เผย 5 อาการและ 6 กลุ่มเสี่ยงภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ

22 มี.ค. 64

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เตือนภาวะ หยุดหายใจขณะหลับ จากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea ) เกิดจากการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อทางเดินหายใจส่วนต้นขณะหลับ ส่งผลให้ลมหายใจผ่านน้อยกว่าปกติ หรือไม่สามารถผ่านเข้าออกได้แม้จะใช้แรงในการหายใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งภาวะความผิดปกตินี้เป็นอันตราย และอาจทำให้เกิดความผิดปกติอื่นตามมาได้ แนะควรได้รับการตรวจเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

กรมอนามัย แนะ 10 วิธีแก้อาการ นอนไม่หลับ ชี้พักผ่อนไม่พอเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต 

นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น จะทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนและเกิดคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือดจนถึงระดับที่สมองต้องมีการสั่งการให้หายใจ ทำให้สมองถูกกระตุ้นให้ตื่นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกว่านอนหลับไม่สนิท โดยภาวะนี้พบมากในผู้ชายประมาณร้อยละ 15 ส่วนผู้หญิงพบได้ประมาณร้อยละ 6 ของประชากรวัยกลางคน ผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ

- นอนกรน

- ตื่นเช้าไม่สดชื่น

- ปากแห้งคอแห้ง

- อ่อนเพลียตอนกลางวัน

- รู้สึกตัวตื่นมาสำลักตอนกลางคืน

เหล่านี้ถือว่ามีภาวะเสี่ยงต่อโรคและควรเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ โดย นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันสถาบันประสาทวิทยามีห้องตรวจการนอนหลับชนิดที่มีคลื่นไฟฟ้าสมอง (In-Lab Polysomnogram) ซึ่งสามารถทำให้ประเมินภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นได้อย่างแม่นยำ และยังสามารถตรวจหาสาเหตุอื่นที่อาจส่งผลให้มีอาการผิดปกติร่วมด้วย เช่น อาการขากระตุก นอนละเมอ หรือการเคลื่อนไหวผิดปกติระหว่างการนอนหลับ โดยกลุ่มเสี่ยงที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองคือ

- ผู้ป่วยโรคอ้วน กลุ่มอาการอ้วนลงพุง

- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอายุน้อย

- ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจ เสี่ยงภาวะหัวใจวาย ภาวะหัวใจสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation)

- ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดสมองตีบหรือแตก

- ผู้ป่วยโรคหืดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา

และผู้ขับขี่ยานพาหนะที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรักษาร่วมอย่างอื่น เช่นการลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการนอนหงายที่จะส่งผลให้ทางเดินหายใจถูกอุดกั้นได้ง่าย การใช้ยาพ่นจมูกกลุ่ม steroid เพื่อลดอาการบวมของเยื่อบุจมูก เป็นต้น ดังนั้น หากพบว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ และรักษาอย่างถูกต้องเพื่อลดปัญหาหรือความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ที่อาจตามมาในภายหลังได้

สาวไต้หวันไลฟ์สดตอนหลับ คนแห่ดูเพียบแถมได้เงินด้วย 

สาวโคโยตี้พี้ “เคนมผง” ช็อกตายคาบ้าน แฟนหนุ่มร่วมวงหวิดดับ เพื่อนงงนึกว่าหลับ (คลิป) 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ