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย #ครั้งต่อไปที่สามารถสังเกตได้ในไทย อีก 19 ปีข้างหน้า จะเกิดขึ้นวันที่ 22 มีนาคม 2583 เวลาประมาณ 00:15 น.

คืนนี้ 13 ธ.ค. ถึงเช้ามืด ชมฝนดาวตก "เจมินิดส์" นักดาราศาสตร์เผยช่วงเวลา "สวยที่สุด"
ชวนดูปรากฏการณ์ "ดาวอังคาร" เข้าใกล้โลก 6 และ 14 ต.ค. นี้ 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ