ฮือฮา! พบเจ้าเหมียวลักษณะตรงตามตำรา "แมวไทยโบราณ" ของพระยาทิพโกษา

20 ก.พ. 64

เฟซบุ๊กเพจ แมวสยาม cats of Thailand โพสต์ภาพแมวตัวหนึ่งที่มีลักษณะ แมวไทยโบราณ ตรงตามตำราของพระยาทิพโกษาที่เก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติ โดยระบุว่า

หลายคนไม่เคยเห็นตำรานี้ แอดมินไม่ค่อยได้นำเสนอเท่าไหร่ เป็นตำราของพระยาทิพโกษา ถูกเก็บไว้ในหอสมุดแห่งชาติ เป็นตำราที่แปลกกว่าตำราอื่นๆ มีแมวไทยมากกว่า 23 ชนิด (มงคล 17 อัปมงคล 6) และเป็นตำราที่มีลักษณะของแมววิลาสมากที่สุดด้วย

ตำราฉบับนี้เป็นสมุดข่อย พระยาทิพโกษาเป็นผู้บริจาคให้หอสมุดแห่งชาติในสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ตำราถูกเขียนไว้ก่อนหน้านั้นนานมาก สันนิษฐานว่าเขียนในสมัยรัชกาลที่ 4-5 และในตำรามีการอ้างอิงถึงอีกหลายๆ ตำราด้วย เช่น

แมวตัวดังกล่าวอยู่ในส่วนท้ายของตำราพระยาทิพโกษา อ้างถึงตำรานายศรี หรือนายบุญศรีเสมียน วาดไม่เหมือนของตำรานายนุดถึง 4 ตัว และมีอีก 13 ตัวที่แปลกออกไปอีก ซึ่งน่าจะหมายถึงแมวมงคลในตำราที่รวมเป็น 17 ชนิด มีลักษณะแตกต่างจากตำราอื่นๆ เช่น ลายเส้นสีขาวของแมววิลาศ หรือลายด่างของแมวมุลิลา เป็นต้น

151500445_3433265090117098_60

แมวตัวดังกล่าวอยู่ในหมายเลข 12
ด้านซ้าย - ตำรานายบุญศรีเสมียน
ด้านขวา - ตำนานนายนุด

เป็นแมวที่ไม่ถูกระบุว่าเป็นชนิดใด ชื่ออะไร รวมถึงไม่มีกลอนบอกกล่าวด้วย บอกเพียงว่า แมวตัวที่ 12 ของนายบุญศรีเสมียนและนายนุดเขียนไว้ไม่เหมือนกัน ส่วนแมวมงคลของพระยาทิพโกษา ยังคงมีแมวมงคลและอัปมงคล รวม 23 ชนิดเขียนไว้เหมือนเดิม ซึ่งอยู่ในส่วนครึ่งเล่มแรกของตำรา

ในปัจจุบันเรายังหาตำราของนายบุญศรีเสมียนและตำราของนายนุดไม่เจอ ไม่ทราบว่าเสื่อมสลายหรือถูกเก็บรักษาไว้ที่ไหน แต่น่าจะเก่าแก่มากถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ หรืออ้างอิงได้ถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งตำราของพระยาทิพโกษาได้เรียนวิชามาจากตำราดังกล่าวด้วย เป็นบุคคลเดียวกับที่จดบันทึกเรื่องราวของสมเด็จพุทธจารย์โต วัดระฆังฯ

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ