"ยูเอ็น" กังวลไทยตั้งข้อหา ม.112 กับเยาวชน จี้ปรับให้เป็นสากล

19 ธ.ค. 63

สนง.ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน ยูเอ็น ออกแถลงการณ์ กังวลไทยใช้ ม.112 จับผู้ชุมนุมจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงเยาวชน 16 ปี จี้ปรับให้สอดคล้องกับหลักสากล 

วานนี้(18 ธ.ค.63) น.ส. ราวินา ชัมดาซานิ โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(OHCHR) ออกแถลงการณ์ กรณีตำรวจตั้งข้อหา ม.112 แก่ผู้ชุมนุมในประเทศไทยซึ่งในนั้นรวมเยาวชนอายุ 16 ปีด้วย 

vlcsnap-2020-12-19-08h51m01s8
เยาวชนอายุ 16 ปี

น.ส.ชัมดาซานิ ระบุในแถลงการณ์ว่า "เรารู้สึกเป็นกังวลอย่างยิ่งจากกรณีที่ทางการไทยตั้งข้อหาผู้ประท้วงอย่างน้อย 35 คนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงผู้ประท้วงซึ่งเป็นนักเรียนวัย 16 ปี ด้วยมาตรา 112 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประมวลกฎหมายอาญาของไทย ซึ่งมีโทษจำคุกสูงถึง 3-15 ปี ในการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสมาชิกราชวงศ์ ซึ่งเราตกใจเป็นอย่างมากเมื่อตำรวจนำตัวผู้ประท้วงวัย 16 ปี ส่งศาลเยาวชน และร้องขอให้ศาลมีคำสั่งควบคุมตัว ศาลได้ปฏิเสธคำสั่งควบคุมตัวและให้มีการประกันตัวอย่างมีเงื่อนไข"

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตัวแทนยูเอ็นกังวล รบ.ไทยปราบปรามการชุมนุมลิดรอนเสรีภาพ
ส.ว.สหรัฐฯ หนุนประชาธิปไตยไทย "แทมมี ดักเวิร์ธ" แนะรบ.ฟังเสียงประชาชน
"บิ๊กตู่" ย้ำใช้ก.ม.ทุกฉบับรวม 112 รับไม่ได้ละเมิดสถาบัน จวก "อานนท์" กุข่าวลาออก

โฆษก OHCHR ยังกล่าวด้วยว่า หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการบังคับใช้กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ได้เรียกร้องไปยังทางการไทยหลายครั้งเพื่อให้ไทยบังคับใช้กฎหมายมาตรานี้ให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยให้สัญญาไว้ น่าผิดหวังเป็นอย่างยิ่งที่หลังจากไม่มีคดีนี้เกิดขึ้นนาน 2 ปี จู่ๆ กลับมีการแจ้งข้อหาในมาตรานี้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว และน่าตกใจอย่างที่สุด ที่ปัจจุบันมีการตั้งข้อหากับเยาวชนอีกด้วย 

vlcsnap-2020-12-19-08h51m28s9

นอกจากนี้ยังได้แสดงความกังวลถึงการตั้งข้อหาร้ายแรงอื่น ๆ ต่อผู้ประท้วงที่เข้าร่วมการประท้วงอย่างสันติในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงข้อหายุยงปลุกปั่นและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการฟ้องร้องต่อเยาวชนเช่นกัน เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติการตั้งข้อหาร้ายแรงเช่นนี้ต่อบุคคลที่ใช้สิทธิในการแสดงแแกและร่วมชุมนุมอย่างสงบ ประชาชนควรสามารถใช้สิทธิของพวกเขาโดยไม่ต้องเกรงกลัวว่าจะถูกตอบโต้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติพบว่า การควบคุมตัวบุคคลเพียงเพราะใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีหรือสิทธิมนุษยชนอื่นๆ เป็นการควบคุมหรือจับกุมตัวตามอำเภอใจ 

ในช่วงท้ายของแถลงการณ์ สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยแก้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้สอดคล้องกับ ข้อที่ 19 ของ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  

2020-12-18 UN Human Rights spokesperson Ravina Shamdasani on Thailand. from United Nations Human Rights on Vimeo.

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ