เปิดความลับ ขนหมูป่าออกถ้ำใช้ "ยาสงบ" หมอยันไม่ผิด ทีมค้นรับหวิดดับคลำทางพลาด (คลิป)

17 ก.ค. 61
วันที่ 16 ก.ค. 61 เจสัน มัลลินสัน และ คริส จีเวลล์ นักดำน้ำชาวอังกฤษ ที่มีประสบการณ์กว่า 30 ปี และได้เข้ามาช่วยในภารกิจถ้ำหลวง โดยได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผ่านทาง เว็บไซต์เดลี่เมลล์ ว่า ขณะมาถึงถ้ำหลวง ก็ได้สมทบกับนักดำน้ำอีก 2 คน คือ จอห์น โวลันเธน และ ริก สแตนตัน ซึ่งตัวเองได้เดินทางมาถึงประเทศไทยในวันที่ 6 ก.ค. เมื่อเข้าไปในถ้ำหลวงก็พบว่าด้านในมีออกซิเจนน้อย อากาศแย่มาก
เจสัน มัลลินสัน และ คริส จีเวลล์ นักดำน้ำชาวอังกฤษ
 
แบบจำลองการลำเลียงทีมหมูป่าอะคาเดมีออกจากถ้ำ
นอกจากนี้ เจสัน มัลลินสัน และ คริส จีเวลล์ ยังได้เป็นคนนำกระดาษไปให้ทีมหมูป่าอะคาเดมีเขียนข้อความเพื่อส่งให้ญาติที่อยู่ด้านนอก เพราะคิดว่า ทีมหมูป่าน่าจะอยากระบายอะไรหลังจากติดถ้ำมาเกือบ 10 วัน และฝากไปถึงญาติเพื่อเยียวยาจิตใจ นอกจากนี้ เจสัน มัลลินสัน และ คริส จีเวลล์ ยังอธิบายถึงวิธีการลำเลียงเด็กออกจากถ้ำ ขณะดำน้ำออกให้เด็กนอนคว่ำ และค่อยๆผลักเด็กๆ ไปด้านหน้าผ่านช่องทางต่างๆ โดยคอยจับสายรัดเอาไว้ และต้องประคองเด็กเอาไว้ด้วย และอีกมือนึงก็ต้องถือถังอากาศให้เด็กด้วย ซึ่งต้องยอมรับว่าการลำเลียงเด็กออกมาไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งคู่ยังต้องถอดถุงมือขณะดำน้ำ เพราะว่าถ้าใส่ถุงมือจะคลำหาหินที่ขวางทางไม่เจอ ซึ่งการถอดถุงมือก็ทำให้นิ้วและมือมีรอยบอบช้ำ และในระหว่างการลำเลียงเด็กออกมากก็เกิดเหตุการณ์ผิดคาดเกิดขึ้น คือการทำมือหลุดจากสายนำทางที่ใช้โยงออกจากถ้ำ  ซึ่งต้องใช้เวลากว่า 4 นาที ในการกวาดมือไปรอบๆเพื่อหาสายนำทาง จนกระทั่งคว้าสายไฟที่นำทางพวกเขากลับไปที่โถง 4 อีกครั้ง ซึ่งยอมรับว่ายากแต่เราก็ทำได้แล้ว
นายแพทย์ริชาร์ด แฮร์ริส และ เคร็ก แชลเลน นักดำน้ำชาวออสเตรเลีย
ด้านสถานีโทรทัศน์ ABC รายงานว่า นายแพทย์ริชาร์ด แฮร์ริส วิสัญญีแพทย์ และ เคร็ก แชลเลน ซึ่งเป็นเป็นคู่หูในการดำน้ำร่วมกัน ได้รับสิทธิคุ้มกันทางการทูตซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลออสเตรเลียกับรัฐบาลไทย ให้กับนักดำน้ำทั้งสองรายหมายถึง ถ้ามีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้น 2 รายนี้ จะไม่ถูกดำเนินคดีใดๆ ซึ่งกระทรวงต่างประเทศออสเตรเลียยังไม่ตอบรับหรือปฏิเสธใดๆ เพียงแต่ขอให้สื่อไปสอบถามกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยเอง ด้าน เคร็ก แชลเลน ได้เปิดใจกับ สื่อท้องถิ่นในประเทศออสเตรเลีย ว่าภารกิจช่วยเหลือสมาชิกทีมหมูป่า อะคาเดมี ถือเป็นหนึ่งในภารกิจการดำน้ำกู้ภัยในถ้ำที่มี “อันตรายที่สุด”ที่เขาเคยเข้าร่วม ถือเป็นภารกิจแห่งความเป็นและความตาย ที่พร้อมจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ เคร็ก ยังยอมรับว่า เด็กๆทีมหมูป่านั้นถูกให้ยาซึ่งทำให้สงบ ถึงขั้นไม่รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างเพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาตื่นกลัวหรือว่าตื่นตระหนกในระหว่างการดำน้ำลำเลียงพวกเขาออกมา และพวกเขาได้รับยา เราไม่สามารถปล่อยให้พวกเขาตื่นกลัวได้ ไม่เช่นนั้นพวกเขาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต และแม้แต่คนที่เข้าไปช่วยก็อาจจะไม่รอด นอกจากนี้ เคร็ก ยังบอกอีกว่า ตนมั่นใจว่าจะพาเด็กออกมาได้แน่แต่ไม่มั่นใจว่าเด็กจะมีชีวิตรอดหรือไม่ ถ้าเราพาตัวเขาไปชนกับหินแรงจนเกินไปจนหน้ากากอากาศเคลื่อนแล้วน้ำไหลเขามา พวกเขาอาจจะต้องเสียชีวิต เราไม่มีอุปกรณ์แบคอัพต้องฝากความหวังทั้งหมดไว้กับหน้ากาก นอกจากนี้ จากกรณีที่นาวาเอกสรรพสิทธิ์ สงกุมาร รองผู้อำนวยการกองนาวิกเวชกิจ โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว เล่าประสบการณ์การช่วยนักฟุตบอลเยาวชนและโค้ชทีมหมูป่า อะคาเดมี ทั้ง 13 คน ออกจากถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ออกมาได้อย่างปลอดภัย โดยระบุว่า แพทย์มีการใช้ยาสงบนั้น
นพ.สิทธา ลิขิตนุกูล แพทย์สังคมสื่อสารเพื่อคุณธรรม
นายแพทย์สิทธา ลิขิตนุกูล หรือ หมอกอล์ฟ แพทย์สังคมสื่อสารเพื่อคุณธรรม เปิดเผยว่า ในมุมมองของตน การช่วยนำตัวน้องทั้ง 13 คน ออกมาจากถ้ำนั้น ไม่ใช่การวางยาสลบแน่นอน แต่อาจจะเป็นการวางยาสงบ หรือเพียงแค่เป็นยาที่ทำให้น้องมีอาการมึนเท่านั้น ซึ่งการวางยาสงบ ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ที่จะช่วยให้การนำตัวน้องออกมาจากถ้ำได้อย่างปลอดภัย เพราะการนำผู้ประสบภัยออกจากถ้ำที่อยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย ประกอบกับนักประดาน้ำที่เข้าไปช่วยเหลือ ต้องใช้ทั้งสมาธิและพละกำลังอย่างมาก การให้ยาสงบ เพื่อป้องการอาการตื่นตกใจของน้อง จนทำให้การลำเลียงน้องทั้ง 13 คน เป็นไปอย่างสะดวก และปลอดภัยที่สุด ทั้งนี้ ส่วนของการให้กินยาสงบ ด้วยวิธีการทายา หรือ ดมยา หรืออาจเป็นวิธีอื่นก็ได้ ซึ่งตนไม่มั่นใจว่า เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติภารกิจตรงจุดนั้นจะใช้วิธีใด แต่ที่เห็นได้จากอุปกรณ์ที่นักประดาน้ำนำเข้าไปภายในถ้ำนั้น สามารถประเมินได้ว่า ไม่ใช่อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวางยาสลบแน่นอน การวางยาสลบต้องมีขั้นตอนมากมาย และใช้อุปกรณ์เยอะพอสมควร แต่อุปกรณ์ที่นักประดาน้ำนำเข้าไป น่าจะเพียงพอสำหรับใช้เป็นอุปกรณ์วางยาสงบ ส่วนประเด็นที่หลายคนอาจสงสัยว่า หากใช้ยาสงบขณะลำเลียงออกมาจากถ้ำนั้น จะทำให้เกิดผลข้างเคียง หรือได้รับผลกระทบด้านสุขภาพร่างกายหรือไม่ ตนยอมรับว่า จากการให้ยาสงบ อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม หลังถูกวางยาสงบ เพื่อลำเลียงออกมาจากถ้ำได้อย่างปลอดภัยแล้ว ก็คงต้องมีการตรวจเช็กสุขภาพอย่างละเอียดอีกครั้ง

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ