ส่องประสิทธิภาพเครื่องสแกน สำรวจโครงสร้าง 'ถ้ำหลวง' หวังช่วยทีมหมูป่า

29 มิ.ย. 61
อีกหนึ่งความหวังสำหรับการค้นหาทีมหมูป่า 13 ชีวิตในวันนี้ ก็คือการใช้เทคโนโลยีเครื่องสแกน 3 เลเซอร์ เพื่อสำรวจโครงสร้างภายในของถ้ำหลวง ซึ่งตอนนี้ได้รับความช่วยเหลือจากทั้งเอกชนและรัฐบาลประเทศต่างๆ และตอนนี้เดินทางไปถึงถ้ำหลวงแล้ว ก็คือเครื่องสแกนจากบริษัท R.S.K. เรสกิว อีควิปเมนท์ ซึ่งได้ส่งเครื่องสแกน รุ่น P20 ของไลก้า ไปยังพื้นที่ประสิทธิภาพของเครื่องสแกนตัวนี้คือการสำรวจโดยใช้เลเซอร์ที่สามารถทะลุทะลวงเข้าไปถึงในถ้ำ
ตัวอย่างภาพที่ได้จากกล้อง
รัศมีการทำงานอยู่ที่ประมาณ 150-200 เมตร ในการถ่ายและสแกนครั้งหนึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 นาที และภาพที่ได้จะออกมาเป็นโครงสร้าง 3 มิติ และจะต้องนำภาพเหล่านั้นมาประกอบกัน จึงจะเห็นภาพกว้างของถ้ำทั้งหมด ประโยชน์ของไลก้า P20 ออกแบบมาเพื่อใช้ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมันใต้พื้นดิน การสำรวจถ้ำ โครงสร้างอาคาร กำแพง หรือปราสาท ซึ่งจะทำให้ทราบลักษณะด้านในทั้งหมด แม้เป็นจุดที่สายตาไม่สามารถมองเห็นได้ รวมถึงโครงสร้างที่จมอยู่ใต้น้ำ
ตัวอย่างภาพที่ได้จากกล้อง
นอกจากนั้น ยังมีอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ส่งมาพร้อมกับกองบัญชาการภาคพื้นแปซิฟิก ก็คืออุปกรณ์รับส่งคลื่นสัญญาณ โดยใช้ดาวเทียมสำรวจภาคพื้นธรณีวิทยาทางทหาร ที่โคจรอยู่เหนือน่านฟ้าเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะสแกนภูเขาจากด้านบน ออกมาเป็นรูปแบบระบบอินฟราเรด 3 มิติ เพื่อหาพิกัดเด็กๆ และล่าสุด มีรายงานว่ากองทัพสหรัฐฯ กำลังส่งเครื่องอัลตร้าโซนิค เซ็นเซอร์ และเทอร์มัล เซนเซอร์ มาเพิ่มให้อีก ซึ่งตัวอัลตร้าโซนิค เซนเซอร์ มีประสิทธิภาพในการนำทางใต้น้ำทุกสภาวะ แม้ว่าน้ำจะขุ่นหรือเป็นโคลน ส่วนเทอร์มัล เซนเซอร์ ใช้ตรวจจับความร้อนด้วยคลื่นอินฟราเรด ประสิทธิภาพสูง

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ